Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ป่า , then บ่า, ปา, ป่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ป่า, 570 found, display 301-350
  1. มิค, มิค-, มิคะ : [มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).
  2. มิคลุท, มิคลุทกะ : [-ลุด, -ลุดทะกะ] น. พรานเนื้อ, คนที่ เที่ยวฆ่าสัตว์ในป่าเป็นอาชีพ. (ป. มิคลุทฺท, มิคลุทฺทก).
  3. มิลักขะ, มิลักขู : น. คนป่าเถื่อน. (ป.).
  4. มีดเหลียน : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนา และโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน ก็เรียก.
  5. มุจลินท์ : [มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบ ด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).
  6. แม้น ๑ : สัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า. (สังข์ทอง).
  7. โมง ๒ : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า ใช้นํ้าเปลือกแช่ปูนขาวทําให้ปูนแข็ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  8. ไม้ญี่ปุ่น : น. ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นย่อมาจากธรรมชาติของต้นไม้ในป่า ไม่มีการแต่งช่อหรือพุ่มใบ.
  9. ไม้ล้มขอนนอนไพร : น. ไม้ในป่าที่ล้มตายเอง.
  10. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  11. ย่างทราย : น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่านทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  12. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  13. ย่านทราย : น. ชื่อเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่, ย่างทราย ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  14. ยูง ๑ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รําแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่า โปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้าง แก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และ ยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.
  15. รก ๑ : ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้ง กระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  16. รกชัฏ : ว. รกยุ่ง, รกอย่างป่าทึบ.
  17. รกฟ้า : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex. Roth ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ ทํายาได้, กอง ก็เรียก.
  18. รกเรี้ยว : ว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.
  19. รถตีนตะขาบ : น. รถชนิดหนึ่งซึ่งมีสายพานหุ้มล้อ สามารถขับเคลื่อนไป ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.
  20. ระกำ ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีขาว ฝักแบนบิดเป็นวง, ระกํานา หรือ ระกําป่า ก็เรียก. (๒) ชื่อปาล์มชนิด Salacca wallichiana C. Martius ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมีหนามแข็ง เนื้อฟ่าม ผลออกเป็นกระปุก กินได้.
  21. ระงมไพร : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง อยู่ตามป่าใหญ่. (พจน. ๒๔๙๓).
  22. ระนัม : น. ป่ารกฉําแฉะ, ระนาม ก็ว่า.
  23. ระนาม : น. ป่ารกฉําแฉะ เรียกว่า ป่าระนาม, ระนัม ก็ว่า.
  24. ระหง : ว. สูงโปร่ง เช่น ป่าระหง, สูงสะโอดสะอง เช่น รูปร่างระหง คอระหง.
  25. รักหมู : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Holigarna kurzii King ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบด้าน ล่างขาว, กุกขี้หมู ก็เรียก.
  26. รังควาน : ก. รบกวนทําให้รําคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น. น. ผีที่ประจําช้างป่า, ผีตายร้ายที่สิงอยู่ในกายคนได้.
  27. รัต ๑ : ก. ยินดี, ชอบใจ, มักใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น วันรัต = ผู้ยินดีในป่า. (ป., ส. รต).
  28. ราวป่า : น. แนวป่า, ชายป่า, ขอบป่า.
  29. รุ่ย ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bruguiera cylindrica (L.) Blume ในวงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าชายเลน โคนต้นมีรากหายใจโค้งคล้ายรูปหัวเข่า ผลยาวเหมือน ฝักถั่ว, ถั่วขาว ก็เรียก.
  30. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  31. เรี้ยวรก : ว. รกมาก เช่น ป่าเรี้ยวรก, รกเรี้ยว ก็ว่า.
  32. เรียวหนาม : น. แขนงไม้ไผ่ที่มีหนาม มักแตกออกจากบริเวณโคนไผ่ บางชนิด เช่น ไผ่ป่า.
  33. ล่อง : น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
  34. ละมาน : น. ข้าวละมาน. (ดู ข้าวป่า ที่ ข้าว).
  35. ละเมาะ ๑ : น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.
  36. ละองละมั่ง : น. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด Cervus eldi ในวงศ์ Cervidae ตัวสี นํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้าน หน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและใบไม้ เป็น สัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.
  37. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  38. ลำแพน ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Sonneratia วงศ์ Sonneratiaceae คือ ชนิด S. alba Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด S. griffithii Kurz และ S. ovata Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.
  39. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  40. ลุย : ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย ตรงข้าม.
  41. ลูกเถื่อน : น. ลูกช้างที่เกิดจากช้างเถื่อนในป่า.
  42. ลูกปละ : น. ลูกวัวหรือควายที่ออกในคราวที่เจ้าของปล่อยอยู่ตามทุ่ง ตามป่า ซึ่งพ่อหรือแม่สมจรกับวัวป่าหรือควายป่า.
  43. เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
  44. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  45. เลี่ยน ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Melia azedarach L. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน เนื้อไม้ใช้ในการ ก่อสร้าง, เกรียน ก็เรียก.
  46. วนจร, วนจรก : [วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).
  47. วนภู, วนภูมิ : น. แถบป่า, แถวป่า. (ป., ส.).
  48. วนศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการทํานุบํารุงรักษา และปลูกป่า.
  49. วนอุทยาน : น. ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีนํ้าตก ถํ้า และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่ พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน.
  50. วนัปติ : [วะนับปะ] น. ไม้ใหญ่, พญาไม้; ผีเจ้าป่า. (ป. วนปฺปติ; ส. วนสฺปติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-570

(0.0685 sec)