Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปล้นทรัพย์, ทรัพย์, ปล้น , then ทรัพย์, ปลน, ปล้น, ปล้นทรัพย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปล้นทรัพย์, 166 found, display 51-100
  1. เครดิตฟองซิเอร์ : (กฎ) น. กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหา ริมทรัพย์เป็นทางค้าปรกติ หรือกิจการรับซื้อฝากหรือกิจการอื่น เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
  2. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  3. เจ้ามรดก : (กฎ) น. ผู้ตายซึ่งมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท.
  4. เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
  5. โจร ๑, โจร- : [โจน, โจระ-, โจนระ-] น. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สิน ผู้อื่นเป็นต้น. (ป., ส.).
  6. โจรกรรม : [โจระกํา, โจนระกํา] น. การลัก, การขโมย, การปล้น. (ส.; ป. โจรกมฺม).
  7. โจรสลัด : [โจนสะหฺลัด] น. โจรที่ปล้นเรือในทะเล.
  8. ฉ้อ : ก. โกง เช่น ฉ้อทรัพย์.
  9. ชักเนื้อ : ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจํานวนที่เขากําหนดไว้ แล้ว เรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.
  10. ตระบัด ๒ : [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
  11. ตระหนี่ : [ตฺระหฺนี่] ว. หวงไม่อยากให้ง่าย ๆ เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.
  12. ตรึกถอง : [ตฺรึก-] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึกถอง หรือ ไม่ตรึกไม่ถอง เช่น มีทรัพย์สมบัติไม่ตรึกถอง นับไม่ตรึกไม่ถอง.
  13. ตลาดหลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์, (ปาก) ตลาดหุ้น.
  14. ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
  15. ไถ่ถอน : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อปลดเปลื้องพันธะในทรัพย์สินที่จํานอง ไว้ให้หลุดจากการเป็นประกัน.
  16. ทดรอง : ก. ออกเงินหรือทรัพย์รองจ่ายไปก่อน.
  17. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  18. ทรัพยากร : [ซับพะยากอน] น. สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์.
  19. ทรัพยากรธรณี : น. ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ นํ้ามัน.
  20. ทรัพยากรธรรมชาติ : น. ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ.
  21. ท้องพระคลัง : น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
  22. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  23. ทายัช : (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
  24. ที่ตั้งเป็นทุน : (กฎ) จํานวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
  25. ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  26. ทุนรอน : น. ทรัพย์ที่มีเอาไว้ใช้สอยหาผลประโยชน์.
  27. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  28. ธนสมบัติ : [ทะนะสมบัด] น. การถึงพร้อมแห่งทรัพย์, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  29. ธนสาร : [ทะนะสาน] น. ทรัพย์สมบัติที่เป็นแก่นสาร, ทรัพย์สมบัติ. (ป.).
  30. ธนาคาร : น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัท มหาชนจํากัด ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
  31. ธเนศ, ธเนศวร : [ทะเนด, ทะเนสวน] (แบบ) น. เจ้าแห่งทรัพย์, คนมั่งมี; ท้าวกุเวร. (ส.).
  32. ธโนปจัย : [ทะโนปะไจ] (แบบ) น. การสะสมทรัพย์. (ส.).
  33. ธไนศวรรย์ : [ทะไนสะหฺวัน] (แบบ) น. อิสรภาพเหนือทรัพย์. (ส. ธน + ไอศฺวรฺย).
  34. บรรดา : [บัน-] ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดา มนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า.
  35. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  36. เบญจศีล : น. ศีล ๕ คือ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจาก การลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้น จากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย, คู่กับ เบญจธรรม.
  37. ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  38. ปอกลอก : ว. ทําให้เขาหลงเชื่อแล้วล่อลวงเอาทรัพย์เขาไป.
  39. ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
  40. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  41. ผลาญ : [ผฺลาน] ก. ทําลายให้หมดสิ้นไป, บางทีหมายถึงทําลายทรัพย์สมบัติ ให้หมดสิ้นไป เช่น ผลาญพ่อผลาญแม่ คือ ทําลายทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ให้หมดสิ้นไป.
  42. ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
  43. ผู้จัดการมรดก : (กฎ) น. บุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดย คำสั่งศาลให้มีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การ เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และ เพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก.
  44. ฝัง : ก. จมหรือทําให้จมลงไปจากระดับพื้นจนมิดทั้งหมดหรือมิดแต่ บางส่วน เช่น ฝังศพ ฝังทรัพย์ ฝังเสา, ทําให้จมติดแน่นอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝังเพชร ฝังลาย, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝังใจ ฝังหัว.
  45. พร่า : [พฺร่า] ก. ทําให้เสียหาย, ทําลาย, ทําให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือ ได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.
  46. พสุธา : น. ''ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์'' คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
  47. พันธบัตร : (กฎ) น. เอกสารหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาล หรือนิติบุคคล แสดงการเป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากบุคคลทั่วไป. พันธมิตร น.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่จะช่วยเหลือกันตาม สนธิสัญญาที่ทําไว้ เพื่อร่วมรบหรือเพื่อการป้องกันร่วมกัน.
  48. พิตร : [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
  49. พิภพ : น. โลก เช่น ในพื้นพิภพ นอกพิภพ, ที่อยู่ของนาคในชั้นบาดาล เรียกว่า นาคพิภพ; ทรัพย์สมบัติ เช่น ผ่านพิภพ คือ ครองสมบัติ. (ดู วิภว).
  50. โภคทรัพย์ : [โพกคะ–] น. ทรัพย์สิ่งของที่ใช้อุปโภคบริโภค.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-166

(0.0843 sec)