Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กัด , then กด, กตฺ, กัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กัด, 301 found, display 51-100
  1. กำกัด : ก. จํากัดเข้า, จํากัดให้แคบเข้า.
  2. กุณฑี : [-ที] น. คนที, หม้อน้ำ, หม้อน้ำมีหู, เต้าน้ำ, เช่น พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้. (โลกนิติ). (ป., ส.).
  3. แกรนิต : [แกฺร-] น. หินอัคนีชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหินเขี้ยวหนุมาน หินฟันม้า และแร่กลีบหินเป็นส่วนใหญ่ มีหลายสี ขัดให้เป็นเงาได้ กรดไม่กัด แข็งและทนทานมาก. (อ. granite).
  4. ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
  5. ขยอก ๑ : [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทําลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอก หุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สําหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
  6. ขย้ำ : [ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วย วาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.
  7. ขอบเขต : น. อาณาเขต, ขอบข่าย, ข้อจํากัด.
  8. ขาดค่า : ก. จํากัดราคาตายตัว.
  9. ขาดตัว : ว. จํากัดราคาคงที่ไม่เพิ่มไม่ลด, จํากัดราคาตายตัว.
  10. แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
  11. ไข้จับสั่น : น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการ หนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. (อ. malarial fever, malaria, paludism).
  12. ไข้เลือดออก : น. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด มักเกิด แก่เด็ก มีอาการเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจํ้า ๆ. (อ. haemorrhagic fever).
  13. คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
  14. โควตา : [โคฺว-] น. การจํากัดจํานวนโดยวางกฎเกณฑ์ไว้. (อ. quota).
  15. งับ : ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่ อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
  16. แง่ง ๒, แง่ง ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น.
  17. แง่น : ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา). แง่น ๆ ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
  18. จับสั่น : น. ชื่อไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้จับสั่น หรือ ไข้มาลาเรีย ก็เรียก. (อ. malaria fever, malaria, paludism).
  19. จำกัด : ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
  20. จำกัดจำเขี่ย : ก. จํากัดจนที่สุด, ใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด, กระเบียดกระเสียร.
  21. จิ้งหรีด : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลําตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้าง ของลําตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็น ชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับ ทําเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทํา เสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดํา (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก. จิ้งหรีดผี ดู แอ้ด.
  22. จุลกฐิน : น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทํา อย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  23. เจ่า ๒ : ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
  24. เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
  25. ชักสองแถว : ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดํา ขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
  26. เช่าทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
  27. ไซ ๒ : น. ชื่องูชนิด Enhydris bocourti ในวงศ์ Colubridae ตัวอ้วนสั้น หัวโต อาศัยตามริมน้ำหรือในน้ำเพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก มีพิษอ่อนมากและไม่ปรากฏปฏิกิริยาต่อผู้ถูกกัด.
  28. ด้วง ๑ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลําตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อ พับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับจะซ้อน เข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
  29. ด่าง ๑ : น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  30. ต่อ ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่น บางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กใน สําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง
  31. ตอด ๑ : ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
  32. ตะขาบ ๑ : น. ชื่อสัตว์ที่มีลําตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลําตัวยาวแบน หรือค่อนข้างแบน มีจํานวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไป จนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุด ท้ายขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้าน ข้างของลําตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรกบางชนิดมีนํ้าพิษ ทําให้ ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (Scolopendra morsitans) ในวงศ์ Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.
  33. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  34. ตั๊กแตน : [ตั๊กกะ-] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือ ไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ คู่แรกค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างใหญ่ พับไป อยู่ใต้ปีกคู่แรกได้ ปากเป็นชนิดกัดกิน อกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้นก็มี ขาอาจ เหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี (Aularchis miliaris) ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตําข้าว (เช่น ชนิด Hierodula membranaceus) ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ (เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium) ในวงศ์ Phasmidae.
  35. ถอดสี : ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
  36. ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป : ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จํากัด เช่น กฎทั่วไป, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
  37. ทุ่นระเบิด : น. เครื่องกีดขวางที่มีอํานาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอย ประจําอยู่ใต้นํ้าเพื่อทําลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทาง ทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณา บริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจํากัดการ เคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่น ระเบิด, เรียกลักษณะการทําลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.
  38. เท่านั้น : ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดง จํานวนจํากัดจําเพาะ.
  39. แทะ : ก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทํามาหากิน มาคอยแทะเงินพ่อแม่.
  40. ไท ๑ : (โบ) น. ไทย เช่น ปีโถะหนไทกัดเหมา. (จารึกสยาม).
  41. ธนบัตร : [ทะนะบัด] (กฎ) น. บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน. (ส. ธน + ปตฺร).
  42. ธนาคาร : น. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจํากัด หรือ บริษัท มหาชนจํากัด ที่ใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).
  43. น้ำมันหม่อง : น. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวด เนื่องจากแมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.
  44. นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
  45. นิยาม : [ยาม] (แบบ) น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
  46. บรรษัท : [บันสัด] (แบบ; แผลงมาจาก บริษัท) น. หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกัน เข้าหุ้นส่วนทําการค้าขาย; (กฎ) นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับ บริษัทจํากัด ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).
  47. บริคณห์สนธิ : (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจํากัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัท จํานวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทําขึ้นตามข้อกําหนดของ กฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจํากัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  48. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ : (กฎ) น. บริษัทจํากัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อันได้แก่ การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับ จํานองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปรกติหรือประกอบธุรกิจการรับ ซื้อฝาก หรือกิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
  49. บริษัทจำกัด : ( (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวน เงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  50. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300

(0.0310 sec)