Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นาน , then นาน, นานา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นาน, 213 found, display 51-100
  1. ค้างปี : ว. ล่วงเวลานานเป็นปี เช่น เหล้าค้างปี ปลาร้าค้างปี.
  2. ค้ำฟ้า : ว. นานจนไม่มีกําหนด.
  3. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  4. คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
  5. คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
  6. คู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและ ยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย).
  7. เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
  8. เคี่ยว : ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  9. จมเบ้า : ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ.
  10. จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  11. จารีต : [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  12. จำเนียร : ว. นาน, ช้า. (แผลงมาจาก เจียร).
  13. จิร- : [-ระ-] ว. นาน, ช้า. (ป., ส.).
  14. จิรกาล : น. กาลนาน, เวลาช้านาน.
  15. จิรัฐิติกาล : [จิรัดถิติ-] น. เวลายั่งยืน, เวลาที่ตั้งอยู่นาน. (ป. จิร + ??ติ + กาล).
  16. จีนฮ่อ : น. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, ฮ่อ ก็เรียก.
  17. จีรัง : ว. นาน, ยาวนาน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยั่งยืน เป็น จีรังยั่งยืน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน.
  18. เจิ่น : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
  19. เจียนหมาก : ก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอก เปลือกชั้นนอกตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือกชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับ เปลือกนอกออกมากินกับพลูที่บ้ายปูนหรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้ กินได้นาน ๆ.
  20. เจียร ๑ : [เจียน] ว. นาน, ช้านาน, ยืนนาน. (ป., ส. จิร ว่า ยั่งยืน).
  21. เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
  22. แฉะแบะ : ว. อาการที่นั่งเฉื่อยชาอยู่นาน ๆ, เฉื่อยชา, แบะแฉะ ก็ว่า.
  23. ชั่วคราว : ว. ชั่วระยะเวลาไม่นาน, ไม่ประจํา, ไม่ตลอดไป.
  24. ชั่วเบา : (โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่าย ปัสสาวะ.
  25. แช่เบ้า : ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ ทําประโยชน์อะไร.
  26. แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
  27. ซากดึกดำบรรพ์ : น. ซากของพืชหรือสัตว์ดึกดําบรรพ์ที่ฝังอยู่ เป็นเวลานานมาก จนกระทั่งกลายเป็นหิน. (อ. fossil).
  28. ซู่ ๒, ซู่ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
  29. เซ็ง : ว. ชืด, จืดชืด, หมดรส, (ใช้เรียกสิ่งที่ควรจะบริโภคหรือจัดทํา ในเวลาหนึ่ง แต่ทิ้งไว้นานเกินควร), หมดความตื่นเต้น.
  30. ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
  31. ดักดน : (กลอน) ว. ลําบาก, ตรากตรําอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  32. ดักดาน : ว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า) เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน.
  33. ดำนาน : แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดํานาน พระมหาแพศ ยันดรธรรมเทศนา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตํานาน).
  34. ดำเนียร : (แบบ) ว. ที่ผ่านมา เช่น อนี้จะชี้นิต- ติดําเนียรดํานานสาร. (สมุทรโฆษ).
  35. -ดีดัก : ใช้เข้าคู่กับคํา หลายปี เป็น หลายปีดีดัก หมายความว่า นานมาแล้ว.
  36. ดึก : น. เวลามืดนานแล้ว, เวลาคํ่ามากแล้ว, (ใช้แทนคําว่า สาย ในเวลากลางคืน). ว. ลึก เช่น ดงดึก.
  37. ตรำ : [ตฺรํา] ว. ปล่อยทิ้งตากแดดตากฝนไว้นาน ๆ เช่น ตัดไม้ทิ้งตรําแดดตรําฝนไว้, สู้ทนลําบาก เช่น ทํางานตรําแดดตรําฝน ตรํางาน, กรํา ก็ว่า.
  38. ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
  39. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  40. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  41. ถ่านหิน : น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปร สภาพของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก.
  42. ถูไถ : ก. แก้ข้อขัดข้องพอให้ลุล่วงไปได้ เช่น พอถูไถไปได้, ยังใช้ได้ ก็ทนใช้ไป เช่น ยังใช้ถูไถไปได้ ใช้ถูไถมานาน.
  43. ทรหึง : [ทอระ-] (กลอน) ว. นาน; เสียงเอ็ดอึง.
  44. เทพนิยาย : น. เรื่องราวหรือตํานานเกี่ยวกับเทวดา.
  45. เทียรฆราตร : [-คะราด] (แบบ) น. ราตรียาว, กาลนาน. ว. มีราตรียาว, มีกาลนาน. (ส. ทีรฺฆราตฺร; ป. ทีฆรตฺต).
  46. นมนาน : ว. นานมาก, นานนม ก็ว่า.
  47. นวม ๑ : น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
  48. นหานะ : น. การอาบนํ้า. (ป.; ส. สฺนาน).
  49. นาคู่โค : น. นาที่ได้ทํามาแล้วนาน เป็นนาดี ทําแล้วไม่ใคร่เสีย.
  50. นานนม : ว. นานมาก, นมนาน ก็ว่า.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-213

(0.0467 sec)