Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 301-350
  1. กิ้งโครง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ลักษณะคล้ายนกเอี้ยงซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กิ้งโครงคอดํา (Sturnus nigricollis) กิ้งโครงแกลบปีกขาว (S. sinensis), คลิ้งโคลง ก็เรียก.
  2. กิโลกรัม : น. ชื่อมาตราชั่งน้ำหนัก เท่ากับ ๑,๐๐๐ กรัม, อักษรย่อว่า กก., (ปาก) เรียกสั้น ๆว่า กิโล หรือ โล. (ฝ. kilogramme).
  3. กิโลเมตร : น. ชื่อมาตราวัด เท่ากับ ๑,๐๐๐ เมตร, อักษรย่อว่า กม., (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า กิโล. (ฝ. kilometre).
  4. กีบแรด : น. ชื่อเฟินชนิด Angiopteris evecta Hoffm. ในวงศ์ Marattiaceae ทางใบยาวแยกแขนง ที่โคนก้านใบมีส่วนคล้ายกีบแรดหรือ กีบม้ากํากับอยู่ ใช้ทํายาได้, ว่านกีบแรด หรือ ว่านกีบม้า ก็เรียก.
  5. กุ ๒ : น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง, กล้วยสั้น ก็เรียก.
  6. กุ๊ก ๑ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกเค้า เรียกว่า นกกุ๊ก. (พจน. ๒๔๙๓).
  7. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  8. กุ้งเหลือง : น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus latisulcatus ในวงศ์ Penaeidae ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดํา ลําตัวสีเหลืองปนน้ำตาล ขอบของส่วนท้องสีม่วง แพนหางสีฟ้า, กุ้งเหลืองหางฟ้า ก็เรียก.
  9. กุดั่น : น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจํายาม.
  10. กุมภ-, กุมภ์ : [กุมพะ-] น. หม้อ; ชื่อกลุ่มดาวรูปหม้อ เรียกว่า ราศีกุมภ์ เป็นราศีที่ ๑๐ ในจักรราศี. (ป.).
  11. กุยช่าย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นําเข้ามาปลูก เพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
  12. กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
  13. กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
  14. กุลา ๑ : น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวจุฬา ก็เรียก.
  15. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  16. กุเวร : [-เวน] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. (ป., ส.).
  17. กุหลาบ : [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่น (R. damascena Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาใน ระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (R. simsii Planch.) กุหลาบขาว (R. ludwigianum Hoss.).
  18. กูด ๑ : น. ชื่อเฟินหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ ชนิดที่กินได้ เช่น กูดขาว หรือ ผักกูด (Diplazium esculentum Sw.) กูดกิน [Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. yarrabense Domin] กูดแดง (Stenochlaena palustris Bedd.);ทางเหนือและอีสาน เรียกเฟินว่า กูด.
  19. กูปรี : [-ปฺรี] น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli ในวงศ์ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระทิงและวัวแดง ตัวสีดํา ตัวผู้มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ปลายแตกเป็นเส้น ๆ มองเห็นเป็นพู่ ส่วนตัวเมียเขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดศรีสะเกษและตามชายแดนไทย-กัมพูชา หากินในทุ่งหญ้า โดยรวมฝูงอยู่กับกระทิงและวัวแดง เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว, โคไพร ก็เรียก.
  20. เก๊กฮวย : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Chrysanthemum วงศ์ Compositae ชนิด C. indicum L.ดอกเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม, เบญจมาศสวน ก็เรียก, และชนิด C. morifolium Ramat. พันธุ์ดอกเล็ก สีขาว กลิ่นหอม, เบญจมาศหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ดอกตากแห้งชง กับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลใช้ดื่มแก้กระหาย.
  21. เก้ง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดํา (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีน้ำตาลแก่เกือบดํา ที่หัวมีขนลักษณะคล้าย จุกสีเหลืองแซมดํา, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.
  22. เกตุ, เกตุ- : [เกด, เก-ตุ-, เกด-] น. ธง; (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ หมายถึงตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจากเหนือระนาบสุริยวิถี ลงสู่ใต้ระนาบสุริยวิถี ส่วนตําแหน่งที่ดวงจันทร์ผ่านจาก ใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถี เรียกว่า พระราหู. (ป., ส.).
  23. เกล็ดปลาช่อน : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตาม แนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
  24. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  25. เก้า : น. จํานวนแปดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙ ตกในราวเดือนสิงหาคม.
  26. เกาเหลียง ๒ : [-เหฺลียง] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง ใช้ปั้นทําเครื่องเคลือบดินเผาได้ดี, ดินเกาลิน ก็เรียก. (จ.).
  27. แก ๑ : น. ชื่อนกชนิด Corvus splendens ในวงศ์ Corvidae รูปร่างคล้ายกา แต่ตัวและปากเล็กกว่า ด้านหลังท้ายทอยสีเทา, อีแก ก็เรียก.
  28. แก้ ๑ : น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สําหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).
  29. แกงส้ม : น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ น้ำมัน มีรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค.
  30. แก๊ป : น. ชื่อหมวกของทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้น ที่มีกะบังหน้า เรียกว่า หมวกแก๊ป; เครื่องที่ทําให้ระเบิดเป็น ประกายติดดินปืน เดิมมีรูปเหมือนหมวกแก๊ปแต่ไม่มีกะบังปิดหน้า; ชื่อปืนชนิดหนึ่ง มีนกสับ ใช้ยัดกระสุนและดินปืนทางปาก และสับแก๊ป เรียกว่า ปืนแก๊ป. (อ. cap).
  31. แก้มช้ำ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.
  32. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  33. แกแล ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้าน ไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากจั่ว อาจสลักลวดลาย ตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียก กะแล.
  34. แกแล ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งชนิด Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner ในวงศ์ Moraceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นเหลืองใช้ย้อมผ้าและทํายา, กะแล หรือ เข ก็เรียก.
  35. แก้ว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus ในวงศ์ Sciaenidae ลําตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และ นูนเป็นสัน ลําตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก.
  36. โกงกาง : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Rhizophora วงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าเลนชายทะเล นิยมใช้ทําฟืนและเผาถ่านกันมาก เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลักษณะเรียวยาวคล้ายฝัก มี ๒ ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่ หรือ กงกอน (R. mucronata Poir.) และ โกงกางใบเล็ก (R. apiculata Blume) ชนิดนี้นิยมใช้ทำฟืนและ เผาถ่านกันมาก, พังกา ก็เรียก.
  37. โกฐกระดูก : น. ชื่อเรียกเหง้าแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Saussurea lappa C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae.
  38. โกฐกะกลิ้ง : น. ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของต้นแสลงใจ (Strychnos nux-vomica L.) ในวงศ์ Strychnaceae.
  39. โกฐกักกรา : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Anacyclus pyrethrum (L.) DC. ในวงศ์ Compositae.
  40. โกฐก้านพร้าว : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae, โกฐก้านมะพร้าว ก็เรียก.
  41. โกฐเขมา : [-ขะเหฺมา] น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุก หลายชนิดในสกุล Atractylodes วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. lyrata Sieb. et Zucc., โกฐหอม ก็เรียก.
  42. โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา : น. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กําลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
  43. โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Nardostachys jatamansi DC. ในวงศ์ Valerianaceae.
  44. โกฐเชียง : น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Livisticum officinale Koch. ในวงศ์ Umbelliferae.
  45. โกฐน้ำเต้า : น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของพืช ๖ ชนิด ในสกุล Rheum วงศ์ Polygonaceae เช่น ชนิด R. officinale Baillon., R. palmatum L.
  46. โกฐพุงปลา : น. ชื่อเรียกสิ่งที่นูนปูดขึ้นมาตามกิ่งและใบของไม้ต้น หลายชนิดในสกุล Terminalia วงศ์ Combretaceae เช่น สมอไทย (T. chebula Retz.), อีสานเรียก ปูดกกส้มมอ.
  47. โกฐสอ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Angelica วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. sylvestris L., A. glabra Makino.
  48. โกฐหัวบัว : น. ชื่อเรียกเหง้า ราก ใบ และดอกแห้งของไม้ล้มลุก ๓ ชนิด ในวงศ์ Umbelliferae คือ ชนิด Cnidium officinale Makino, Conioselinum univittatum Turcz. และ Licusticum wallichii Franchet.
  49. โกน ๒ : ก. ขูดผมหรือขนด้วยคมมีด. น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่า หรือ แรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็น แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ; (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ ค่า ขึ้น ๑๔ ค่า แรม ๗ ค่า และแรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน.
  50. โกสน : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codiaeum variegatum (L.) Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ถิ่นกําเนิดในแหลมมลายูและแปซิฟิก มีหลายพันธุ์ ใบมีรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ, โกรต๋น ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.0901 sec)