Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเคารพ, เคารพ, ความ , then ความ, ความเคารพ, คารพ, เคารพ, เคารว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเคารพ, 3319 found, display 1251-1300
  1. บากบั่น : ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลําบาก.
  2. บากหน้า : ก. ยอมเสียหน้าเข้าไปขอความช่วยเหลือด้วยความจําใจ จําเป็น.
  3. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  4. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  5. บาทบูรณ์ : [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมี ความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  6. บ้านนอก : น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอก ตัวเมือง. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
  7. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  8. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  9. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  10. บาร์ ๑ : (อุตุ) น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร; (ธรณี) หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ต่อ วินาที. (อ. bar).
  11. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  12. บาร์เรล : น. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตร นํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน. (อ. barrel).
  13. บารอมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ อาจประกอบด้วย ปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความ สะดวกที่จะนําไปใช้. (อ. barometer).
  14. บ้าสมบัติ : ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด, ที่ชอบสะสม สิ่งของต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจําเป็น.
  15. บำนาญ : น. เงินตอบแทนที่ได้ทํางานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน จนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบํานาญ; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน.
  16. บำเหน็จ : น. รางวัล, ค่าเหนื่อย, ค่าความชอบเป็นพิเศษ, เช่น ปูนบําเหน็จ, เงินตอบแทนที่ได้ทํางานมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียว เมื่อออกจากงาน.
  17. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  18. บิดขี้เกียจ : ก. บิดร่างกายไปมาเพราะความเกียจคร้านหรือเพื่อ แก้เมื่อยเป็นต้น.
  19. บิสมัท : น. ธาตุลําดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓?ซ. เป็นตัวนําความ ร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลาย ที่อุณหภูมิตํ่า. (อ. bismuth).
  20. บีบคั้น : ก. บีบบังคับให้ได้รับความลำบาก.
  21. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  22. บุญญาภินิหาร : น. ความปรารถนาอันแรงกล้าในความดี, บุญที่ให้สําเร็จได้ตาม ความปรารถนา. (ป. ปุญฺ?าภินิหาร).
  23. บุญ, บุญ- : [บุน, บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ?; ส. ปุณฺย).
  24. บุญฤทธิ์ : [บุนยะ-] น. ความสําเร็จด้วยบุญ.
  25. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  26. บุ่มบ่าม : ว. ที่ขาดความยับยั้งไม่เกรงใจใคร.
  27. บูชนียสถาน : [บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่ง เป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.
  28. บูรณภาพ : น. ความครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น บูรณภาพแห่งดินแดน บูรณภาพแห่งอาณาเขต.
  29. เบญจธรรม : น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวม ในกาม สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
  30. เบน : ก. เหหรือทําให้เหไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น หัวเรือเบน เบนหัวเรือ เบนความคิด เบนความสนใจ.
  31. เบาปัญญา : ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
  32. เบามือ, เบาไม้เบามือ : ก. ทําเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทําไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทํางานมาก. ว. ที่ออก แรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.
  33. เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป – อาคม = มา.
  34. เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
  35. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  36. แบก : ก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า เช่น แบกของ แบกปืน, โดย ปริยายหมายความว่า รับภาระหนัก, มีความรับผิดชอบมาก, เช่น แบกภาระเข้าไว้มาก แบกงานไว้มาก.
  37. แบไต๋ : (ปาก) ก. ตีแผ่ หรือเปิดเผยความลับหรือความในใจออกมา.
  38. ใบพัด : น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้ หมุนได้ สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือ เป็นต้น ให้ เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
  39. ใบลา : น. เอกสารแสดงความจํานงขอลางาน.
  40. ใบสำคัญ : น. เอกสารที่รับรองข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หรือสิทธิ. ใ
  41. ใบสุทธิ : น. เอกสารแสดงวิทยฐานะและความประพฤติเป็นต้นของ บุคคลผู้ถือเมื่อลาออกหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียน.
  42. ปกปิด : ก. ปิดไม่ให้รู้หรือไม่ให้เห็น, ปิดไว้เป็นความลับ.
  43. ปฏิฆะ : (แบบ) น. ความคับแค้น, ความกระทบกระทั่ง, ความขึ้งเคียด (โทสะ). (ป.).
  44. ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
  45. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  46. ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
  47. ปฏิปทา : [-ปะทา] น. ทางดําเนิน; ความประพฤติ. (ป.).
  48. ปฏิภาณกวี : [ปะติพานนะกะวี, ปะติพานกะวี] น. กวีผู้มีความ สามารถในการใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด.
  49. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  50. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3319

(0.1483 sec)