Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเคารพ, เคารพ, ความ , then ความ, ความเคารพ, คารพ, เคารพ, เคารว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเคารพ, 3319 found, display 2251-2300
  1. เล่นกล : น. การแสดงที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริง, โดยปริยายหมาย ความว่า หลอกลวงเอา เช่น โดนคนเล่นกลเอาทองเก๊มาแลกกับ ทองจริง.
  2. เล่นคำ : ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
  3. เล่นเงา : ก. ใช้มือบังแสงให้เกิดเงาเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสนุก.
  4. เล่นแง่ : ก. หาแง่มาขัดขวางไม่ให้เป็นไปอย่างสะดวกเพื่อเอาเปรียบ หรือแสดงว่าตนเหนือกว่า เช่น เล่นแง่ในทางกฎหมาย. เล่นจัญไร, เล่นระยำ, เล่นอัปรีย์, เล่นอุบาทว์ ก. กระทำสิ่งที่ชั่วช้า ไม่เป็นมงคลเพื่อความสนุกเป็นต้น.
  5. เล่นพิเรนทร์, เล่นวิตถาร, เล่นอุตริ : ก. กระทำสิ่งที่นอกลู่นอกทาง หรือนอกรีตนอกรอยเพื่อความสนุกเป็นต้น เช่น เล่นอุตริเอาน้ำ สกปรกมาสาดในงานสงกรานต์.
  6. เล่นแร่แปรธาตุ : ก. พยายามทําโลหะที่มีค่าตํ่าเช่นตะกั่วให้กลายเป็น ทองคําตามความเชื่อแต่โบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สับเปลี่ยน ของที่มีราคาให้เป็นของที่มีราคาต่ำกว่า.
  7. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  8. เลยเถิด : ว. เกินความพอดีไป เช่น ล้อเล่นกันจนเลยเถิด กลายเป็น ลามปาม.
  9. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  10. เละเทะ : ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ; มีความประพฤติเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เช่น คนกินเหล้า เมายาเป็นคนเละเทะ เชื่อถือไม่ได้, มีความประพฤติเป็นที่น่ารังเกียจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น ผู้หญิงคนนั้นทำตัวเละเทะ.
  11. เล่าเรียน : ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหา ความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
  12. เล้าโลม : ก. กอดจูบลูบคลำแสดงความรัก, พูดปลอบโยนให้โอนอ่อนตาม, โลมเล้า ก็ว่า.
  13. เลิกคิ้ว : ก. ยกคิ้วขึ้นแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  14. เลินเล่อ : ก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทํา เช่น เด็กคนนี้ เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความ ระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.
  15. เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
  16. เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
  17. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  18. เลียบค่าย : ก. ตรวจดูความเรียบร้อยของกองทัพ, ส่งคนไปลาด ตระเวนดูกำลังข้าศึก.
  19. เลี่ยม ๑ : ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย หรือ หุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วยชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น ปกปิดตําหนิ หรือ เพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน เลี่ยมถ้วย.
  20. เลี่ยมฟัน : ก. ใช้โลหะเช่นทอง นาก หุ้มฟันเพื่อความสวยงามเป็นต้น.
  21. เลื่องลือ : ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ เป็นที่เลื่องลือ.
  22. เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ : (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมี ความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่.
  23. เลือดชั่ว : น. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง. เลือดโชก, เลือดท่วมตัว, เลือดสาด, เลือดอาบ น. เลือดออกมาก.
  24. เลือนราง : ว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนราง ไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.
  25. เลื่อนลอย : ว. ไม่คงที่, ไม่แน่นอน, เช่น ความฝันเลื่อนลอย พูดจา เลื่อนลอยไม่มีหลักฐาน สติเลื่อนลอย ข้อกล่าวหาเลื่อนลอย.
  26. เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
  27. เลื่อมใส : ก. มีความเชื่อถือ เช่น เลื่อมใสศาสนา, มีจิตยินดี, เห็นชอบด้วย, เช่น เลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เลื่อมใสในแนวการประพฤติปฏิบัติ ของเขา.
  28. แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
  29. แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
  30. แล้วกัน : (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไป เมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
  31. แล้วไป : (ปาก) ก. เสร็จสิ้นไป, ช่างปะไร, (มักพูดแสดงความไม่พอใจ) เช่น ไม่ทำก็แล้วไปให้กินแล้วไม่กินก็แล้วไป.
  32. แลเหลียว : ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มี ใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
  33. โล่ ๒ : น. เครื่องปิดป้องศัตราวุธ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทําด้วยโลหะหรือหนังดิบ ด้านหลังมีที่จับ, มักใช้คู่กับดาบหรือหอก, โดยปริยายหมายถึงการเอา คนหรือสิ่งอื่นต่างโล่เพื่อกันความเสียหายแก่ตัว; สิ่งที่มีลักษณะคล้าย คลึงโล่สําหรับมอบแก่ผู้ชนะการแข่งขันกีฬาเป็นต้น.
  34. โลกวัชชะ : [โลกะ–] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหาย เหมือนกัน เช่น ทําโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).
  35. โลกสถิติ : [โลกะ–] น. ความเป็นอยู่ของโลก. (ส.).
  36. โลกานุวัตร : น. ความประพฤติตามโลก. (ป. โลกานุวตฺต; ส. โลกานุวฺฤตฺต).
  37. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  38. โลกาวินาศ : ว. สูญสิ้นความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์ห้าม ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็น โลกาวินาศ ทั้งนี้ตลอดปีนั้น, ตรงข้ามกับ อธิบดี.
  39. โลกียวัตร : น. ความเป็นไปของสามัญชน. (ป. โลกิย + วตฺต).
  40. โลกียสุข : น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การ ดูมหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง.
  41. โล่งอกโล่งใจ : ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ.
  42. โลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอกดีใจ เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
  43. โลดแล่น : ก. อาการที่กระโดดวิ่งถลาไปด้วยความตื่นเต้นดีอกดีใจเป็นต้น.
  44. โลภ : น. ความอยากได้ไม่รู้จักพอ. (ป., ส.).
  45. โลมเล้า : ก. กอดจูบลูบคลำแสดงความรัก, พูดปลอบโยนให้ โอนอ่อนตาม, เล้าโลม ก็ว่า.
  46. โลลุป : [โลลุบ, โลลุบปะ] ว. ที่มีความกระหาย, ที่มีความอยากได้. (ป., ส.).
  47. โลห–, โลหะ : [โลหะ–] น. ธาตุที่ถลุงจากแร่แล้ว เช่น เหล็ก ทองแดง ทองคํา; (วิทยา) ธาตุซึ่งมีสมบัติสําคัญคือ เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อนที่ดี มีขีดหลอมเหลวสูง ขัดให้เป็นเงาได้ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็น เส้นลวดได้ เมื่อนํามาเคาะมีเสียงดังกังวาน เมื่ออยู่ในสภาพไอออน จะเป็นไอออนบวก.
  48. ไล่ ๑ : ก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออก จากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.
  49. ไล่บาลี : ก. สอบความรู้ภาษาบาลี, โดยปริยายหมายความว่า ลองภูมิ, ไล่ภูมิ.
  50. ไล่ภูมิ : ก. ซักถามเพื่อสอบพื้นความรู้. ไล่มาติด ๆ
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | [2251-2300] | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3319

(0.1524 sec)