Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ก่อนหน้า, หน้า, ก่อน , then กอน, ก่อน, กอนหนา, ก่อนหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ก่อนหน้า, 1995 found, display 1601-1650
  1. หลังฉาก : (สำ) ว. ที่ไม่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น เขาทำเป็นเศรษฐีใช้ จ่ายฟุ่มเฟือย แต่ฐานะหลังฉากเต็มไปด้วยหนี้สิน, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่ไม่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หน้าฉาก.
  2. หลั่น : ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
  3. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  4. หลาว : น. ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสําหรับแทง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลาวทองเหลือง. ว. เรียกอาการที่พุ่งตัว พร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้าว่า พุ่งหลาว.
  5. หลุบ : [หฺลุบ] ก. ลู่ลงมา, ปกลงมา, เช่น ผมหลุบหน้า หนังตาหลุบ.
  6. หวงตัว : ก. รักนวลสงวนตัว เช่น เป็นลูกผู้หญิงต้องรู้จักหวงตัว, ไม่ยอม ให้ถูกเนื้อต้องตัว เช่น เด็กคนนี้หวงตัว ไม่ยอมให้คนแปลกหน้าอุ้ม.
  7. หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
  8. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  9. หักมุก : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งซึ่งพัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่า กับกล้วยตานี ผลเป็นเหลี่ยม นิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนกิน.
  10. หักหลัง : ก. ร่วมใจกันมาก่อนแล้วกลับทําร้ายให้ในภายหลัง.
  11. หัน ๑ : ก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้า ไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้า กับศัตรู.
  12. หับเผย : ก. ปิดงับและเปิดคํ้าขึ้นได้. น. โรงเรือนที่มีลักษณะด้านหน้า ปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้.
  13. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  14. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  15. หัวเถิก : ว. มีผมที่หัวตอนหน้าผากร่นสูงขึ้นไป.
  16. หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
  17. หัวปี : ว. ทีแรก, เกิดก่อนเพื่อน, เช่น ลูกคนหัวปี.
  18. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  19. หัวหอก : น. บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่นำผู้อื่นไปก่อนในการต่อสู้ หรือการพัฒนาสังคมเป็นต้น เช่น ส่งทหารพรานเป็นหัวหอกไปค้นหา ผู้ก่อการร้าย.
  20. หัส, หัส- : [หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).
  21. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  22. หางกระรอก : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียว เสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.
  23. หางกิ่ว : น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า.
  24. ห้าแต้ม : ว. พลั้งพลาดน่าขายหน้า.
  25. ห้ามญาติ : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม.
  26. ห้ามสมุทร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยา ห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.
  27. หายตัว : ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น; โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัว ไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.
  28. หายวับไปกับตา : (สำ) ก. หายไปอย่างฉับไวต่อหน้าต่อตา.
  29. หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
  30. หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
  31. หุ้นบุริมสิทธิ : [-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษ เหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ. (อ. preference share).
  32. หุรัม : ว. ในเบื้องหน้า, ภพหน้า. (ป. หุรํ).
  33. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  34. หูรูด : น. รูที่ร้อยเชือกสําหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวาร หนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.
  35. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  36. เห็นการณ์ไกล : น. คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง โดยอาศัยเหตุผลหรือประสบการณ์เป็นต้น, มองการณ์ไกล ก็ว่า.
  37. เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
  38. เหนือ : [เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอํานาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือ เหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.
  39. เหมายัน : [เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคมเป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).
  40. เหย : [เหฺย] ว. เบ้ (ใช้แก่หน้า).
  41. เหยเก : ว. เบ้เบี้ยวไป (ใช้แก่หน้า).
  42. เหลอ : [เหฺลอ] ว. ทำหน้าเซ่อ ๆ ทำนองว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำหน้าเหลอ.
  43. เห่อ ๒ : ก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้า ใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.
  44. เหอะ ๒ : ว. เปรอะ เช่น ราขึ้นเหอะ; ขรุขระ เช่น หน้าเป็นสิวเหอะ.
  45. เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
  46. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  47. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  48. แหงน : [แหฺงน] ก. หงายหน้าขึ้น, เงยขึ้น.
  49. แห้น : ก. แทะ, กัดด้วยฟันหน้า.
  50. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1650] | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-1995

(0.1279 sec)