Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คุ้น , then คน, คุ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คุ้น, 1661 found, display 1201-1250
  1. เลี้ยงผี : ก. เลี้ยงวิญญาณของคนที่ตายแล้วเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ เช่นการเสี่ยงทายเป็นต้น.
  2. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  3. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  4. เลียบค่าย : ก. ตรวจดูความเรียบร้อยของกองทัพ, ส่งคนไปลาด ตระเวนดูกำลังข้าศึก.
  5. เลือด : น. ของเหลวปรกติมีสีแดง อยู่ในหลอดเลือดและหัวใจของคน และสัตว์ ประกอบด้วยน้ำเลือดและเม็ดเลือด ส่วนที่เป็นสีแดง เกิดจากสีในเม็ดเลือดแดง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง หอย เม็ดเลือดเห็นมีสีน้ำเงินจาง ๆ; ระดู เช่น เลือดทำ คือ อาการ ป่วยในระหว่างที่มีระดู, โดยปริยายหมายถึงผู้สืบเชื้อสาย เช่น เลือดศิลปิน เลือดนักรบ เลือดนักประพันธ์, ผู้ที่เคยศึกษาจาก สถาบันใดสถาบันหนึ่ง เช่น เลือดจุฬา เลือดธรรมศาสตร์.
  6. เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ : (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมี ความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่.
  7. เลือดข้นกว่าน้ำ : (สำ) น. ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
  8. เลือดอุ่น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกาย ไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นคน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น.
  9. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  10. เลื่อยโยง : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่าง ผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อย ให้ทำงาน.
  11. แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
  12. แล็กโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. (อ. lactose).
  13. โล่ ๒ : น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  14. โลกวัชชะ : [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหาย เหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  15. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  16. โลกียวิสัย : น. เรื่องโลกีย์, เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์, เรื่อง ของคนที่ยังมีกิเลสอยู่.
  17. โลน ๒ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กชนิด Pthirus pubis ในวงศ์ Pediculidae ตัวยาว ๑.๕–๒ มิลลิเมตร ลําตัวค่อนไปทางรูปไข่แบน สีขาว อมนํ้าตาลอ่อน ไม่มีปีก ปลายขางอแหลมเกือบเป็นง่ามเหมือน ก้ามปู อาศัยอยู่ตามบริเวณขนในที่ลับของคน กัดและดูดเลือด กินเป็นอาหาร ทําให้เกิดอาการคัน.
  18. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  19. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  20. ไล่ผี : ก. ทำพิธีร่ายมนตร์ขับผีที่เชื่อว่าสิงอยู่ในคนหรือสถานที่.
  21. วงนอก : ว. ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน.
  22. วงพาด : น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทําด้วยซุง เป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตี พาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ. (รูปภาพ วงพาด)
  23. วธกะ : [วะทะกะ] น. คนฆ่า, ผู้ฆ่า; เพชฌฆาต. (ป., ส.).
  24. วนจร, วนจรก : [วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
  25. วนิพก : [วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่า ให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).
  26. วเนจร : [วะเนจอน] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
  27. วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  28. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  29. วฤษละ : [วฺรึสะละ] (แบบ) น. คนชั่ว. (ส. วฺฤษล; ป. วสล).
  30. วสละ : [วะสะ] น. คนชั่ว, คนถ่อย, คนตํ่าช้า, คนชั้นตํ่า. (ป.; ส. วฺฤษล).
  31. วอ : น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
  32. วอก : น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป ว่า หน้าวอก.
  33. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  34. วัญจก : [วันจก] (แบบ) น. ผู้ลวง, คนคดโกง. (ป., ส.).
  35. วัญฌ์ : (แบบ) ว. หมัน (ใช้แก่คนหรือสัตว์), ไม่มีลูก (ใช้แก่ต้นไม้), ไม่มีผล (ใช้แก่การงานทั่วไป). (ป.; ส.วนฺธฺย).
  36. วัดวา ๒ : ก. พอเท่า ๆ กัน, พอเสมอกัน เช่น พี่น้องสองคนนี้สวย พอวัดวากันได้.
  37. วัยชรา : น. วัยที่ต่อจากวัยกลางคน อายุเกิน ๖๐ ปี.
  38. วัลลภ : [วันลบ] น. คนสนิท, ผู้ชอบพอ, คนโปรด, คนรัก. (ป., ส.).
  39. วัวเขาเกก : น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
  40. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  41. วัวลืมตีน : (สำ) น. คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน.
  42. วัวสันหลังหวะ : น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
  43. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  44. วางใจ : ก. เชื่อใจ, ไว้ใจ, เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  45. วางตัว : ก. ประพฤติตน เช่น วางตัวไม่ดี คนอื่นจะดูถูกได้, ปฏิบัติตน เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร.
  46. วางเพลิง : [เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.
  47. วางสาย : ก. ติดตั้งสายไฟฟ้าสายโทรศัพท์เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า จัดคน เข้าไปสืบความลับของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น วางสายเข้าไปปล้นธนาคาร.
  48. วาดภาพ : ก. วาดเป็นภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วาดภาพคน วาดภาพทิวทัศน์.
  49. วาทิน : น. คนเล่นดนตรี. (ดู วาที).
  50. วาที : น. ผู้พูด, ผู้กล่าว, ผู้ชี้แจง, ผู้โต้แย้ง; คนเล่นดนตรี. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.0613 sec)