Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องบูชา, เครื่อง, บูชา , then ครอง, ครองบชา, เครื่อง, เครื่องบูชา, บุชา, บูชา, ปูชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องบูชา, 1661 found, display 101-150
  1. โถเครื่องแป้ง : น. โถที่ทําด้วยแก้วเจียระไนเป็นต้น มีรูปและสีต่าง ๆ ใช้ใส่แป้งนวล.
  2. ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ : (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน). ทรงเจ้า ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้า ว่า คนทรงเจ้า.
  3. ทำคุณบูชาโทษ : (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
  4. นารายณ์ทรงเครื่อง, นารายณ์ประลองศิลป์ : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  5. น้ำมันเครื่อง : น. นํ้ามันประเภทหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างข้น ใช้สําหรับ หล่อลื่นเพื่อลดความเสียดทานระหว่างผิวโลหะ, ใช้ผสมกับนํ้ามัน เบนซินเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับเครื่องยนต์เบนซินชนิด ๒ จังหวะ ก็ได้, นํ้ามันหล่อลื่น ก็เรียก.
  6. เปลื้องเครื่องสุกำศพ : ก. เปลื้องผ้าขาวที่ห่อศพออกแล้วนําผ้าขาว นั้นและสิ่งปฏิกูลภายในโกศ เช่น กระดาษฟางไปเผาพร้อมบุพโพ แล้วเอาผ้าขาวอีกผืนหนึ่งห่อศพให้ใหม่.
  7. ฟิตเครื่อง : ก. ปรับเครื่องยนต์ให้กระชับหรืออยู่ในสภาพปรกติ, เรียกช่างแก้เครื่องยนต์ว่า ช่างฟิต.
  8. แม่ม่ายทรงเครื่อง : น. แม่ม่ายที่มั่งมี.
  9. ยกเครื่อง : (ปาก) ก. ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น.
  10. รถเครื่อง : (ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยาน ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์, มอเตอร์ไซค์ ก็ว่า.
  11. เร่งเครื่อง : ก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์ เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น.
  12. ลองเครื่อง : ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็น ปรกติหรือไม่.
  13. หางเครื่อง : น. เพลงที่ออกต่อท้ายจากเพลง ๓ ชั้น หรือ เพลงเถา; กลุ่มบุคคล ที่ออกมาเต้นประกอบจังหวะในการร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง.
  14. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  15. พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
  16. อลงกรณ์ : [อะลงกอน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. (ป., ส.).
  17. อลงการ : [อะลงกาน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่อง ประดับ. ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส. อลงฺการ).
  18. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  19. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  20. บำเรอ : ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
  21. คอนเดนเซอร์ : (ไฟฟ้า) น. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็น ปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดาที่มีขนาดเท่ากัน. (อ. condenser). (ดู เครื่องควบแน่น ที่ เครื่อง).
  22. มงกุฎ : น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
  23. หลบหลังคา : ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่อง มุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.
  24. อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
  25. บวง : ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้ เข้าคู่กับคําอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บําบวง.
  26. บำบวง : ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา.
  27. วัญจนะ : เครื่องลวง, เครื่องหลอก, ของไม่จริง. (ป., ส.).
  28. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  29. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  30. ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
  31. เครื่องเครา : (ปาก) น. เครื่อง, สิ่ง, สิ่งของ.
  32. จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  33. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  34. กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  35. กงฉาก : น. เครื่องยึดมุมฉาก.
  36. กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
  37. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  38. กฏุก, กฏุก- : [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
  39. ก็ตาม : นิ. ใช้อย่าง ก็ดี, แต่บางแห่งมีแววความหมายเท่ากับ ก็ตามใจ ก็ตามที ก็ตามเรื่อง แล้วแต่กรณีที่ใช้ โดยอาศัย พฤติการณ์ของเรื่องเป็นเครื่องแวดล้อม.
  40. ก้นแมลงสาบ : ว. แหลมมนอย่างก้นแมลงสาบ, เรียกเครื่องมือเหล็ก ที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เหล็กก้นแมลงสาบ.
  41. กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  42. กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  43. กมัณฑลุ : [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกน้ำเต้า, เต้าน้ำ, หม้อน้ำ, ภาชนะใส่น้ำเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจําของนักบวชนอก พระพุทธศาสนา ทําด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะ ใส่น้ำ คือ เต้าน้ำ. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  44. กรบ : [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทําด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลายด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
  45. กรรเจียก : [กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียก ซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่า หู].
  46. กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
  47. กรรชิง : [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้าย ร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
  48. กรรเชียง : [กัน-] น. เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสําหรับ พาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี.
  49. กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
  50. กรรมกรณ์ : [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.1250 sec)