Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เข้าเจ้า, เจ้า, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, เข้าเจ้า, จา, เจ้, เจ้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เข้าเจ้า, 2541 found, display 751-800
  1. ค่าน้ำนม : น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอ เพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มัน แลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง.(สามดวง); ปัจจุบันหมายถึงพระคุณของพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูมา เช่น บวชตอบแทนค่าน้ำนม.
  2. ค่าปากเรือ : (โบ) น. ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากเรือบรรทุกสินค้าเข้ามา โดยวัดขนาดกว้างตอนกลางเรือเป็นกําหนด.
  3. คาร์บูเรเตอร์ : น. อุปกรณ์ประกอบในเครื่องยนต์ชนิดใช้นํ้ามันเผาไหม้ภายใน ใช้ประโยชน์เพื่อผสมอากาศเข้ากับไอนํ้ามันก่อนที่จะถูกเผาไหม้. (อ. carburetor).
  4. ค้ำ : ก. เอาไม้ง่ามเป็นต้นยันไว้เพื่อไม่ให้ทรุด ไม่ให้ล้มหรือไม่ให้เข้ามา.
  5. คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
  6. คำทาย : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
  7. คำนัล : (กลอน) ก. เฝ้าเจ้านาย. (ข. คํนาล่).
  8. ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
  9. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  10. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  11. คิว ๒ : น. แถวตามลําดับก่อนหลัง เช่น เข้าคิว คิวรถ. (อ. queue).
  12. คึกคัก : ว. แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า, มีชีวิตชีวา, เช่น ดูท่าทางคึกคัก; ลักษณะที่มีผู้คนพลุกพล่านเข้า ๆ ออก ๆ มากกว่าปรกติ เช่น บ้านนี้มีผู้คนคึกคัก.
  13. คืน ๒ : ก. กลับเข้าสู่ภาวะหรือฐานะเดิม. ว. กลับดังเดิม เช่น ได้คืน กลับคืน ส่งคืน.
  14. คืบ ๒ : น. ว่านชนิดหนึ่ง ใบเหมือนผักอีแปะ ก้านเขียวเล็ก มีเมล็ดที่ปลายใบ เมื่อเมล็ดแก่และหางตกถึงดินแล้ว เมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมา ในตํารา กบิลว่านกล่าวว่าใช้เมล็ดห่อผ้าไว้ ตีฟันไม่เข้า. (กบิลว่าน).
  15. คุณ ๒ : น. อาถรรพณ์ คือ พิธีทําร้ายต่ออมิตร โดยเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าในตัว หรือฝังรูปฝังรอย เรียกกันว่า กระทําคุณ, ผู้ถูกกระทำ เรียกว่า ถูกคุณ, คุณไสย ก็ว่า.
  16. คุม ๒ : ก. รวมสิ่งที่กระจายอยู่ให้เข้าชุดเข้าพวกเป็นระเบียบเดียวกัน เช่น คุมยา คุมเรือน.
  17. คุ่ม ๒ : ว. ค่อมน้อย ๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง.
  18. คุ้ม ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. บ้านเจ้านายฝ่ายเหนือ.
  19. คุมแค้น : ก. ผูกใจเจ็บและคิดอยากแก้แค้น, เก็บเอาความแค้นเข้าไว้.
  20. คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
  21. คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
  22. คุลีการ : ก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน, คลุกเคล้าให้เข้ากัน.
  23. คู้ : ก. ตรงกันข้ามกับ เหยียด, งอเข้า เช่น คู้เข่า. คู้บัลลังก์ ก. ขัดสมาธิ.
  24. คู่ขา : น. คู่เล่นการพนันที่หย่ากันคือไม่เอาเงินกัน, คู่แสดงหรือคู่เล่น ที่เข้ากันได้ดี.
  25. คู่แข่ง : น. ผู้ที่เข้าแข่งขันกัน, ผู้ที่ชิงดีชิงเด่นกัน.
  26. คู่เคียง : น. ผู้ที่เข้ากระบวนแห่ของหลวงซึ่งเดินเคียงราชยานไปคนละข้าง.
  27. คู่บ่าวสาว : น. เจ้าบ่าวเจ้าสาว.
  28. คู่ผสม : น. คําเรียกผู้เล่นกีฬาบางประเภทเช่นแบดมินตัน เทนนิส ที่ใช้ผู้ชายกับผู้หญิงเข้าคู่กัน.
  29. คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
  30. เครื่องผูก : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้นว่า เรือนเครื่องผูก, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  31. เครื่องราง : น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล.
  32. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  33. เครื่องสังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัด ถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ.
  34. เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  35. เคว้ง : [เคฺว้ง] ว. คว้าง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า เคว้งคว้าง หรือ คว้างเคว้ง ก็มี.
  36. เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
  37. เคี้ยว ๒ : ว. คด เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา คด เป็น คดเคี้ยว.
  38. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  39. โครงสร้าง : น. ส่วนประกอบสําคัญ ๆ ซึ่งนำมาคุมเข้าด้วยกันให้เป็น รูปร่างเดียวกัน.
  40. ฆาต, ฆาต- : [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลอง เร่งกองรบ. (อภัย).
  41. งดเว้น : ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา.
  42. งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
  43. งาน ๑ : น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการ เป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่.
  44. งามแงะ : (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะ ว่าเล่นหรือว่าจริง.(สังข์ทอง).
  45. งาสาน : (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสีว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและ สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า 'คามวาสี อรัญวาสี' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทอง และเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสานเป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี.
  46. งำ : ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา.
  47. เง่า : ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า.
  48. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  49. เงินผ่อน : น. เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ.
  50. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2541

(0.1298 sec)