Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเคารพ, เคารพ, ความ , then ความ, ความเคารพ, คารพ, เคารพ, เคารว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเคารพ, 3319 found, display 251-300
  1. ก่อกรรมทำเข็ญ : ก. ก่อความเดือดร้อนให้ร่ำไป.
  2. ก่อกวน : ก. ก่อให้เกิดความรําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้.
  3. กะโผลกกะเผลก : [-โผฺลก-เผฺลก] ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับ กับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความ ลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า.
  4. กะล่อมกะแล่ม : ก. เคี้ยวไม่ทันแหลกแล้วรีบกลืน, เคี้ยวไม่ถนัด; พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป; กล้อมแกล้ม ก็ว่า.
  5. กะโล่ : น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้น้ารั่วออก สําหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้น แล้วหุ้มผ้าหรือทําด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่. (รูปภาพ กะโล่)
  6. กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
  7. กักกัน : ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทํา ความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
  8. กังขา : น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป.).
  9. กังฟู : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบหนึ่งของจีน เน้นหนักไป ในทางฝึกสมาธิและความแข็งแกร่งว่องไวของร่างกาย.
  10. กัดฟัน : ก. เอาฟันต่อฟันกดกันไว้แน่น เป็นอาการแสดงถึง ความอดกลั้น, โดยปริยายหมายความว่า มานะ; ขบฟันใน เวลานอนหลับ.
  11. กันแดด : น. ชื่อหมวกชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ก๊อกหรือไม้ฉำฉาหรือไม้โสน หุ้มด้วยผ้า, หมวกกะโล่ ก็เรียก. ว. ที่ลดความเข้มของแสง เช่น แว่นกันแดด หมวกกันแดด.
  12. กับ ๒ : เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือ เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
  13. กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
  14. กัลป-, กัลป์ : [กันละปะ-, กัน] น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑,๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะ ไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ส.; ป. กปฺป).
  15. กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
  16. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  17. กาบู : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทน มากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย ก็เรียก.
  18. กาม, กาม- : [กามมะ-] น. ความใคร่, ความใคร่ทางเมถุน. (ป., ส.).
  19. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  20. กามฉันท์ : น. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
  21. กามตัณหา : น. ความอยากในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
  22. กามเทพ : น. เทพเจ้าแห่งความรัก. (ป.).
  23. กามราค, กามราคะ : [กามมะราก, กามมะ-] น. ความกําหนัดในกาม. (ป., ส.).
  24. กามวิตก : น. ความครุ่นคิดในกาม, ความคิดคำนึงในทางกาม. (ป.).
  25. กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
  26. กามินี : น. หญิง เช่น จงกามินีปน รสร่วม กันนา. (ลอ). (ป. ว่า หญิงมีความใคร่).
  27. กาโมทย : [-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
  28. กายทุจริต : [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
  29. กายภาพบำบัด : น. การรักษาโรคโดยอาศัยวิธีการทางฟิสิกส์ แทนการใช้ยา เช่น โดยการนวด การฉายรังสี การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้กระแสน้ำ ความร้อน หรือการออกกําลังกาย. (อ. physical therapy).
  30. กายสิทธิ์ : ว. มีฤทธิ์เดชต่าง ๆ อยู่ในตัว. กายสุจริต [กายยะสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิด ในกาม ๑.
  31. -การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
  32. -การ ๓ : คําประกอบท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
  33. การกลั่นทำลาย : น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์ โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลาย ขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
  34. การนำ : (ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนํา หรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุ โดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจาก โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.
  35. การละเล่น : น. มหรสพต่าง ๆ, การแสดงต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง.
  36. การุญ, การุณย์ : [การุน] น. ความกรุณา. (ป., ส.).
  37. กาลกิริยา : [กาละ-, กาน-] น. ความตาย เช่น ถึงซึ่งกาลกิริยา. (ป.).
  38. กาลเทศะ : [กาละ-] น. เวลาและสถานที่; ความควรไม่ควร. (ส.).
  39. กาลักน้ำ : น. เครื่องมืออย่างง่ายซึ่งอาศัยความดันของอากาศเพื่อใช้ ถ่ายเทของเหลวออกจากภาชนะ โดยใช้หลอดหรือท่อที่ใช้ถ่ายเท ของเหลวจากระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่ต่ากว่า โดยไหลผ่านระดับ ที่สูงกว่าระดับทั้ง ๒ นั้น. (อ. siphon).
  40. กาลัญญุตา : [กาลันยุตา] น. ความเป็นผู้รู้กาล. (ป.).
  41. กำกวม ๒ : ว. เคลือบคลุม, คลุมเครือ, มีความหมายได้หลายนัย.
  42. กำกับ : ก. ดูแล, ควบคุม; ควบ ในความเช่น มีหนังสือกํากับมาด้วย.
  43. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  44. กำนัล ๑ : ก. ให้ของกันด้วยความนับถือ.
  45. กำแพงเจ็ดชั้น ๑ : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  46. กำลัง ๑ : น. แรง, สิ่งที่ทําให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง.
  47. กำลัง ๒ : น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกําลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกําลัง ; (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.
  48. กำลังใจ : น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
  49. กำลังเทียน : (ฟิสิกส์) น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่าง ของแหล่งกําเนิดแสง, แรงเทียน ก็ว่า, ปัจจุบันใช้หน่วยแคนเดลา.
  50. กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3319

(0.1456 sec)