Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก่งกล้า, เก่ง, กล้า , then กง, กงกลา, กลา, กล้า, เก่ง, เก่งกล้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก่งกล้า, 298 found, display 151-200
  1. พลว : [พะละวะ] ว. มีกําลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกําลังกล้า. (ป.).
  2. พอใช้ : ว. ใช้ได้ เช่น คะแนนพอใช้; ปานกลาง, พอสมควร, เช่น มี ฐานะดี พอใช้รวยพอใช้เก่งพอใช้; เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่นมีเงินพอใช้ทั้งเดือน, พอใช้พอสอย ก็ว่า.
  3. พอดู : ว. เอาการ, ค่อนข้างมากทีเดียว, เช่น เก่งพอดู.
  4. พ่อลิ้นทอง : (ปาก) น. คนที่พูดดี พูดเก่ง หรือพูดคล่องน่าฟัง.
  5. พอสมควร : ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
  6. พะอืดพะอม : ว. อาการที่รู้สึกคลื่นไส้; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จะตัดสินใจ อย่างไรดี, ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเด็ดขาดลงไป, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็ว่า.
  7. พิระ : น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
  8. พิริย, พิริยะ : [พิริยะ] น. ความหมั่น, ความกล้า; คนกล้า, คนแข็งแรง, นักรบ. (ป. วิริย; ส. วีรฺย ว่า ความหมั่น, ความกล้า).
  9. พิริยโยธา : น. พลรบผู้กล้าหาญ. (ป. วิริย + โยธา).
  10. พีร : [พีระ] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
  11. เพชรตัดเพชร : (สํา) น. คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน.
  12. เพียร : น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ, บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).
  13. ฟันดาบ : น. การต่อสู้กันด้วยดาบ เช่น เขาเก่งในทางฟันดาบ.
  14. ภุส : [พุด] น. ข้าวลีบ, แกลบ. (ป.; ส. พุส). ว. กล้า, ยิ่ง, มาก. (ส. ภฺฤศ).
  15. มอบ ๒ : น. เครื่องสานสําหรับสวมปากวัวปากควายเพื่อกันไม่ให้กินต้นกล้าและสวมปากม้า เพื่อกันม้ากัด.
  16. ม้าน : ก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตาย เพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วย ความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.
  17. มือกาว : ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า, ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของ เผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูก ไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.
  18. แมวมอง : น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
  19. ไม่กี่น้ำ : (ปาก) ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก.
  20. ยกหางตัวเอง : (สํา) ก. ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง.
  21. ยรรยง : [ยัน] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.
  22. ยวดยง : ว. เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด.
  23. ย้อมใจ : ก. ชุบใจ, ทําให้ใจชุ่มชื่น, ปลุกใจให้กล้า เช่น กินเหล้าย้อมใจ.
  24. ย่ำเทือก : ก. ยํ่าดินโคลนพื้นนาที่จะตกกล้าให้อ่อนเหลว, ย่ำขี้เทือก ก็เรียก.
  25. ยึกยัก : ก. ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. ว. อาการที่ลังเลไม่กล้า ตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า.
  26. เยาะ : ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความ ด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
  27. ร้องไห้ : ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น เจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำ ร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้.
  28. ระย่อ : ก. ขยาด, ครั่นคร้าม, ไม่กล้าสู้, ไม่มีกำลังใจจะสู้.
  29. รู้การรู้งาน : ก. ทำงานเก่ง เช่น คนรู้การรู้งาน ทำงานอะไร ๆ ก็เรียบร้อย.
  30. รู้หาญรู้ขลาด : (สํา) ก. กล้าในที่ควรกล้า กลัวในที่ควรกลัว.
  31. ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
  32. ลาญ : ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).
  33. ลูกผู้ชาย : น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.
  34. เล่นการเมือง : ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม.
  35. เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
  36. วัชรธาตุมณฑล : [ทาตุมนทน, ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทาง ปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  37. วิกรานต์ : [วิกฺราน] ว. กล้าหาญ, มีชัยชนะ, ก้าวหน้า. (ส. วิกฺรานฺต).
  38. วิร, วิระ : [วิระ] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
  39. วิริยภาพ : น. ความเพียร, ความบากบั่น; ความกล้า.
  40. วิริยะ : น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  41. วิสารทะ : [ระ] ว. แกล้วกล้า, ชํานาญ, ฉลาด. (ป.).
  42. วีร : [วีระ] ว. กล้าหาญ. (ป., ส.).
  43. วีรกรรม : [วีระกำ] น. การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทําของผู้กล้าหาญ.
  44. วีรชน : [วีระชน] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  45. วีรบุรุษ : [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ). วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  46. เวสารัช : น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
  47. ไว้ลาย : ก. แสดงความกล้าหาญหรือความสามารถอันเป็นลักษณะ พิเศษของตนฝากไว้ให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย.
  48. ศัสยะ : [สัดสะยะ] น. ข้าวกล้า. (ส.; ป. สสฺส).
  49. ศิษย์ก้นกุฏิ : [กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิ ตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึง ศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
  50. ศิษย์มีครู : (สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-298

(0.0693 sec)