Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนประกอบ, ประกอบ, ส่วน , then ประกอบ, สวน, ส่วน, สวนปรกอบ, ส่วนประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนประกอบ, 1860 found, display 201-250
  1. ยุกต์ : ว. ชอบ, ถูกต้อง, ประกอบ. (ส.; ป. ยุตฺต).
  2. ยุต ๑ : [ยุด] ก. ประกอบ. (ป. ยุตฺต; ส. ยุกฺต).
  3. ร้อยละ : น. ต่อร้อย, จำนวนส่วนในร้อยส่วน, เช่น ร้อยละ ๑๐ คือ ๑๐ ต่อ ๑๐๐ หรือ ๑๐ ส่วนใน ๑๐๐ ส่วน.
  4. โรงงาน : (กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกําลัง รวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้ คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่กําหนดในกฎกระทรวง.
  5. ฤคเวท : [รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  6. ลายฮ่อ : น. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบ ด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็น อย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ใน งานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.
  7. เศษส่วน : น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียน ในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น (รูปภาพ) หรือ (รูปภาพ) จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. (อ. fraction).
  8. สถาปัตยเวท : [สะถาปัดตะยะเวด] น. วิชาการก่อสร้าง เป็นสาขาหนึ่งของ อุปเวท. (ส. สฺถาปตฺย + เวท). (ดู อุปเวท ประกอบ).
  9. สมถวิปัสสนา : น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการ เจริญกรรมฐานทางพุทธศาสนา. (ป.). (ดู วิปัสสนา ประกอบ).
  10. อน : [อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู ประกอบ).
  11. เศษ : ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  12. สวน ๔, สวนะ ๑ : [สะวะนะ] น. การฟัง. (ป.; ส. ศฺรวณ).
  13. กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  14. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  15. ชิงช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วย ล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกันหมุนด้วยแรงกลในแนวตั้ง รอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่ เป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  16. ดา ๑ : น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้าน หลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้าย แมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
  17. ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
  18. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  19. ศกละ : [สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล).
  20. อัฏฐังค์ : น. องค์ ๘, ๘ ส่วน, ๘ ชั้น. (ป.).
  21. undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  22. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  23. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  24. กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  25. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  26. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  27. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  28. กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
  29. ก็ดี, ก็ได้ ๑ : นิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มี น้ำหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.
  30. ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
  31. ก้นบึ้ง : น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
  32. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  33. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  34. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  35. กบาล : [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คําไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้ว นําไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้า ข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  36. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  37. กรมการจังหวัด : น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคน ที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
  38. กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
  39. กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
  40. กรมท่า : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัด กรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  41. กรมท่าขวา : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับชนชาวแขก.
  42. กรมท่าซ้าย : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ ชนชาวจีน.
  43. กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
  44. กรรมการก : [กํามะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทํา เป็นส่วนสําคัญส่วนหนึ่ง ใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทําเด่น ก็เรียงเป็นภาค ประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตํารวจยิง.
  45. กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  46. กรวดน้ำ : ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ; (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, มักใช้ว่า กรวดน้ำ คว่ำกะลา หรือ กรวดน้ำคว่ำขัน.
  47. กรสุทธิ์ : [กะระ-] น. ''การชําระมือให้หมดจด'', พิธีอย่างหนึ่งของ พราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้ สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
  48. กร้อ : น. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดน้ำเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญ เรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห). (รูปภาพ กร้อ)
  49. กรอบ ๑ : [กฺรอบ] น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ขอบเขตกําหนด เช่น ทํางานอยู่ในกรอบ.
  50. กระจุบ, กระจุ๊บ : น. ส่วนของโคมตรงที่สวมหลอด; ส่วนหนึ่งของตะเกียงที่ไส้ ผ่านสําหรับจุดไฟ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1860

(0.1624 sec)