Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บังคับบัญชา, บังคับ, บัญชา , then บงคบบญชา, บังคับ, บังคับบัญชา, บัญชา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บังคับบัญชา, 246 found, display 151-200
  1. เนรเทศ : [ระเทด] ก. บังคับให้ออกไปเสียจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน; (กฎ) ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง การออกจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่เดิมด้วยความสมัครใจ เช่น เนรเทศ ตัวเอง. (แผลงมาจาก นิรเทศ).
  2. บทเฉพาะกาล : (กฎ) น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติให้ใช้เฉพาะ ในช่วงเวลาหนึ่งหรือกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับ กฎหมายนั้น.
  3. บัญญัติ : [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ
  4. บัญญัติ ๑๐ ประการ. : ก. ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติ กฎหมาย. (ป. ปญฺ?ตฺติ).
  5. บีบคั้น : ก. บีบบังคับให้ได้รับความลำบาก.
  6. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  7. ปลดอาวุธ : ก. บังคับให้วางศัสตราวุธเพื่อไม่ให้ใช้ต่อสู้.
  8. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  9. ไปรษณียนิเทศ : [ไปฺรสะนียะนิเทด, ไปฺรสะนีนิเทด] (กฎ) น. สมุดกฎข้อบังคับ คําสั่ง หรือประกาศว่าด้วยการไปรษณีย์ทั่วไป.
  10. พนาย : น. คําขุนนางผู้ใหญ่เรียกผู้ดีซึ่งอยู่ในบังคับตน.
  11. พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
  12. พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
  13. พังงา ๒ : น. เครื่องบังคับหางเสือเรือ.
  14. พัศดี : [พัดสะ] น. ผู้บังคับการเรือนจํา, ผู้ปกครองนักโทษ.
  15. พินัยกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อ ตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็น ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
  16. โฟกัส : (แสง) น. จุดที่แนวแสงลู่เข้าทั้งหมดไปตัดกัน หรือ จุดที่แนวแสง ลู่ออกทั้งหมดต่อย้อนหลังไปตัดกัน กรณีแรก เรียกว่า โฟกัสจริง กรณีหลัง เรียกว่า โฟกัสเสมือน; (คณิต) จุดที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับ เส้นไดเรกตริกซ์ ใช้กําหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกัน เป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย. (อ. focus).
  17. มหาชัย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็ บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
  18. มหาฤกษ์ : [-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานที่ทํางานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สําคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวง กลาโหมกําหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.
  19. มัดมือชก : (สํา) ก. บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ใน ภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.
  20. ม่านตา : น. เยื่อผิวลูกตาสําหรับบังคับแสงให้เข้าตามากหรือน้อย.
  21. มายาการ : น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้ พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
  22. มือเที่ยง : ว. แน่, แม่นยำ, เช่น เขายิงปืนมือเที่ยง; มีความสามารถ ในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือน ไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น.
  23. แม่มด : น. หญิงหมอผี, หญิงที่ใช้อํานาจเวทมนตร์บังคับภูตผีให้ช่วยทําอะไร บางอย่างที่ผิดปรกติธรรมดาได้, หญิงที่ทรงเจ้าเข้าผี.
  24. โมฆกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
  25. โมฆ-, โมฆะ : [โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).
  26. โมฆสัญญา : น. สัญญาที่ไม่มีผลบังคับ.
  27. ไม้ยามักการ : น. เครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบรูปดังนี้ ๎.
  28. ยกฟ้อง : (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้อง ของโจทก์.
  29. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  30. ยามักการ : น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือ บาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.
  31. ยิมนาสติก : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่า บังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. (อ. gymnastic).
  32. ยึดทรัพย์ : (กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครอง ของบุคคล เพราะเหตุที่กระทําการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี.
  33. เย่อ : ก. เอามาด้วยแรงบังคับโดยการฉุดรั้งแย่งกัน, ใช้แรงฉุดรั้งดึงกันไปมา.
  34. ระเบียบ : น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. ว. ถูกลําดับ, ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว, มีลักษณะเรียบร้อย, เช่น เขาทำงานอย่างมีระเบียบ.
  35. ระเบียบการ : น. ข้อกําหนดหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเป็นแนวปฏิบัติ เช่น ระเบียบการของโรงเรียน.
  36. ราชกิจจานุเบกษา : น. หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสํานักงานราชกิจจานุเบกษา สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สําหรับ ลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน บริษัท.
  37. รายวิชา : น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. (อ. course).
  38. รีด : ก. บีบ รูด หรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แผ่ กว้าง ยาว หรือเรียบ เป็นต้น ตาม ที่ต้องการ, กดแรง ๆและไถเพื่อทำให้เรียบ เช่น รีดผ้า รีดใบตอง รีดกลีบ บัว, บีบทำให้เป็นแผ่นหรือเป็นเส้นยาวเช่น รีดทอง รีดยาง, บีบรูดด้วย อาการเค้นเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในออกมา เช่น รีดนมวัว รีดไส้หมู รีดหนอง; (ปาก) ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงิน รีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี.
  39. รีดเลือดกับปู : (สำ) ก. เคี่ยวเข็ญหรือบีบบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีจะให้, หาเลือดกับปู หรือ เอาเลือดกับปู ก็ว่า.
  40. รูดทรัพย์ : (ปาก) ก. ยึดเอาสิ่งมีค่า เช่น แหวน นาฬิกา สายสร้อย ออกจากตัวโดยเจ้าของไม่รู้ตัว หรือโดยถูกขู่บังคับ.
  41. เร่ง : ก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้ แต่งตัวไปโรงเรียน.
  42. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  43. ละเว้น : ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคน ถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น.
  44. ลากตัว : ก. ใช้อำนาจหรือกำลังบังคับเอาตัวมา.
  45. ลู่ ๒ : ก. เอนราบเป็นแนวไป ด้วยมีสิ่งอื่นบังคับให้เป็นเช่นนั้น เช่น ต้นสนลู่ไปตามลม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผมของเขาพอถูกฝนก็ลู่ลงมาหมด.
  46. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  47. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  48. ลูกสมุน : (ปาก) น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ.
  49. ลูกหมาก ๒ : น. อุปกรณ์ในส่วนช่วงล่างของรถยนต์ มีหน้าที่บังคับ ล้อและพวงมาลัยไม่ให้สั่น ทั้งช่วยผ่อนความสะเทือนของตัวรถด้วย.
  50. เลี้ยงได้แต่ตัว : ก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะ บังคับจิตใจเขาได้, มักใช้ว่าเลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-246

(0.0738 sec)