Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสะดวก, สะดวก, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสะดวก, 3349 found, display 3101-3150
  1. อรหัต, อรหัต : [อะระหัด, ออระหัด, อะระหัดตะ, ออระหัดตะ] น. ความเป็น พระอรหันต์. (ป. อรหตฺต; ส. อรฺหตฺตฺว).
  2. อราดี, อราติ : น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ. (ป. อรติ). (ดู อรดี).
  3. อริยมรรค : น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทาง ดําเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
  4. อริยสัจ : น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อ ธรรมสําคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  5. อลังการศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรส และความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก.
  6. อวเคราะห์ : [อะวะเคฺราะ] น. อุปสรรค, เครื่องกีดขวาง; ความเหนี่ยวรั้ง. (ส. อวคฺรห; ป. อวคฺคห).
  7. อวชัย : [อะวะ] น. ความเอาไว้ในเงื้อมมือ, การปราบปราม. (ป., ส.).
  8. อวด : ก. สําแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นําออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่อง ต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติ เช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  9. อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
  10. อวมอำ : [อวม] (โบ) ว. ที่ปิดบังความจริง (ใช้แก่กริยาพูด), อำอวม ก็ว่า.
  11. อวัสดา : [อะวัดสะดา] น. ฐานะ, ความเป็นอยู่; เวลา, สมัย. (ส. อวสฺถา; ป. อวตฺถา).
  12. อวิชชา : [อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.).
  13. อวิญญู : ว. โง่, ไม่มีความรู้. (ป.).
  14. อวิหิงสา : น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).
  15. อสรพิษ : [อะสอระ] น. สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึง คนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยา เป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).
  16. อสัญกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
  17. อสัญญี : ว. ไม่มีสัญญา, หมดความรู้สึก, สลบ. (ป.).
  18. อสุภกรรมฐาน : [กํามะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็น อารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของ สังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺ?าน).
  19. อหังการ : [อะ] น. การยึดว่าเป็นตัวเรา; ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ. ก. หยิ่ง, จองหอง, อวดดี. (ป., ส.).
  20. อหิงสา, อหึงสา : [อะ] น. ความไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทําร้าย. (ป., ส.).
  21. อเหตุกทิฐิ : [อะเหตุกะทิดถิ] น. ความเห็นว่าบาปบุญในโลกไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เป็นความเห็นของเดียรถีย์พวกหนึ่ง. (ป. อเหตุกทิฏฺ??).
  22. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  23. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  24. ออกนอกหน้า : ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการ ให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  25. ออกปาก : ก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้าน มาช่วยงาน; พูดเชิงตําหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
  26. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  27. ออกแรง : ก. ใช้กำลัง, ใช้แรงงาน, ใช้ความพยายาม, โดยปริยาย หมายความว่า วิ่งเต้นขอความช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์.
  28. ออกฤทธิ์ : ก. สําแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์; (ปาก) อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจ เป็นต้น, แผลงฤทธิ์ ก็ว่า.
  29. ออกลาย : (ปาก) ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจาก ที่แสร้งทําดีมาแล้ว.
  30. ออกเสียง : ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
  31. ออดแอด, ออด ๆ แอด ๆ : ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วย อยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
  32. อ้อม : ก. โอบรอบ, ตีวงโค้ง, เช่น อ้อมวงเวียน, ล้อม, ห่อหุ้ม, ในคำว่า ผ้าอ้อม. ว. ตรงข้ามกับ ตรง เช่น ทางตรง-ทางอ้อม โดยตรง-โดยอ้อม, ตรงข้าม กับ ลัด เช่น ลัดเกร็ด-อ้อมเกร็ด. น. วงรอบ เช่น อ้อมแขน อ้อมกอด, โดยปริยายหมายถึงความคุ้มครองอุปการะ ในคำว่า อ้อมอก, ขนาดของของกลม เช่น เสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขนทั้ง ๒ ข้างอ้อม เช่น เสา ๒ อ้อม ต้นไม้ ๔ อ้อม.
  33. อ๊ะ : ว. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  34. อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  35. อะร้าอร่าม ๑ : (โบ) ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, งกเงิ่นด้วยความห่วงใย.
  36. อักโกธะ : น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).
  37. อักขะ ๓ : [ขะ] น. ดวงตา; ความรู้สึก. (ป.; ส. อกฺษ).
  38. อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  39. อั้งยี่ : น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).
  40. อัจฉริยบุคคล : น. บุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเยี่ยมยอดมาแต่ กําเนิด.
  41. อัจฉริยภาพ : น. ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก.
  42. อัจฉริย, อัจฉริยะ : [อัดฉะริยะ] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).
  43. อัชฌา : [อัดชา] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน. (ตัดมาจาก อัชฌาสัย).
  44. อัชฌาจาร : [จาน] น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. (ป.).
  45. อัชฌาสัย : [ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  46. อัญเชิญ : ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐาน ในพระอุโบสถ. (ข. อญฺเชิญ).
  47. อัญดิตถีย์, อัญเดียรถีย์ : [ดิดถี, เดียระถี] น. พวกที่มีความเชื่อถือ อย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺ?ติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).
  48. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  49. อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  50. อัฏ : [อัดตะ] (แบบ) น. คดีความ. (ป. อฏฺฏ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | [3101-3150] | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3349

(0.1157 sec)