Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องบูชา, เครื่อง, บูชา , then ครอง, ครองบชา, เครื่อง, เครื่องบูชา, บุชา, บูชา, ปูชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องบูชา, 1661 found, display 1101-1150
  1. ไม้ค้อน : น. ไม้ที่ทำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้ตีระฆังเป็นต้น; เครื่องมือโลหะรูปร่าง คล้ายตะลุมพุก แต่เล็กกว่ามาก สำหรับตีทองคำให้เป็นแผ่นทองคำเปลว, เครื่องมือ ทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายตะลุมพุก สำหรับเคาะกระดาษสาเป็นต้นให้เป็นแผ่นเพื่อใช้ เป็นใบซับทองคำเปลว. (รูปภาพ ไม้ค้อน)
  2. ไม้แคะหู, ไม้ควักหู : น. เครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะหรืองาเป็นต้น ปลายโค้ง หรืองอคล้ายจวัก สำหรับแคะและควักขี้หู.
  3. ไมโครโฟน : [-โคฺร-] น. เครื่องที่ใช้สําหรับขยายเสียงให้ดังขึ้น, เครื่องที่ใช้สําหรับเปลี่ยน คลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นในการส่งวิทยุ โทรศัพท์, มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์. (อ. microphone).
  4. ไมโครมิเตอร์ : [-โคฺร-] น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดระยะที่สั้นมาก และวัดมุมขนาดเล็ก ให้ได้ผลอย่างละเอียด. (อ. micrometer).
  5. ไม้ฉาก : น. เครื่องมือเขียนแบบก่อสร้าง ชุดหนึ่งมี ๓ อัน อันหนึ่งมีรูปอย่าง พยัญชนะรูป T อันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมละ ๔๕ ? และอันหนึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มุมหนึ่งมี ๙๐? อีก ๒ มุม มุมหนึ่งมี ๖๐? กับอีกมุมหนึ่ง ๓๐?; ไม้ดัดแบบหนึ่งซึ่งดัดลำต้น และกิ่งให้เป็นมุมฉาก.
  6. ไม้ดำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros brandisiana Kurz ในวงศ์ Ebenaceae เนื้อไม้แข็ง สีดํา ใช้ทําเครื่องเรือน.
  7. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  8. ไม้ทัณฑฆาต : น. เครื่องหมายสําหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ?.
  9. ไม้เมตร : น. เครื่องมือวัดความยาวทําด้วยไม้เป็นต้น ยาว ๑ เมตร.
  10. ไม้ยาว : น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่น กระบี่กระบอง, คู่กับ ไม้สั้น. (ดู ไม้สั้น).
  11. ไม้วา : น. ไม้เครื่องวัดความยาวมีกําหนด ๔ ศอก.
  12. ไม้สอย : น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
  13. ไม้สั้น : น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมี ไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้าม กับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น.
  14. ไม้สามอัน : น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้ อันหนึ่ง เจ้ามือกําไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.
  15. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  16. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  17. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  18. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  19. ยวดยาน : น. เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น.
  20. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  21. ยอ ๓ : น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสําหรับยก.
  22. ยัญกรรม : น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  23. ยัญพิธี : น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  24. ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  25. ยาชกะ : [ชะกะ] น. ผู้ที่ทําพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).
  26. ยาซับ : น. สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุน เพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น.
  27. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  28. ยาน ๑ : น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
  29. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  30. ย่าม ๑ : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทําด้วยผ้า มีหูหรือสายในตัว สําหรับสะพาย, ถุงย่าม ก็ว่า.
  31. ยาหม้อ : น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยา อื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
  32. ยิงลม : น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  33. ยิฏฐะ, ยิฐะ : [ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ?; ส. อิษฺฏ).
  34. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  35. ยืนแท่น : น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงาน พระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บน แท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  36. ยุต ๒ : [ยุด] น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
  37. ยุทธภัณฑ์ : (กฎ) น. อาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ สารเคมี สารชีวะ สาร รังสี หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่อาจนําไปใช้ในการรบหรือการสงครามได้.
  38. ยุทโธปกรณ์ : น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ใน ราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนตร์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภค อันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทาง ทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ.
  39. ยูโรเพียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๓ สัญลักษณ์ Eu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา เนื้ออ่อนมาก หลอมละลายที่ ๘๒๖?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปดูดกลืน นิวตรอนเพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ ใช้ประกอบเป็นตัวเรืองแสงใน เครื่องรับโทรทัศน์สีเป็นต้น. (อ. europium).
  40. เย็บ : ก. ทําให้ติดกันโดยใช้เข็มร้อยด้ายหรือเชือกเป็นต้นแทงขึ้นแทงลง เช่น เย็บผ้า เย็บกระสอบ, ใช้ตอกหรือหวายเป็นต้นที่มีปลายแหลมแทงขึ้นลง เพื่อร้อยสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ติดกัน เช่น เย็บจาก, ใช้เครื่องอุปกรณ์กดทำให้ กระดาษติดกันด้วยลวดเย็บ เช่น เย็บกระดาษ, กลัดให้ติดกันด้วยไม้กลัด เป็นต้น เช่น เย็บกระทง.
  41. เย็บสวน : ก. เย็บกลีบดอกไม้และใบไม้บนใบมะพร้าวหรือก้านกล้วย ทำเป็นแถบยาวสำหรับประดับตกแต่งงานเครื่องสด.
  42. รก ๒ : น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่ สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่น มะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  43. รถเก๋ง : น. รถยนต์ที่มีหลังคาเครื่องบังแดดบังฝน มีทั้งชนิดติดตายตัวและ เปิดปิดได้ ปรกตินั่งได้ไม่เกิน ๗ คน.
  44. รถเข็น : น. รถที่ไม่มีเครื่อง ต้องใช้คนเข็นหรือดันไป เช่น รถเข็นคนไข้.
  45. รถจักรยานยนต์ : น. รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์; (กฎ) รถที่เดินด้วยกําลัง เครื่องยนต์กําลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน ๒ ล้อ ถ้ามีพ่วง ข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน ๑ ล้อ.
  46. รถตุ๊ก ๆ : (ปาก) น. รถสามล้อเครื่องรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร.
  47. รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
  48. รถสามล้อ : น. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มี ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยาน สามล้อเครื่อง.
  49. ร่มชูชีพ : น. เครื่องพยุงตัวเมื่อโดดจากที่สูง ตามปรกติกางแล้วรูปคล้าย ร่ม แต่ในปัจจุบันเมื่อกางแล้วมีลักษณะคล้ายกาบกล้วยเป็นลอน ๆ ตามขวางก็มี.
  50. รหัส : [–หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้ข้อความ ที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษร ของข้อความนั้นหรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง กุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.1463 sec)