Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 3301-3350
  1. ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  2. ทนายเลือก : (โบ) น. นักมวยสําหรับป้องกันพระเจ้าแผ่นดิน; ชื่อกรมกรมหนึ่งมีหน้าที่กํากับมวย.
  3. ทบ ๑ : ก. พับเข้ามา เช่น ทบผ้า ทบเชือก, เพิ่มเข้า เช่น เอาเชือกมาทบ เข้าอีกเส้นหนึ่ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่พับเข้ามาหรือเพิ่มเข้ามา เช่น ผ้าทบหนึ่ง ผ้า ๒ ทบ.
  4. ทมิฬ : [ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดีย แถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
  5. ทยอย ๒ : [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มีชนิดย่อยเป็น ทยอยนอก ทยอยใน ทยอยโอด.
  6. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  7. ทรงกระเทียม : [ซง-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลําต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้.
  8. ทรงเครื่องใหญ่, ทรงพระเครื่องใหญ่ : (ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน). ทรงเจ้า ก. ทําพิธีเชิญเจ้าเข้าสิงคนทรง. น. เรียกคนสําหรับทรงเจ้า ว่า คนทรงเจ้า.
  9. ทรงบาดาล : [ซง-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Senna surattensis (Burm.f.) Irwin et Barneby ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบใกล้ยอด ใบอ่อนกินได้ เปลือกและใบใช้ทํายา.
  10. ทรงประพาส : น. ชื่อฉลองพระองค์ มีรูปเป็นเสื้อกั๊กมีชาย, คู่กับ พระกรน้อย เป็นเสื้อชั้นใน ที่แขนต่อแถบรัด มีสายรัดกับเสื้อ ทรงประพาส, ชื่อเสื้อยศผู้ว่าราชการเมืองครั้งก่อน; ชื่อหมวก เครื่องยศรูปเป็นกลีบ ๆ มีชายปกข้างและหลัง.
  11. ทรงลังกา : ว. เรียกเจดีย์รูปทรงกลม มีฐานล่างเป็นฐานบัวลูกแก้ว องค์ครรภธาตุมีรูปทรงคล้ายระฆังควํ่า ตอนบนเป็นที่ตั้งของ รัตนบัลลังก์ มียอดประดับด้วยปล้องไฉน.
  12. ทรงหม้อตาล : น. เรียกหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหม้อตาลอย่างหมวก ที่พลทหารเรือและจ่าทหารเรือเป็นต้นสวมว่า หมวกทรงหม้อตาล.
  13. ทรธึก : ว. ชั่วยิ่ง, ใช้เรียกวันในตําราหมอดูว่า วันทรธึก หมายความ ว่า วันชั่วยิ่ง ห้ามทําการมงคลต่าง ๆ.
  14. ทรพี ๒ : [ทอระ-] น. เรียกลูกที่ไม่รู้คุณพ่อแม่ว่า ลูกทรพี. ว. เนรคุณถึง ประทุษร้ายพ่อแม่.
  15. ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  16. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  17. ทรอมโบน : [ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและ บังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trombone).
  18. ทรัมเป็ต : [ทฺรํา-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีเสียงแหลม, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trumpet).
  19. ทราย ๑ : [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย กระดาษทราย.
  20. ทราย ๓ : [ซาย] น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิด Ensidens ingallsianus ในวงศ์ Unionidae อาศัยอยู่ในทราย.
  21. ทรายขาว : [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Scolopsis วงศ์ Nemipteridae ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลม อยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด S. cancellatus, S. dubiosus.
  22. ทรุด : [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกําลัง ต้านทานไม่พอ เช่น กําแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกําลัง ทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
  23. ทวง : ก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.
  24. ทวงถาม : (กฎ) ก. เรียกร้องให้ชําระหนี้.
  25. ทวดน้อย : น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
  26. ทวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขัน ใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จาก เบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
  27. ทวอย : [ทะ-] น. ชื่อเพลงร้องรําอย่างหนึ่ง.
  28. ทวาตรึงประดับ : น. ชื่อโคลงโบราณ.
  29. ทวาทศมณฑล : น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี; ชื่อมาตราวัด จักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑล หนึ่ง. (ส.).
  30. ทวาบรยุค : [ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของ พราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
  31. ทวาย ๒ : [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  32. ทวิภาคี : (การทูต) ว. สองฝ่าย. น. เรียกสัญญาระหว่างประเทศที่มี คู่สัญญา ๒ ฝ่ายว่า สัญญาทวิภาคี (bilateral treaty).
  33. ทศ ๑, ทศ- : [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่า เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็น ส่วนหน้าสมาส.
  34. ทศชาติ : น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้ง ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
  35. ทศพร : น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
  36. ทอก : น. โบราณเรียกนกยางชนิดหนึ่งว่า ยางทอก; เรียกหมูขนาดใหญ่ เขี้ยวตันว่า หมูทอก; เรียกช้างตัวใหญ่ ๆ ที่เป็นจ่าฝูงว่า อ้ายทอก.
  37. ท้องกาง : ว. เรียกท้องที่กางออกมากกว่าปรกติเพราะกินเกินขนาด.
  38. ท้องขาว ๑ : น. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาว เชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).
  39. ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
  40. ท้องขึ้น : ว. อาการที่ท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น; เรียกปลาจวนจะเน่าว่า ปลาท้องขึ้น.
  41. ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
  42. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  43. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  44. ทองชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้ม ออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.
  45. ทองชุบ : น. โลหะชุบทอง, ทองวิทยาศาสตร์ ก็เรียก.
  46. ทองดำ ๒ : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียว ค่อนข้างดํา.
  47. ทองดำ ๓ : น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Acheta bimaculatus ในวงศ์ Gryllidae ลําตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร อกกว้างประมาณ ๙ มิลลิเมตร โดยทั่วไปสีดําตลอดทั้งตัว ยกเว้นบริเวณโคนปีกคู่แรกมีจุดโต สีเหลืองหรือแดงปนเหลือง ๒ จุด ขาคู่สุดท้ายสีนํ้าตาลแดง.
  48. ทองแดง ๒ : น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Gryllus testaceus ในวงศ์ Gryllidae ตัวยาว ประมาณ ๒.๘ เซนติเมตร อกกว้างประมาณ ๘ มิลลิเมตร โดย ทั่วไปสีนํ้าตาลทั้งตัว โดยเฉพาะด้านล่างของหัว อก ท้อง และ ขาส่วนทางด้านหลังสีนํ้าตาลอมแดง ลายปีกเป็นเส้นสีนํ้าตาล ยาวเกือบตลอด.
  49. ท้องตรา : น. หนังสือคําสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิม เรียกว่า สารตรา.
  50. ทองตะโก : น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบน แผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | [3301-3350] | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1662 sec)