Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 1351-1400
  1. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  2. ออกชื่อ, ออกนาม : ก. บอกชื่อ, ขานชื่อ, แสดงชื่อ.
  3. อื้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, เอิ้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
  4. เอาชื่อ : ว. มุ่งให้ได้ชื่อเสียง เช่น ทำงานเอาชื่อ.
  5. เอิ้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคํา, อื้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
  6. เอื้อน ๑ : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า.
  7. เข้าชื่อ : ก. ลงชื่อร่วมกันหลาย ๆ คน เพื่อร้องเรียนหรือแสดงความจํานง.
  8. ร้องเรียกร้องหา : ก. ต้องการตัว.
  9. ลือชื่อ : ว. มีชื่อโด่งดัง.
  10. กุลา ๒ : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุหล่า หรือ คุลา ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ) ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่งว่า กุลาขาว, เรียก ชนชาติแขกว่า กุลาดํา.
  11. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  12. งั่ง ๑ : น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียก พระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร.
  13. ดอกลำโพง : น. เครื่องช่วยในการขยายเสียง รูปเหมือนดอกลําโพง, เรียก สั้น ๆ ว่า ลําโพง.
  14. ตรีทิพ : น. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ หรือชั้นวิเศษสุด, สวรรค์ทั่วไป, เรียก ไตรทิพ หรือ ไตรทิพย์ ก็ได้. (ส. ตฺริทิว).
  15. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  16. ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
  17. ถือน้ำ : ก. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา. ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก. ดื่มนํ้าสาบานถวายพระเจ้าแผ่นดิน, เรียก สั้น ๆ ว่า ถือนํ้า ก็มี.
  18. นอก : บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
  19. นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  20. บอด : ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
  21. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  22. เป็นตัว : ว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียก ข้าวสวยหรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว; ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจาก เจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
  23. เปล : [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
  24. ผา : น. หินที่เขา เช่น หน้าผา เนินผา ผาลาด, ภูเขา เช่น เชิงผา, เรียก ภูเขาด้านที่มีแผ่นหินตั้งชันว่า หน้าผา.
  25. พรม ๑ : [พฺรม] น. เครื่องลาดทําด้วยขนสัตว์, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นบาง ชนิดที่ใช้ปูลาดว่า พรม เช่น พรมนํ้ามัน พรมกาบมะพร้าว; เรียก ด้ายที่ทําด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ไหมพรม; ตุ้มสําหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง; ไม้สําหรับ ยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
  26. พลอน : [พฺลอน] ก. ปอกให้มีเปลือกติดอยู่บ้าง เช่น พลอนมะพร้าว, เรียก มะพร้าวที่ปอกแล้วเช่นนั้นว่า มะพร้าวพลอน, ปล้อน. ว. ชอนไป, พรุน, ย่อยยับ.
  27. พะเลย : น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
  28. พาดหัวข่าว : ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
  29. เพรียง ๑ : [เพฺรียง] น. ส่วนร่างกายที่นูนอยู่หลังหู, มักใช้ว่า เพรียงหู; เรียก ผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง. ว. พร้อม, มักใช้คู่กันว่า พร้อมเพรียง.
  30. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  31. เรือก : น. ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้นที่ผ่าออกเป็นซีก ๆ แล้วถักด้วยหวายสําหรับ ปูพื้นหรือกั้นเป็นรั้วเป็นต้น, พื้นที่ลาดหรือปูด้วยไม้ถักด้วยหวาย, เรียก สะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวายหรือเชือกว่า สะพานเรือก.
  32. ลิเก : น. การแสดงชนิดหนึ่งมาจากชาวมลายู, เรียก ยี่เก ก็มี.
  33. วอ : น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
  34. หน้าแว่น : น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ.
  35. หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
  36. หลาม ๒ : ก. เอาของใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วเผาไฟให้สุก เช่น หลามข้าว, เรียก ข้าวเหนียวที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วเผาให้สุกว่า ข้าวหลาม; ล้นแผ่ เลยออกมา เช่น คนไปฟังปาฐกถาล้นหลามออกมานอกห้อง, โดยปริยาย หมายความว่า ใหญ่เกินพอดี เช่น พุงหลาม.
  37. แหวน : [แหฺวน] น. เครื่องประดับสําหรับสวมนิ้วทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นวงว่า วงแหวน เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  38. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  39. อุโบสถ ๑ : [อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทําสังฆกรรมเช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียก ย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดง พระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทํา อุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).
  40. เอื้อย : (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย. (สามดวง); เรียก พี่สาวคนโตว่า พี่เอื้อย, (ปาก) เรียกผู้ที่หมู่คณะยกย่องให้เป็น หัวหน้าว่า พี่เอื้อย.
  41. ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
  42. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  43. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  44. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  45. นามาภิไธย : น. ชื่อ (ใช้เฉพาะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินีสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนามาภิไธย เช่น ทรงลงพระนามาภิไธย.
  46. ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
  47. พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
  48. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  49. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  50. อถรรพเวท, อาถรรพเวท : [อะถับพะเวด, อะถันพะเวด, อาถับพะเวด, อาถันพะเวด] น. ชื่อ คัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบาง บทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1724 sec)