Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: จาก , then จะก, จาก, จากา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : จาก, 1897 found, display 1351-1400
  1. รากสาดน้อย : น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะ ทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าว นี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิด จากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
  2. รากสาดใหญ่ : น. โรคติดเชื้อ Rickettsia มีอาการคล้ายไข้รากสาดน้อย แต่มักจะรุนแรงกว่ามีหลายชนิด ชนิดที่เป็นโรคระบาดเกิดจากเชื้อ Rickettsia prowaseki, เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวนี้ว่า ไข้รากสาดใหญ่.
  3. รากอากาศ : น. รากที่แตกออกจากต้นหรือกิ่งของพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ ไทร.
  4. ร้าง : ก. จากไปชั่วคราว เช่น นิราศร้างห่างเหเสน่หา, แยกกันอยู่แต่ยังไม่หย่า ขาดจากกัน เช่น ผัวเมียร้างกัน. ว. ที่ถูกทอดทิ้ง เช่น พ่อร้าง แม่ร้าง, ว่างเปล่า, ปราศจากผู้คน, เช่น บ้านร้าง เมืองร้าง.
  5. ราชทูต : น. ผู้นําพระราชสาส์นไปประเทศอื่น, ผู้แทนชาติในประเทศอื่น, ตําแหน่งผู้แทนรัฐถัดจากอัครราชทูต. (ป.).
  6. ราชปะแตน : [ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัด ตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).
  7. รามัญนิกาย : น. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่งซึ่งสืบสายมาจากพระสงฆ์มอญ.
  8. รายได้สุทธิ : น. รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว (ใช้แก่บุคคล).
  9. รายรับ : น. รายการรับ เช่น เขามีรายรับเพิ่มขึ้น, คู่กับ รายจ่าย; (กฎ) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการ ประกอบกิจการ.
  10. ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ : น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือ จันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ใน ตําราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๗ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากใต้ ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่าน จากเหนือระนาบสุริยวิถีลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระเกตุ. (ป., ส. ราหุ).
  11. รำบาญ : ก. รบศึก, รบ. (แผลงมาจาก ราญ).
  12. รำราญ : ก. รบ. (แผลงมาจาก ราญ).
  13. ริ : ก. เริ่มคิดหรือทําแปลกจากปรกติ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ริสูบบุหรี่ ริเที่ยวกลางคืน, ริอ่าน ก็ว่า.
  14. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  15. รุข้าว : ก. เอาฟางออกจากเมล็ดข้าวที่นวดแล้ว.
  16. รุเธียร : [รุเทียน] น. เลือด. ว. สีแดง. (แผลงมาจาก รุธิร).
  17. รุ่ย ๒ : ว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้น สองเส้น.
  18. รูดทรัพย์ : (ปาก) ก. ยึดเอาสิ่งมีค่า เช่น แหวน นาฬิกา สายสร้อย ออกจากตัวโดยเจ้าของไม่รู้ตัว หรือโดยถูกขู่บังคับ.
  19. รูปภาพ : น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพ มีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนัง ผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.
  20. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  21. เรขาคณิตบริสุทธิ์ : (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้กฎเกณฑ์ของระบบ ตรรกศาสตร์โดยเริ่มต้นจากบทนิยามและสัจพจน์ที่เกี่ยวกับรูปทรง มาเรียบเรียงให้เป็นทฤษฎีบทแล้วอนุมานผลลัพธ์จากทฤษฎีบท. เรขาคณิตวิเคราะห์ (คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซต ของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้ สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.
  22. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  23. เราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
  24. เรียกคืน : ก. ทวงคืน เช่น ฉันเรียกคืนเงินมัดจำจากบริษัท.
  25. เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
  26. เรียงความ : ก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะ ที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.
  27. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  28. เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
  29. เรียบวุธ : ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืน จดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสีย เรียบวุธเลย.
  30. เรียวไผ่ : น. แขนงไม้ไผ่ที่แตกออกจากบริเวณโคนไผ่บางชนิด เช่น ไผ่สีสุก ไผ่ลำมะลอก.
  31. เรียวหนาม : น. แขนงไม้ไผ่ที่มีหนาม มักแตกออกจากบริเวณโคนไผ่ บางชนิด เช่น ไผ่ป่า.
  32. เรือกราบ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลม และเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลองเรือแซง หรือเรือกันได้.
  33. เรือโกลน : [–โกฺลน] น. เรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้าย เป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด.
  34. เรือขนาน : น. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟาก; เรือที่จอด เทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง; เรือที่ใช้ในการทำสังฆกรรม ในน่านน้ำซึ่งจอดขนานไปกับลำน้ำให้ห่างจากฝั่งกว่าชั่ววักน้ำสาด.
  35. เรือโขมดยา : น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้าง เพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนิน พยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวน พยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.
  36. เรือแซ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่ เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และ เสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้.
  37. เรือนำร่อง : น. เรือเล็กที่ใช้นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินน้ำลึก เช่น เรือสินค้าเข้าหรือออกจากท่าเรือในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ.
  38. เรือพระประทีป : น. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ปักเทียนรายตามหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อย ลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม.
  39. เรือพิฆาต ๒ : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง ระวางขับน้ำประมาณ ๓,๘๐๐– ๕,๕๐๐ ตัน มีหน้าที่หลักในการป้องกันภัยจากเรือดำน้ำและอากาศยาน และอาจทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น เฝ้าตรวจการรุกล้ำทางผิวน้ำและอากาศ ตรวจการรุกล้ำของเรือดำน้ำมีอาวุธสมัยใหม่ทั้งปืนใหญ่ อาวุธนำวิถี และอาวุธปราบเรือดำน้ำ.
  40. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  41. เรืออีโปง : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาล ผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก และปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่า หัวเรือ.
  42. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  43. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  44. แรงดึงดูด : (ฟิสิกส์) น. แรงระหว่างเทหวัตถุ ๒ ชิ้นที่ดึงหรือพยายาม ดึงให้เทหวัตถุทั้ง ๒ เคลื่อนที่เข้าใกล้กัน ต้านหรือพยายามต้านการแยก เทหวัตถุทั้ง ๒ ออกจากกัน.
  45. แรงหนีศูนย์กลาง : (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุ นั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทาง วงกลมนั้นและมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force).
  46. โรงมหรสพ : น. สถานที่สำหรับเล่นมหรสพ เช่น งิ้ว ลิเก ละคร ภาพยนตร์ เพื่อเก็บเงินจากคนดู ไม่ว่าจะปลูกเป็นตึก เรือน โรง หรือกระโจมและ ที่ปลูกกำบังอย่างใด ๆ.
  47. โรยตัว : ก. เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วเอาไปคล้องที่ต้นขาทั้ง ๒ ข้าง เอาปลายเชือกผูกที่หน้าท้อง แล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลง เช่น โรยตัว ลงจากเฮลิคอปเตอร์กลางอากาศ, เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลงมาจากที่สูง เช่น โรยตัวจากอาคารสูง ๆ.
  48. ฤชากร : [รึชากอน] น. เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียม.
  49. ฤตุสนาน : [รึตุสะหฺนาน] น. การอาบนํ้าของหญิงอินเดียในวันที่ ๔ หลังจากมีระดู. (ส.).
  50. ฤทัย : [รึไท] น. ใจ, ความรู้สึก. (กร่อนมาจาก หฤทัย). (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1897

(0.0972 sec)