Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเคารพ, เคารพ, ความ , then ความ, ความเคารพ, คารพ, เคารพ, เคารว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเคารพ, 3319 found, display 1001-1050
  1. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  2. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  3. ทิพยจักษุญาณ : น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. ?าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุ?าณ).
  4. ทิพยญาณ : น. ความรู้เป็นทิพย์.
  5. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  6. ที่จริง : ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความ แสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  7. ที่ดิน : น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมาย ความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
  8. ทีท่า : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
  9. ที่ปรึกษา : น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  10. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  11. ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  12. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  13. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  14. ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  15. ทุกขนิโรธ : [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๓. (ป.).
  16. ทุกขลาภ : [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
  17. ทุกขเวทนา : [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
  18. ทุกข์สุข : น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
  19. ทุกขารมณ์ : น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
  20. ทุกฏ : [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจําพวกหนึ่งในอาบัติ ทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
  21. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  22. ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  23. ทุคติ : [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลําบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
  24. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  25. ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  26. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  27. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  28. ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
  29. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  30. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  31. ทุรกันดาร : ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
  32. ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
  33. ทุเรศ : (ปาก) คําพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือ เป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.
  34. ทู่ : ว. ไม่แหลม (ใช้แก่ของที่มีลักษณะยาวแหลม แต่ขาดความแหลมไป เพราะความสึกกร่อนด้วยการใช้เป็นต้น) เช่น ดินสอทู่ เข็มทู่.
  35. ทูนหัว : น. คำพูดแสดงความรักใคร่หรือยกย่อง เช่น พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว.
  36. เทคโนโลยี : น. วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. (อ. technology).
  37. เทพี ๑ : น. เทวี, เรียกหญิงที่ทําหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนา ว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.
  38. เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
  39. เทวนิยม : น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความ เป็นไปในโลก. (อ. theism).
  40. เทวรูป : น. รูปเทพเจ้าหรือเทวดาที่เคารพนับถือ.
  41. เทววิทยา : น. วิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้า กับโลก. (อ. theology).
  42. เทวษ : [ทะเวด] น. การครํ่าครวญ, ความลําบาก. (ส.).
  43. เทศน์แจง : น. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก.
  44. เทอญ : [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็น ดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
  45. เทอร์โมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ อาจประกอบด้วยปรอท แอลกอฮอล์ แก๊ส หรือโลหะเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนํา ไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. (อ. thermometer).
  46. เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
  47. เท่านั้น : ว. แค่นั้น, เพียงนั้น, ขนาดนั้น, เป็นคําเน้นความแสดง จํานวนจํากัดจําเพาะ.
  48. เทิดทูน : ก. ยกย่อง, เชิดชูไว้เป็นที่เคารพ.
  49. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  50. เที่ยงธรรม : ว. ตั้งตรงด้วยความเป็นธรรม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3319

(0.1497 sec)