Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เครื่องบูชา, เครื่อง, บูชา , then ครอง, ครองบชา, เครื่อง, เครื่องบูชา, บุชา, บูชา, ปูชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เครื่องบูชา, 1661 found, display 901-950
  1. ปะหัง : น. เครื่องใช้ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสําหรับใส่หญ้าให้ วัวควายกิน.
  2. ปัก : ก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบิน ปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือ ดิ้นเป็นต้นแล้วแทงแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.
  3. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  4. ปัด ๒ : น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ เรียกว่า ลูกปัด.
  5. ปัตถร : [-ถอน] (แบบ) น. บรรถร, ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป.).
  6. ปั้นจั่น : น. เครื่องยกของหนักประกอบด้วยเสาและรอกเป็นต้น, เครื่องจักร สําหรับยกของหนัก.
  7. ปันจุเหร็จ : น. เครื่องรัดเกล้าที่ไม่มียอด; โจรป่า. (ช.).
  8. ปั่นฝ้าย : ก. เอาฝ้ายเข้าเครื่องหมุน (ไน) เพื่อทําเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็น วัตถุอย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ.
  9. ปั่นไฟ : ก. ผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องกําเนิดไฟฟ้า, เดินเครื่องกําเนิดไฟฟ้า. น. เรียกเครื่องกําเนิดไฟฟ้าว่า เครื่องปั่นไฟ.
  10. ปั้นลม : น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและท้ายเรือน กันลมตีเครื่องมุง, ป้านลม ก็ว่า.
  11. ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
  12. ปากกา ๑, ปากไก่ : น. เครื่องสําหรับขีดเขียนชนิดหนึ่ง ประกอบ ด้วยตัวปากและด้าม ตัวปากมักทำด้วยโลหะ เช่น ปากกาคอแร้ง ปากกาเบอร์ ๕ ใช้เสียบที่ด้ามจุ้มหมึกหรือน้ำสีอื่นเขียน.
  13. ปากกา ๒ : น. เครื่องสําหรับหนีบของใช้ ทําด้วยไม้หรือเหล็กก็มี.
  14. ปากคีบ : น. เครื่องคีบเป็นเหล็ก ๒ ขา ส่วนมากมีปลายแหลม สำหรับคีบสิ่งของ.
  15. ปาน ๑, ปานะ : [ปานะ] (แบบ) น. เครื่องดื่ม, นํ้าสําหรับดื่ม. (ป.).
  16. ป้านลม : น. ชื่อไม้แผ่นที่พาดบนหัวแป ใช้ปิดริมหลังคาด้านหัวและ ท้ายเรือนกันลมตีเครื่องมุง, ปั้นลม ก็ว่า.
  17. ปิ่น : น. เครื่องประดับสําหรับปักผมที่มุ่นเป็นจุก; จอม, ยอด, เช่น ปิ่นพิภพ.
  18. ปิลันธน์ : [ปิลัน] น. เครื่องประดับ. (ป.).
  19. ปี่ : น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่ มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
  20. ปีก : น. อวัยวะสําหรับบินของนกหรือแมลงเป็นต้น, อวัยวะเช่นนั้น ของสัตว์บางชนิด แต่ใช้บินไม่ได้, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะ เช่นนั้น เช่น ปีกตะไล ปีกเครื่องบิน; โดยปริยายหมายถึงต้นแขน ทั้ง ๒ ข้างในบางลักษณะ เช่น เข้าปีก ตีปีก พยุงปีก หิ้วปีก; ข้าง เช่น ปีกซ้าย ปีกขวา.
  21. ปี่พาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยที่มีปี่ ฆ้อง กลอง ตะโพน ผสมกัน มีขนาดวงอยู่ ๓ ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่อง ๕ ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ เครื่องใหญ่, พิณพาทย์ ก็เรียก.
  22. ปุ้งกี๋ : น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สําหรับใช้โกยดินเป็นต้น, บุ้งกี๋ ก็ว่า. (จ.).
  23. ปุเรจาริก : ว. เป็นเครื่องนําหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า. (ป., ส.).
  24. ปู ๑ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นก้าม รยางค์ที่ปล้องท้องไม่ใช้ในการว่ายนํ้า มีหลายวงศ์ เช่น ปูดําหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก. ปูจ๋า น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้ว ใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด.
  25. ปูชกะ : [-ชะกะ] น. ผู้บูชา. (ป., ส.).
  26. ปูชนีย-, ปูชนียะ : [-ชะนียะ] ว. น่านับถือ, น่าบูชา, เช่น ปูชนียวัตถุ ปูชนียบุคคล. (ป.).
  27. เป้ : ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร ตำรวจเป็นต้น.
  28. เปตพลี : [เปตะพะลี, เปดตะพะลี] น. เครื่องเซ่นสรวงที่กระทําให้แก่ ผู้ตายไปแล้ว. (ป.).
  29. เปล : [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
  30. เปลื้อง : [เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทําให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.
  31. เปศัส, เปศัส- : [เปสัด, เปสัดสะ-] (แบบ) น. รูป, ทรง, สี; รูปงาม; เครื่องประดับ; ลายพร้อย, ผ้ามีลายดอกดวงต่าง ๆ. (ส.).
  32. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  33. เป่าผม : ก. ใช้เครื่องพ่นลมร้อนทำให้ผมแห้ง.
  34. เป๋าฮื้อ ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Haliotis วงศ์ Haliotidae เปลือก เป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจํานวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็น แถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทําเป็นเครื่อง ประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจํานวนน้อยใน น่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.
  35. แป : น. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือน ตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกําเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป ที่ เงิน).
  36. แป้งร่ำ : น. แป้งที่ปรุงด้วยเครื่องหอม.
  37. โป ๑ : น. เครื่องเล่นการพนันของจีน กลักทําด้วยทองเหลืองสี่เหลี่ยม มีลูกแดงขาวข้างในใช้ปั่น, ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือ เอาลิ้นโปใส่ลงในฝาครอบโป ไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโป แล้วตั้งให้แทง โดยยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาวตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับแทงเพียง ๔ ประตูคือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปปั่น ก็เรียก.
  38. โปง ๒ : (ถิ่น) น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูก กระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้ แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, กระดึง ก็ว่า.
  39. โป่งข่าม : น. ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้ทําเครื่องประดับ.
  40. โปงลาง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลม ผูกร้อยเรียงกันตามลําดับขนาดและลําดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า.
  41. โป๊ยเซียน ๒ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องใน หมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวม กับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย.
  42. โปรดสัตว์ได้บาป : (สํา) ก. ทําดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทําคุณบูชาโทษ ว่า ทําคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.
  43. โปรเตสแตนต์ : [โปฺร-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา ไม่ยกย่องบูชาแม่พระ และนักบุญ ถือว่าศาสนิกชนทุกคนเป็นพระและเป็นตัวแทนของ พระเยซูเท่าเทียมกัน ไม่นิยมประดิษฐานรูปเคารพใด ๆ ไม่มีรูป พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน มีเฉพาะไม้กางเขนเท่านั้นเป็น สัญลักษณ์. (อ. Protestant).
  44. โปรแทรกเตอร์ : [โปฺรแทฺรก-] น. เครื่องมือวัดมุม มักทำเป็นรูปครึ่งวงกลม, ถ้าเป็น ไม้บรรทัด ใช้วัดมุมได้ เรียกว่า ไม้โปรแทรกเตอร์. (อ. protractor).
  45. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  46. ไปย- : [-ยะ-] น. เครื่องดื่ม. (ป. เปยฺย).
  47. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  48. ผนึก : [ผะหฺนึก] ก. ติดให้แน่น เช่น ผนึกซอง ผนึกตรา, อัดให้แน่นเป็น ปึก เช่น ผนึกกระดาษหลาย ๆ แผ่นให้เป็นปึกเดียวกัน, ปิดให้แน่น เช่น ผนึกไห, รวมกันให้เป็นปึกแผ่น เช่นผนึกกําลัง. น. การนํา ช้างเล็กไปโดยใช้ช้างใหญ่ขนาบไป; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบ สำหรับสอดใส่สิ่งของ.
  49. ผอก ๑ : น. การกินข้าว; ข้าวที่กิน; ภาชนะที่อาจสวมหรือใส่สิ่งอื่นได้, ปลอก; ปลาหรือกุ้งประสมตํากับเกลือ. (ถิ่นอีสาน) ก. ใช้ ข้าวสุกเป็นเครื่องมือในการเชื้อเชิญผีออกจากคนที่กำลังเจ็บป่วย เพื่อให้หาย.
  50. ผ้าแก้ว : น. ผ้าบางใสอย่างแก้ว เนื้อแข็ง ใช้ทำเครื่องแต่งกายหรือ ดอกไม้เป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1661

(0.1203 sec)