ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
ลุแก่อำนาจ, ลุอำนาจ : ก. ตกอยู่ในอำนาจ, ใช้อำนาจ, เช่น ลุอำนาจโทสะ.
ลูกไก่อยู่ในกำมือ : (สํา) น. ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือ ทางต่อสู้.
ลูกจ้าง : น. ผู้รับจ้างทําการงาน; (กฎ) ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้าง โดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.
ลูกดิ่ง : น. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึก ของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกําแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่; ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสําหรับตกกุ้ง; ตะกั่ว ก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็น อาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้าย ดอกจําปาของว่าวจุฬา.
ลูบอก : ก. อาการที่แสดงความตระหนกตกใจหรือแปลกใจมาก เป็นต้น เช่น พอรู้ว่าลูกสอบตกแม่ถึงกับลูบอก.
เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
โลกบาล : [โลกกะ] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่ รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าว จัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลก ด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือ จอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).
วนอุทยาน : น. ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีนํ้าตก ถํ้า และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน.
วัฏกะ : [วัดตะกะ] น. นกกระจาบ. (ป. วฏฺฏก; ส. วรฺตก).
วันสงกรานต์ : น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่ง กำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน.
วัสนะ : [วัดสะนะ] (แบบ) น. ฝนตก. (ป. วสฺสน; ส. วรฺษณ).
ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
วิ่งรอก : ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่ วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอก ทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทําให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือ นักแสดง เป็นต้น ไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือ คืนเดียวกันให้ทันกําหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวน หาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
วิจยุต : [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
วิตกจริต : [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้าย ทางเสีย. (ป.).
วินตกะ :
[วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
วินิปาติก. : น. ผู้ตกอยู่ในอบาย, ผู้ถูกทรมาน. (ป.).
วิลาด, วิลาศ : ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียก ชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
วิศาข, วิศาขะ, วิศาขา ๑ : น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปี อธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
วิสัยทัศน์ : น. การมองการณ์ไกล, วิทัศน์. (อ. vision). วิสาข, วิสาขะ ๒, วิสาขา [วิสาขะ] น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ป.).
เว้นแต่ : สัน. นอกจาก, ยกเว้น, เช่น ฉันจะไป เว้นแต่ฝนตก.
เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
ศีลอด : [สีน] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไร เลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลาม นับแบบจันทรคติ.
สงกรานต์ ๑ : [กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตาม สุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวัน มหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ).
สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
สถานการณ์ฉุกเฉิน : (กฎ) น. สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ ในภาวะคับขัน หรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
สนธยา : [สนทะ] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลา ที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือ พระอาทิตย์ตก. (ส.).
สนาดก : [สะนา] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).
สภาวการณ์ : น. เหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น บ้านเมืองตก อยู่ในสภาวการณ์เดือดร้อนเพราะภัยธรรมชาติ.
สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
สมน้ำหน้า : ว. คําแดกดันหรือซํ้าเติมว่าควรได้รับผลร้ายเช่นนั้น เช่น ขี้เกียจท่องหนังสือ สอบตกก็สมน้ำหน้า, (ปาก) สม ก็ว่า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
สรสรก : [สะระสก] ว. โซก, ซ่ก, โชก, เช่น แล้วมันก็เชือดเอาหัวใจนาง เลือดตก พลางสรสรก แล่นฉวยฉกหาไปบอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).
สลัด ๑ : [สะหฺลัด] น. ชื่อยําชนิดหนึ่งตามแบบชาวตะวันตก ประกอบด้วย ผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด สลัดมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก สลัดเนื้อสัน สลัดแขก.
สลัดผลไม้ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้ หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้ โรยหน้าไอศกรีม.
สลาตัน : [สะหฺลา] น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝนว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มี กําลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยาย ใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็ว อย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. (เทียบ ม. selatan ว่า ลมใต้).
สลุบ : [สะหฺลุบ] น. เรือใบเดินทะเลชนิดหนึ่งแบบชาวตะวันตก. (อ. sloop).
สอบซ่อม : ก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก.
สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
สัญชาติ : [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
สัตสดก : [สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหา ทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).
สัปดสดก : [สะดก] น. หมวดละ ๑๐๐ ๗ หมวด. (ส. สปฺตสตก).
หนี้เกลื่อนกลืนกัน : (กฎ) น. หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุที่สิทธิและความ รับผิดในหนี้นั้นตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน.
หมกไหม้ : ว. ร้อนระอุ เช่น ตกนรกหมกไหม้, มีความทุกข์มาก เช่น หัวอกหมกไหม้.
หมั้น : ก. มอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย. น. (กฎ) การที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้ แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้น ตกเป็นสิทธิแก่หญิง; เรียกของที่มอบให้นั้นว่า ของหมั้น, ถ้าเป็นทอง เรียกว่า ทองหมั้น, ถ้าเป็นแหวน เรียกว่า แหวนหมั้น, ผู้ที่หมั้นกันแล้ว เรียกว่า คู่หมั้น.
หมายหน้า : ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตก แน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.