Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องเซ่น, เครื่อง, เซ่น , then ครอง, ครองซน, เครื่อง, เครื่องเซ่น, ซน, เซ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องเซ่น, 1619 found, display 501-550
  1. จุดบอด : น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณ หลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็น ได้เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของ ปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจาก ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.
  2. จุลจอมเกล้า : [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  3. จู้ ๒ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ อีจู้ ก็มี.
  4. เจ่ง ๒, เจ้ง : น. เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง มีสายสําหรับดีด คล้ายจะเข้. (จ. ว่า เจ็ง).
  5. เจ่า ๑ : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งหรือปลาประสมด้วยข้าวหมาก เรียกว่า กุ้งเจ่า ปลาเจ่า, ถ้าหลนกับกะทิ เรียกว่า หลนกุ้งเจ่า หลนปลาเจ่า ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  6. เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
  7. เจ้าพนักงานสนมพลเรือน : น. ข้าราชการในราชสํานัก ทําหน้าที่เกี่ยวกับ พิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น.
  8. เจียด ๑ : น. ภาชนะชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายตะลุ่มมีฝาคล้ายรูปฝาชี เป็นเครื่องยศ ขุนนางโบราณ สําหรับใส่ของเช่นผ้า มักทําด้วยเงิน.
  9. เจี๋ยน : น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. (จ. เจี๋ยน ว่า เคลือบนํ้าตาล, เชื่อมนํ้าตาล).
  10. เจียม ๑ : น. เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทําด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวก กวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน. (เทียบ ข. เจียม ว่า แกะ).
  11. แจกัน : น. ภาชนะสําหรับปักดอกไม้ตั้งเครื่องบูชาหรือประดับสถานที่ มักมีรูปคล้ายขวดปากบาน.
  12. แจว : น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาวเรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก. เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.
  13. แจ่ว : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น.
  14. โจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
  15. ฉนวน ๑ : [ฉะหฺนวน] น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกําบัง ๒ ข้าง สําหรับพระมหากษัตริย์หรือ เจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. ก. กําบัง, คั่น, กั้น.
  16. ฉม : น. กลิ่นหอม, เครื่องหอม.
  17. ฉมวก : [ฉะหฺมวก] น. เครื่องมือแทงปลาเป็นต้น มีง่ามเป็น ๑, ๓ หรือ ๕ ขา ที่ ปลายขาทำเป็นเงี่ยง มีด้ามยาว. (ข. จฺบูก).
  18. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  19. ฉัตร ๑, ฉัตร- : [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
  20. ฉากญี่ปุ่น : น. เครื่องบังตาที่ประกอบด้วยแผ่นพับหลายแผ่น.
  21. ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  22. ฉาบ ๑ : น. เครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะรูปร่างเป็นแผ่นกลม คล้ายจานแต่มีปุ่มนูนขึ้นตรงกลาง เจาะรูตรงกลางปุ่มไว้ร้อยเชือกหรือ เส้นหนังสําหรับถือตี.
  23. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  24. เฉลว : [ฉะเหฺลว] น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ''๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของ ซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า.
  25. เฉียงพร้านางแอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Carallia brachiata Merr. ในวงศ์ Rhizophoraceae เนื้อไม้ใช้ทําเครื่องเรือน, คอแห้ง เขียงพระนางอี่ เขียงพร้า สันพร้านางแอ หรือ สีฟันนางแอ ก็เรียก.
  26. แฉ ๑ : น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะ สําหรับตีขัดจังหวะ เล็กกว่าฉาบ.
  27. แฉ่ง : ว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทําด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
  28. ชงโลง ๑ : น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวน เข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น–อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง). (รูปภาพ ชงโลง)
  29. ชฎา : [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
  30. ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
  31. ชนาง : [ชะ] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายราย รอบปาก ชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.).
  32. ชวาลา : [ชะ] (โบ) น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งหรือแขวน มีรูปเป็นหม้อกลม สำหรับใส่น้ำมันมีพวยยื่นมาใช้ใส่ ไส้จุดไฟ.
  33. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  34. ชอล์ก ๒ : น. เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจาก แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป เรียกว่า ชอล์กสี. (อ. chalk).
  35. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  36. ชะมดเชียง : น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทํายาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ).
  37. ชะมบ : น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายสําหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน. (ปรัดเล).
  38. ชะลอม : น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอก เป็นต้น ตาห่าง ๆ สําหรับใส่สิ่งของ, อีสานเรียก กระลอม ก็มี.
  39. ชะลูด ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Alyxia reinwardtii Blume ในวงศ์ Apocynaceae เปลือกหอม ใช้ทํายาและปรุงเครื่องหอม.
  40. ชะเลง : น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่งคล้ายชนาง.
  41. ชะแลง : น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทําด้วยท่อนเหล็กมีปลายแบน สําหรับ งัดสิ่งของหรือขุดดิน.
  42. ชั่ง : น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตําลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตําลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีน มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทําให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.
  43. ชัยบาน : [ไชยะ] น. เครื่องดื่มในการมีชัย. (ป.).
  44. ชา ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็น เครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดใน หลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยม ปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
  45. ชา ๓ : (โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้ง และนํ้าหอมเป็นต้น.
  46. ช้างเผือก ๒ : น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  47. ช้างยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธาร ยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.
  48. ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  49. ชายแครง : น. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).
  50. ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์ : น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมใน พิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1619

(0.1052 sec)