Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้อยกว่า, น้อย, กว่า , then กว่, กวา, กว่า, นอย, น้อย, นอยกวา, น้อยกว่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้อยกว่า, 1431 found, display 1351-1400
  1. แปรรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอน มาเรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับ มาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อย เปิดปีกแล้วทําเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.
  2. ผัน ๒ : ก. หัน เช่น ผันหน้า, ผิน หรือ หิน ก็ว่า; ทำให้เปลี่ยนไปจากแนว หรือลักษณะเดิม เช่น ผันน้ำเข้านา.
  3. ผิน : ก. หัน, ผัน หรือ หิน ก็ว่า; แปรพระพักตร์ (ใช้แก่พระพุทธรูป).
  4. ผู้ชายพายเรือ : (สํา) น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. (มิตรสภา).
  5. พยุห, พยุหะ : [พะยุหะ] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับใน ปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).
  6. พรวน ๑ : [พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น เรียกว่า ลูกพรวน, กระพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่นพายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  7. พลบ : [พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวัน ชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
  8. พอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึง ที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
  9. พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  10. โพลง : [โพฺลง] ว. สว่างแจ้ง, ลุกสว่าง, เช่น ไฟลุกโพลง สว่างโพลง; ใช้ ประกอบกับคํา ขาว เป็น ขาวโพลง หมายความว่า ขาวมาก, ขาว ทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลงไปทั้งหัว, โพลน ก็ว่า; ลักษณะที่เบิกกว้าง เช่น ตาลุกโพลง ลืมตาโพลง.
  11. โพล้เพล้ : น. เวลาพลบคํ่า, เวลาจวนคํ่า, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เพล้โพล้ ก็ว่า, ใช้ว่า พี้โพ้ ก็มี.
  12. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  13. มีเรือน : ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง), มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า
  14. มูลฝอย : น. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า; (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.
  15. เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
  16. ยักย้าย : ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนําไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี.
  17. ยัดเยียด : ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี.
  18. ย่าง ๒ : ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่างตีน หรือ ย่างเท้า ก็ว่า; เคลื่อนเข้าสู่ เช่น ย่างเข้า หน้าหนาว อายุย่าง ๒๐ ปี.
  19. รวย ๒, รวย ๆ : ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น; งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.
  20. รู้จัก : ก. เคยพบเคยเห็นและจําได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว; คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จัก กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า; รู้ เช่น รู้จักคิด รู้จักทำ.
  21. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  22. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  23. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  24. ลูกกระพรวน : [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้ง เล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  25. ลูกครอก : น. ลูกปลาจําพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกชักครอก ก็ว่า; (โบ) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย.
  26. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  27. ลูกพรวน : น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  28. ลูกระนาด : ว. เรียกถนนที่มีผิวจราจรขรุขระมีลักษณะคล้ายลูก ระนาดหรือลูกคลื่นว่า ถนนเป็นลูกระนาด, ถนนเป็นลูกคลื่น ก็ว่า, เรียกสะพานที่เอาไม้จริงมาตีอันเว้นอันว่า สะพานลูกระนาด.
  29. ลูกล้อ : ๑ น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่นขอบกระด้ง สําหรับเด็กตีเล่น.
  30. ลูกแหง่ : น. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อัน เล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.
  31. เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
  32. เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
  33. เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
  34. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  35. แลกเงิน : ก. เอาเงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเป็นเงินปลีกหรือหน่วยย่อย, แตกเงิน ก็ว่า, แลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลกัน เช่น แลกเงินดอลลาร์ เป็นเงินบาท.
  36. วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
  37. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  38. วะ ๑ : ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
  39. วัชรปาณี : น. ''ผู้ถือวชิระ'' คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
  40. วัฏสงสาร : น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ. ก็ว่า (ป.).
  41. วับ ๆ แวม ๆ : ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แสงหิ่งห้อย ดูวับ ๆ แวม ๆ, วับแวม ก็ว่า; อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น ไม่ควรแต่งตัววับ ๆ แวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ.
  42. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  43. วา ๑ : น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง. วาตารางเหลี่ยม (เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
  44. วางแผน : ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป, วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
  45. ว่าวขาดลอย : (วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะ เป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
  46. ศอก : น. ส่วนของแขน ตรงข้ามกับข้อพับ, ข้อศอก ก็ว่า; ช่วงของแขน ตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง; มาตราวัดตามวิธี ประเพณี ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ.
  47. สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  48. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  49. สร้อย ๓ : [ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญา สุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัย ราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.
  50. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1431

(0.1560 sec)