Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาการ , then อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาการ, 1407 found, display 401-450
  1. โชย, โชยชาย : ก. อาการที่ลมพัดอ่อน ๆ เช่น ลมโชย กลิ่นโชย; เดินกรีดกราย.
  2. ซด : ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด.
  3. ซ้น : ก. อาการที่ข้อมือข้อเท้าเป็นต้นถูกกระแทกโดยแรงทําให้เคลื่อนเลย ที่เดิมเข้าไป.
  4. ซน ๑ : ก. อาการที่อยู่ไม่สุขจับโน่นฉวยนี่หรือเล่นไม่เป็นเรื่องเป็นราว ทําให้เดือดร้อนเสียหาย.
  5. ซม : ว. อาการอย่างเป็นไข้ในระยะรุนแรงถึงกับนอนจนไม่อยากลืมตา เรียกว่า นอนซม.
  6. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  7. ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
  8. ซาง ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
  9. ซาบซึ้ง : ว. อาการที่รู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง, อาการที่รู้สึกปีติปลาบปลื้ม.
  10. ซิก ๑, ซิก ๆ : ว. เรียกอาการที่เหงื่อไหลซึมออกมาตามตัวว่า เหงื่อไหลซิก; เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า.
  11. ซิบ, ซิบ ๆ : ว. อาการที่เลือดไหลออกน้อย ๆ.
  12. ซึมเศร้า : ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
  13. ซุบซู่ : ว. มีอาการหดห่อตัวอย่างคนเป็นไข้.
  14. ซู่ ๑ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกเป็นต้น.
  15. เซ : ว. อาการที่ขาดความทรงตัวจนโอนเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เดินเซ, ลักษณะที่โย้ไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เรือนเซ.
  16. เซซัง : ว. อาการที่เดินซวนเซไปไม่ตรงเหมือนคนเจ็บหรือคนไร้ที่พึ่ง.
  17. แซด ๆ : ก. อาการที่เซส่ายไปส่ายมาทรงตัวไม่อยู่ เช่น เซแซด ๆ.
  18. แซ่ว : ว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่ หมดกําลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคําว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.
  19. ดอกพิกุลร่วง : (สํา) เรียกอาการที่นิ่งไม่พูดว่า กลัวดอกพิกุลจะร่วง.
  20. ดอด : ก. อาการที่ไปมาหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้หรือโดย ไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ดอดมา ดอดเอาไป ดอดไปหา.
  21. ด้อม : ก. อาการเดินที่มีลักษณะก้ม ๆ เงย ๆ.
  22. ด้อย : ก. ตํ่ากว่าโดยคุณสมบัติ รูปสมบัติ หรือตําแหน่งหน้าที่ เป็นต้น, อาการที่ ท้ายเรือหรือท้ายรถตํ่าลง เรียกว่า ท้ายด้อย, ลักษณะที่ส่วนท้ายของสัตว์มี ช้างเป็นต้นลาดตํ่าลง.
  23. ดัก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุราย เช่น ปลาดิ้นดัก ๆ. (โบ; กลอน) ว. ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, เช่น มาเดียวพี่ดักดัก ใจจอด แม่แม่. (นิ. นรินทร์), อะดัก ก็ว่า.
  24. ด่าว : (กลอน) ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ ดิ้นยัน ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า.
  25. ดิ้น ๑ : ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.
  26. ดีซ่าน : น. ชื่อโรคซึ่งเกิดกับผู้ป่วยที่มีสารสีชนิดหนึ่งในนํ้าดี ซึ่งเรียกว่า บิลิรูบิน ไปปรากฏในเลือดสูงกว่าระดับปรกติในคนธรรมดา ทําให้ผู้ป่วย มีอาการตัวเหลือง.
  27. ดีดฝ้าย : ก. อาการที่เอาฝ้ายใส่กระชุแล้วเอาไม้กงดีดฝ้ายดีดสายให้กระทบ ฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายแตกเป็นปุย.
  28. ดีเดือด : ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ ในคําว่า บ้าดีเดือด.
  29. ดุกดิก : ก. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, กระดุกกระดิก ก็ว่า.
  30. ดุ่ม, ดุ่ม ๆ : ว. อาการก้มหน้าก้มตาเดินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูอะไรหรือแวะเวียน.
  31. ดุษณี, ดุษณีภาพ : [ดุดสะนี-] น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตุษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).
  32. ดูแคลน, ดูถูก, ดูถูกดูแคลน : ก. แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามเขา.
  33. เดาะ ๓ : ว. อาการเดินอย่างกระปรี้กระเปร่า เช่น เดินเดาะเลาะทางมา.
  34. เดินสาย : ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
  35. เดือด : ก. อาการที่ของเหลวพลุ่งขึ้นเพราะความร้อนจัด เช่น นํ้าเดือด, โดยปริยาย หมายความว่า บันดาลโทสะ.
  36. แด็ก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นแด็ก ๆ ชักแด็ก ๆ ติดแด็ก ๆ, กระแด็ก ๆ ก็ว่า.
  37. แดก ๑ : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่าง เกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยา อย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่ง ที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.
  38. แด่ว ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุรายแต่หาทางไปไม่ได้ในคําว่า ดิ้นแด่ว ๆ, กระแด่ว ๆ ก็ว่า.
  39. โด่ง : ว. อาการที่พุ่งขึ้นไป เช่น พลุขึ้นโด่ง ตะไลขึ้นโด่ง, สูง เช่น ตะวันโด่ง หัวโด่ง ท้ายโด่ง; เรียกจมูกที่เป็นสันเด่นออกมาว่า จมูกโด่ง.
  40. โด่เด่ : ว. อาการที่ตั้งตรงแล้วโย้ไปโย้มา.
  41. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  42. ตกคลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนอง ที่นํ้างวด, ตกปลัก ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุดมารวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้วแต่ ทอดแต้มออกไม่ได้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกัน มาก ๆ ไปไหนไม่ได้.
  43. ตกดิน : ก. อาการที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป.
  44. ตกตะลึง : ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
  45. ตกใน : ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงหรือฟันเป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการ ที่ต้องกลํ้ากลืนความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
  46. ตกปลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้า งวด, ตกคลัก ก็ว่า.
  47. ตกมัน : ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
  48. ตกเลือด : ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูก เป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
  49. ตกสนับ : ก. อาการที่หญ้าโทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก.
  50. ตกสะเก็ด : ก. อาการที่เลือดและนํ้าเหลืองแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1407

(0.1519 sec)