Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เท่อ , then ทอ, เท่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เท่อ, 133 found, display 51-100
  1. กัญชา : [กัน-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทําให้มึนเมา เปลือกลําต้นใช้ทําเชือกป่าน และทอผ้า.
  2. กัปบาสิก, กัปปาสิก : (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ดู กรรบาสิก).
  3. กัมพล : [กํา-] (แบบ) น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์. (ป.).
  4. กำมะหริด : [-หฺริด] น. ผ้าที่ทอด้วยขนสัตว์แกมไหม.
  5. กี่ ๑ : น. เครื่องทอผ้า, เครื่องเย็บสมุด; ที่ตั้งพระกลดหรือ พระแสงง้าวเป็นต้น.
  6. กี่กระตุก : น. เครื่องทอผ้าชนิดหนึ่งที่มีสายกระตุก เพื่อให้กระสวยพุ่งไปได้เอง.
  7. เก็บหน้าผ้า : ก. ทอกันหน้าผ้าไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกมา.
  8. เกาทุมพร : [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
  9. ขนสัตว์ : น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์.
  10. ขาวม้า : น. ชื่อเรียกผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก ใช้ผลัดอาบนํ้าหรือเคียนพุงเป็นต้น เรียกว่า ผ้าขาวม้า, (ปาก) ผ้าขะม้า.
  11. ขิด : น. ชื่อผ้าทอชนิดหนึ่ง มีวิธีทําลวดลายโดยใช้ไม้แผ่นแบนบางปากโค้ง ให้ปลายหนึ่งแหลมเป็นเครื่องมือสําหรับสะกิดเส้นเครือหรือเส้นยืน เพื่อเก็บยกขึ้นตามรูปลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถว แต่ละลาย, เขียนเป็น ขิต ก็มี.
  12. เข้มขาบ : น. ผ้าที่ทอควบกับทองแล่งเป็นริ้ว ๆ ตามยาว. (อิหร่าน).
  13. ค้นหูก : ก. จัดเส้นไหมหรือด้ายสําหรับทอผ้าให้มีจํานวนเหมาะกัน กับช่องฟันฟืม.
  14. คริสตจักร : น. ประชาคมที่เชื่อและรับพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่บาป แบ่งเป็น ๓ นิกายใหญ่ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์.
  15. เงินแล่ง : น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
  16. จิ้งหรีด : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลําตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้าง ของลําตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็น ชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับ ทําเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทํา เสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดํา (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก. จิ้งหรีดผี ดู แอ้ด.
  17. ซักแห้ง : ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
  18. ซื่อ, ซื่อ ๆ : ว. ตรง เช่น คนซื่อ, ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม เช่น พูดซื่อ ๆ, ไม่คดโกง เช่น หน้าซื่อ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งซื่อ, ทื่อ ก็ว่า.
  19. ด้าย : น. สิ่งที่ทําด้วยใยเป็นต้นว่าใยฝ้าย ปั่นเป็นเส้นสําหรับเย็บ ถัก หรือทอผ้า เป็นต้น.
  20. ด้ายซัง : น. ด้ายทอที่ตัดจากผ้าทิ้งอยู่ในหูก.
  21. ดิบ : ว. ยังไม่สุก เช่น มะม่วงดิบ, ยังไม่สุกด้วยไฟ เช่น เนื้อดิบ ข้าวดิบ; เรียกสิ่ง ที่ยังไม่ได้ทําให้สําเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ, เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ, เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ; โดย ปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ, เรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ.
  22. ดื้อ : ว. ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทําตาม. ก. ทื่อ, ไม่คม, (ใช้แก่มีด).
  23. ตระชัก : น. ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
  24. ตะกรน ๑ : [-กฺรน] น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้าย อยู่ข้างใน.
  25. ตะกอ ๑ : น. ส่วนของเครื่องทอผ้าทําด้วยเส้นด้ายร้อยกับกรอบไม้ สําหรับแยกเส้นด้ายยืนให้ ขึ้นลงเพื่อให้ขัดกับเส้นด้ายพุ่ง.
  26. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  27. ถ้อ : ก. โต้ตอบ เช่น ร้องเพลงถ้อกันไปมา. (พงศ. เลขา), ใช้ ท่อ ก็มี.
  28. ถาวรธิรา : [วะระ] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
  29. ทองแล่ง : น. ทองคําที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สําหรับปัก หรือทอผ้า.
  30. ทอน : ก. ตัดหรือหั่นให้เป็นท่อน เช่น ทอนฟืน, ทําให้ลดลงหรือให้สั้นลง เช่น ทอนกําลัง ทอนอายุ; หักจํานวนเงินตามราคาแล้วคืนส่วนที่เหลือ ไป เช่น ทอนเงิน ทอนสตางค์.
  31. ทอหูก : ก. ทอผ้าด้วยหูก.
  32. ทึ่ม : (ปาก) ว. ทื่อ, ไม่เฉียบแหลม, โง่.
  33. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  34. ธรณ, ธรณะ : [ทอน, ทอระนะ] (แบบ) น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.).
  35. ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
  36. บฏ : (แบบ) น. ผ้าทอ, ผืนผ้า; เรียกผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและ แขวนไว้เพื่อบูชาว่า พระบฏ. (ป. ปฏ).
  37. บวรโตฎก : [บอวอระโตดก] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
  38. บั่นทอน : ก. ทําให้สั้นหรือลดน้อยลง เช่น บั่นทอนอายุ บั่นทอนกําลัง, ทําให้เสียกําลังใจ ในคําว่า บั่นทอนจิตใจ.
  39. บุษบารักร้อย : น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
  40. เบญจวรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด. น. นกแก้วขนาดโตมีหลายสี. เบญจวรรณห้าสี น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
  41. ปัตหล่า : [ปัดตะหฺล่า] น. ผ้าริ้วทอด้วยไหมกับทองแล่งมีเนื้อบาง โดยมาก ทําเป็นเสื้อครุย.
  42. ป่าน : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็น ใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทําเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis L.) ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทําด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยัง ไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่ง ที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.
  43. เปสการ : [เปสะกาน] (แบบ) น. ช่างหูก, ช่างทอ. (ป.).
  44. ผัง ๑ : น. ไม้สําหรับถ่างผ้าที่ทอให้ตึง ปลายทั้ง ๒ มีเข็มสําหรับเสียบที่ ริมผ้า; ไม้หรือเส้นแบบสําหรับเป็นแบบขุดหลุมเสาปลูกเรือน; พื้นที่ราบ; ระดับพื้นที่; แบบที่เขียนย่อหรือขยายจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ตึก เรือน, แผนผัง ก็ว่า.
  45. ผ้า : น. สิ่งที่ทําด้วยเยื่อใยเช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัด ให้เป็นผืน, มัก''เรียกตามลักษณะของสิ่งที่ทำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ หรือตามลักษณะที่ใช้ เช่น ผ้ากราบ ผ้าอาบ ผ้าอ้อม.
  46. ผ้าขาวม้า : น. ผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก ใช้ผลัดอาบน้ำหรือเคียนพุงเป็นต้น, (ปาก) ผ้าขะม้า.
  47. ผ้าดำ : น. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์. ผ้าดิบ น. ผ้าที่ทอด้วยด้ายที่ยังไม่ได้ฟอก.
  48. ผ้าแดง : น. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทําผ้านุ่ง โจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสําหรับคนกินหมากเป็นต้น.
  49. ผ้าต่วน : น. ชื่อผ้าแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
  50. ผ้าตา : น. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-133

(0.0428 sec)