Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แหล่งกำเนิด, กำเนิด, แหล่ง , then กำเนิด, หลง, หลงกำนด, แหล่ง, แหล่งกำเนิด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แหล่งกำเนิด, 167 found, display 51-100
  1. เล่งฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys molitrix ในวงศ์ Cyprinidae มีรูปร่างลักษณะถิ่นกําเนิดและแหล่งอาศัยคล้าย ปลาลิ่นฮื้อ.
  2. ศูนย์กลาง : น. แหล่งกลาง เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย, ศูนย์ ก็ว่า.
  3. ศูนย์การค้า : น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้า นานาชนิด มีสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร.
  4. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  5. สถานภาพ : น. ฐานะ เช่น ราชบัณฑิตยสถานมีสถานภาพเป็นแหล่ง ค้นคว้าและบำรุงสรรพวิชา; ตําแหน่งหรือเกียรติยศของบุคคลที่ ปรากฏในสังคม เช่น เขามีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี; สิทธิหน้าที่ตามบทบาทของบุคคล เช่น เขามีสถานภาพทางครอบครัว เป็นบิดา.
  6. สมเด็จ : น. คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จ เจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
  7. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  8. สอบราคา : ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกัน อย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนด ไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่ง ต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด.
  9. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  10. สัมภเวสี : [สำพะ] น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคน ที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใด กำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. (ป.; ส. สมฺภเวษินฺ).
  11. หลง ๆ ลืม ๆ : ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
  12. หลักลอย : ว. ไม่มีหลักแหล่ง, ไม่อยู่เป็นที่, เชื่อถือไม่ได้, เช่น เขาเป็นคน หลักลอย.
  13. หัวนอนปลายตีน : น. หลักแหล่ง, เทือกเถาเหล่ากอ, เช่น คนคนนี้ไว้ใจยาก เพราะไม่รู้หัวนอนปลายตีนของเขา.
  14. อิสริยยศ : [อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศ ทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้า พระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดี ความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม จึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.
  15. อีลุ้ม ๑ : น. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับ นกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดํา หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัย หากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  16. อู่ : น. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สําหรับเก็บเรือหรือซุง.
  17. หลงผิด : ก. สำคัญผิด, เข้าใจไม่ถูกต้อง; หลงประพฤติไปในทางที่ผิด.
  18. หลงละเมอ : ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลง ละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
  19. หลงเหลือ : ก. มีเหลืออยู่บ้างทั้ง ๆ ที่เข้าใจหรือรู้สึกว่าหมดแล้ว เช่น ยังมี เศษสตางค์หลงเหลืออยู่ในกระเป๋า.
  20. หลงจู๊ : น. ผู้จัดการ. (จ.).
  21. ลุ่มหลง : ก. หมกมุ่น, มัวเมา, เช่น ลุ่มหลงในอบายมุข.
  22. หลิ่ง : [หฺลิ่ง] น. ตลิ่ง.
  23. ควันหลง : น. ควันเหลือค้างอยู่, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว และกลับปรากฏกระเส็นกระสายขึ้นอีก.
  24. หลงตา, หลงหูหลงตา : ว. ตกค้างอยู่โดยไม่เห็น, ปล่อยให้ผ่านสายตาไป โดยไม่ทันได้สังเกตเห็น.
  25. หลั่ง : ก. ไหลลงหรือทําให้ไหลลงไม่ขาดสาย เช่น หลั่งน้ำตา หลั่งน้ำสังข์.
  26. กะป้ำกะเป๋อ : ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
  27. ขล้ง : [ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
  28. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  29. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  30. กิเลส, กิเลส- : [-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทําใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคําว่า กิเลสหยาบ.
  31. ได้หน้าลืมหลัง : ก. หลง ๆ ลืม ๆ.
  32. ป้ำเป๋อ, ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ขี้หลงขี้ลืม, กะปํ้ากะเป๋อ ก็ว่า.
  33. เผลอไผล : [ไผฺล] ก. หลง ๆ ลืม ๆ, ลืมตัวไปชั่วขณะ, เลินเล่อ.
  34. เฟือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, เลือน.
  35. มูฬห- : [มูนหะ-] ว. เขลา, หลง. (ป.).
  36. รากเหง้า : น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่ว ทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.
  37. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  38. หลัง ๒ : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
  39. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  40. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  41. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  42. กับ ๑ : น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลิ้นหรือไก เมื่อไปกระทบเข้าก็จะปิด หรืองับทันที, โดยปริยายหมายถึงอุบายที่ใช้ล่อให้หลงเชื่อ.
  43. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  44. กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
  45. เก๊ : ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
  46. ข้าวตก : น. ข้าวที่หลงเหลืออยู่ในท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว.
  47. ขุดบ่อล่อปลา : (สํา) ก. ทํากลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดย หวังประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง.
  48. โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
  49. เคลิ้ม : [เคฺลิ้ม] ว. เผลอตัว, หลงไป, จวนหลับ, หลับยังไม่สนิท.
  50. งมงาย : ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น หรือเหตุผลของผู้อื่น.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-167

(0.0666 sec)