Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: วิ่ง , then พิ่ง, วง, วิ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : วิ่ง, 366 found, display 251-300
  1. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  2. เท้าแชร์ : น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
  3. ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
  4. ธรรมจักร : น. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทาง พระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).
  5. นมนาง ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus niloticus ในวงศ์ Trochidae ขนาดใหญ่กว่าหอยนมสาว เปลือกเป็นรูปกรวยแหลม พื้นผิวขรุขระ และเวียนเป็นวงขึ้นไปยังปลายยอด อาศัยอยู่ตามโขดหินและแนว ปะการัง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
  6. นมสาว ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus maculatus ในวงศ์ Trochidae เปลือกม้วนเป็นวง ฐานเปลือกใหญ่ ปลายแหลม ขนาดเล็กกว่าหอย นมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทําเป็นเครื่องประดับ.
  7. นาคปรก : [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาค แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่ง ประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกาย ไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
  8. นางหงส์ : น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปี่ชวาและ กลองมลายูสําหรับบรรเลงในงานศพ; ชื่อเพลงไทยชุดหนึ่ง ใช้ ประโคมศพ.
  9. น้ำเกิด : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและ ลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลา ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่าถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. น้ำขาว น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่ง เป็นเชื้อหมักไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
  10. น้ำตาย : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นและลงน้อย เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันสัมพันธ์ กับโลก นํ้าตายมี ๒ ช่วง คือ ช่วงกึ่งปักษ์แรก ระหว่างวันขึ้น ๕–๙ คํ่า และช่วงกึ่งปักษ์หลัง ระหว่างวันแรม ๕–๙ คํ่า.
  11. เนียง ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
  12. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  13. แน่นหน้าอก : ว. มีอาการจุกเสียดบริเวณทรวงอกทําให้หายใจไม่สะดวก.
  14. บริภัณฑ์ ๑ : [บอริพัน] น. วง, สิ่งแวดล้อม; เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขา พระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้นว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  15. บอด : ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
  16. บอล : น. ลูกกลมทําด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุม ทางสังคมที่มีลีลาศ รําวง เป็นหลักสําคัญ ว่า งานบอล.
  17. บังใบ ๑ : น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึก ลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบ หรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามา ประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  18. บานชื่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zinnia violacea Cav. ในวงศ์ Compositae ลําต้นกลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ดอกออกที่ยอด มีหลายสี เช่น ขาว แดง ม่วง ชมพู เหลือง.
  19. เบาเหวง, เบาโหวง : [-เหฺวง, -โหฺวง] ว. เบาจนเกือบไม่มีนํ้าหนัก.
  20. ปริมณฑล : [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล. (ป.).
  21. ปี่กลาง : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๗ เซนติเมตร กว้างราว ๔ เซนติเมตร.
  22. ปี่นอก : น. ปี่ที่เล็กที่สุดในบรรดาปี่ ๔ ชนิดที่ใช้ในวงปี่พาทย์ คือ ปี่นอก ปี่นอกต่ำ ปี่กลาง และปี่ใน ยาวราว ๓๑ เซนติเมตร หัวท้าย กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร.
  23. ปี่นอกต่ำ : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ มีรูปร่างคล้ายปี่นอก ยาวราว ๓๔ เซนติเมตร กว้างราว ๓.๕ เซนติเมตร.
  24. ปี่ใน : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก เป็นปี่ ขนาดใหญ่ที่สุด ยาวราว ๔๑-๔๒ เซนติเมตร กว้างราว ๔.๕ เซนติเมตร เป็นปี่ที่ใช้กันมากที่สุด.
  25. ปี่พาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยที่มีปี่ ฆ้อง กลอง ตะโพน ผสมกัน มีขนาดวงอยู่ ๓ ขนาด คือ ปี่พาทย์เครื่อง ๕ ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ เครื่องใหญ่, พิณพาทย์ ก็เรียก.
  26. ปี่พาทย์เครื่องคู่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  27. ปี่พาทย์เครื่องห้า : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
  28. ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และ ฆ้องโหม่งผสมด้วย, พิณพาทย์เครื่องใหญ่ ก็เรียก. ปี่อ้อ น. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็น ลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือ เงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.
  29. เป่ากบ : น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง โดยมีผู้เล่น ๒ คน ผลัดกันเป่า ยางรัดของวงเล็ก ๆ ให้เกยทับยางของฝ่ายตรงข้าม.
  30. เปิงมาง : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีหนังขึง ๒ หน้า ตรงกลางป่องเล็กน้อย ยาวประมาณ ๕๔ เซนติเมตร ใช้บรรเลงร่วมกับตะโพนในวง ปี่พาทย์ก็ได้ ใช้ตีนำกลองชนะในกระบวนเสด็จพยุหยาตรา หรือ ตีประโคมประจำพระบรมศพเป็นต้น, คนตีเปิงมางนำกลองชนะ เรียกว่า จ่ากลอง คู่กับคนเป่าปี่ซึ่งเรียกว่า จ่าปี่.
  31. โป๊ะ ๑ : น. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำ เป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริง ปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้า โป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับ จับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.
  32. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  33. พิณพาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
  34. พิณพาทย์เครื่องคู่ : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  35. พิณพาทย์เครื่องห้า : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก. พิณพาทย์เครื่องใหญ่ น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาด เอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้อง วงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้อง โหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
  36. พิศวง : [พิดสะหฺวง] ก. แปลกใจ, หลากใจ, เช่น ทำให้พิศวง; สงสัย, สนเท่ห์, เช่น น่าพิศวง.
  37. เพนียด : [พะเนียด] น. กรงต่อนกเขา; วงล้อมทําเป็นคอกสําหรับคล้องช้าง. (ข.).
  38. ฟันเฟือง : น. ล้อหรือวงจักรที่มีซี่โดยรอบ.
  39. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  40. มหาชัย : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในงานเกี่ยวกับเกียรติยศของบุคคลที่มาเป็นประธาน ในงานเช่นนายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคําปราศรัยจบลงก็ บรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสําคัญ งานสโมสร สันนิบาต เป็นต้น และในระหว่างงานดําเนิน ถ้าไม่มีดนตรีบรรเลงจะใช้เพลงมหาชัย เป็นครั้งคราวด้วยก็ได้, ปัจจุบันสํานักพระราชวังและข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกําหนด ให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัยรับและส่งเสด็จในพิธีการที่พระบรมวงศ์เสด็จเป็นประธาน และบรรเลงรับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และบรรเลง เป็นเพลงเคารพธงราชวงศ์เวลาผ่านหรือขึ้นลง นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ หรือ นายกรัฐมนตรี.
  41. มหาอุปรากร, อุปรากร : น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสําคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลง ผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากร ตัวละครทุกตัวจะร้องแทนพูด เนื้อเรื่องมีความจริงจัง หนักหน่วง ถือเป็นละครชั้นสูงของชาวตะวันตก. (อ. grand opera).
  42. มโหรี ๑ : น. วงดนตรีที่มีเครื่องผสมทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และมีผู้ขับร้องร่วมด้วย.
  43. มะกล่ำ : น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้าง หรือ มะกลํ่าต้น (Adenanthera pavonina L.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดงใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น; มะกลํ่าตาหนู หรือ มะกลํ่าเครือ (Abrus precatorius L.) เป็นไม้เถา ฝักแก่ไม่บิด เมล็ดสีแดงจุดดํา มีพิษ รากและใบใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กํ่าเคือ; อีกชนิดหนึ่งคือ มะกล่ำเผือก (A. fruticolosus wall. ex wight et Arnu.) คล้ายมะกล่ำตาหนูแต่เมล็ดสีขาว.
  44. มะงุมมะงาหรา : [-หฺรา] ก. เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหรา สำราญ. (อิเหนา). (ช.); (ปาก) ก. อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง, โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
  45. มะพร้าวทุย : น. ผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบา เพราะไม่มีเนื้อและนํ้า นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น.
  46. มือผี : น. ขาไพ่ตองที่เข้าเล่นพอให้ครบขาหรือครบวงไม่ต้อง ได้เสียด้วย.
  47. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  48. แม่เตาไฟ : น. ไม้สี่เหลี่ยมที่เป็นกรอบกรุดินสําหรับวางก้อนเส้า เกียง หรือเตาวง.
  49. แม่เพลง : น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.
  50. แม่ยก : น. หญิงที่เป็นผู้อุปถัมภ์พระเอกลิเกหรือนายวงดนตรีลูกทุ่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-366

(0.0434 sec)