Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1351-1400
  1. รำมะนา : น. กลองขึงหนังหน้าเดียว รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงลําตัด มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้กับวงมโหรี.
  2. รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  3. รุน : ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม ชายเฟือย.
  4. รู้ทัน : ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสีย เปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิด ของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า.
  5. รู้ท่า : ก. รู้ทันความคิด, รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร, เช่น เห็นหน้าน้อง ก็รู้ท่าว่าจะมาขอเงิน.
  6. รู้เนื้อรู้ตัว : ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัว เสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.
  7. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  8. เร่งเร้า : ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะ แต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือ ก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
  9. เรไร ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้า เส้นเล็ก ๆ คล้ายซ่าหริ่ม จับให้ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ คล้ายรังนก โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย งา หยอดด้วยกะทิ.
  10. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  11. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  12. เรียง : ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียง สอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า; ลักษณนามเรียกพลู ที่เอามาเรียงซ้อนกันประมาณ ๗–๘ ใบ เช่น พลูเรียงหนึ่ง พลู ๒ เรียง. (ในบทกลอนแผลงเป็น ระเรียง หรือ รันเรียง ก็มี).
  13. เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
  14. เรียน ๒ : ใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.
  15. เรือดั้ง : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
  16. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  17. เรือเพรียว : น. เรือขุดรูปคล้ายเรือแข่ง แต่ขนาดเล็กกว่า หัวยาวพองาม ท้ายสั้น เป็นเรือที่ขุนนางหรือผู้มีฐานะการเงินดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.
  18. เรือม่วง : น. เรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.
  19. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  20. แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
  21. โรยขนมจีน : ก. บีบแป้งขนมจีนที่อยู่ในห่อผ้าที่เย็บติดกับหน้าแว่น แล้วโรยให้เป็นเส้นลงในน้ำเดือด, บีบขนมจีน ก็ว่า.
  22. โรยตัว : ก. เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วเอาไปคล้องที่ต้นขาทั้ง ๒ ข้าง เอาปลายเชือกผูกที่หน้าท้อง แล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลง เช่น โรยตัว ลงจากเฮลิคอปเตอร์กลางอากาศ, เอาเชือกผูกรอบเอวแล้วค่อย ๆ หย่อนตัวลงมาจากที่สูง เช่น โรยตัวจากอาคารสูง ๆ.
  23. ฤคเวท : [รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  24. ฤษี : [รึ] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไป บําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).
  25. ฤๅษี : น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญ พรตแสวงหาความสงบ.
  26. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  27. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  28. ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  29. ลงพื้น : ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย.
  30. ลงหญ้าช้าง : น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
  31. ลดหลั่น : ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
  32. ลบเหลี่ยม : ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
  33. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  34. ลมขึ้น : ก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทําให้หาวเรอ หรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณีหลังนี้ บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.
  35. ล้มคว่ำ : ก. ล้มเอาหน้าลง.
  36. ล้มเค้า : ก. เล่นการพนันบางอย่างเช่นถั่วโป โดยวิธีแทงเท่าจำนวน เค้าที่เจ้ามือมีอยู่ที่หน้าตัก ถ้าแทงถูกเจ้ามือก็หมดเค้า เรียกว่า แทงล้มเค้า.
  37. ลมจับ : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบางคราวถึงกับหมดสติ, เป็นลม หรือ เป็นลมเป็นแล้ง ก็ว่า.
  38. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  39. ล้มหายตายจาก : ก. ตายจากไปแล้ว, หายหน้าไปนานจนทำให้คิด ว่าตายไปแล้ว.
  40. ลลาฏ : [ละ–] น. นลาฏ, หน้าผาก. (ป., ส.).
  41. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  42. ล่วงรู้ : ก. รู้เสียก่อน, รู้ทัน, เช่น ล่วงรู้ความลับของผู้อื่น.
  43. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  44. ล่อนแก่น : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว (ใช้แก่การพนัน) เช่น กินก่อนล่อนแก่น.
  45. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  46. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  47. ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ลุก ๆ ลน ๆ.
  48. ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
  49. ละเลง : ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
  50. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1102 sec)