Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 4501-4550
  1. ฟัด : ก. กัดเหวี่ยงหรือสะบัดไปมา เช่น ถูกหมาฟัด แมวฟัดหนู, เหวี่ยง เช่น ถูกรถฟัดเสียสะบักสะบอม; ต่อสู้ เช่น เด็กฟัดกัน; กระทบ เช่น ท้ายเรือฟัดกัน นมยานฟัดกัน; คล้องจองกัน, สัมผัสกัน, เช่น กลอนฟัดกัน. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้ว ว่า กุ้งฟัด, กุ้งฝัด ก็ว่า.
  2. ฟั่น ๑ : ก. คลึงสิ่งเป็นเส้นหลายเส้นให้เข้าเกลียวกัน เช่น ฟั่นด้าย, นำป่าน หรือปอเป็นต้นมาตีเกลียวให้เป็นเชือก เรียกว่า ฟั่นเชือก, คลึงขี้ผึ้ง ที่มีไส้อยู่ภายในให้เป็นเล่มเทียน เรียกว่า ฟั่นเทียน.
  3. ฟันหนู : น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ '' สําหรับเขียนบนสระ ? ให้เป็น สระ ? , มูสิกทันต์ ก็ว่า.
  4. ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
  5. ฟาก ๑ : น. ลำไม้ไผ่เป็นต้นที่ผ่าแล้วสับให้แตกออกเป็นอันเล็ก ๆ แต่ไม่ขาดจากกัน แล้วแบคว่ำออกเป็นแผ่น โดยมากใช้ปูเป็น พื้นเรือน เรียกว่า ฟากสับ, ส่วนที่ทำเป็นซี่แล้วใช้หวายหรือ เถาวัลย์ถักให้ติดกันเป็นผืน เรียกว่าฟากซี่ หรือ ซี่ฟาก.
  6. ฟางลอย : น. นาป่าที่เจ้าของได้เสียค่านาตามเนื้อที่ที่ได้ปลูกข้าว เรียกว่า นาฟางลอย, ผิดกับนาคู่โค ซึ่งต้องเสียค่านาเต็มตามโฉนด.
  7. ฟ้ามุ่ย : น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Vanda coerulea Griff. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีฟ้าอมม่วง กลิ่นหอมอ่อน.
  8. ฟิตเครื่อง : ก. ปรับเครื่องยนต์ให้กระชับหรืออยู่ในสภาพปรกติ, เรียกช่างแก้เครื่องยนต์ว่า ช่างฟิต.
  9. ฟืน : น. ไม้สําหรับใช้เป็นเชื้อไฟ, ลักษณนามเรียกตามลักษณะ เช่น ดุ้น อัน ท่อน ชิ้น.
  10. ฟุบ : ก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.
  11. ฟู่ : ว. เสียงดังเช่นนั้น. น. เรียกเตาที่ใช้สูบลมพ่นน้ำมันให้ขึ้นไปถูก ไฟลุกเป็นเปลวว่า เตาฟู่.
  12. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  13. เฟิน : น. ชื่อไม้ใบจําพวกผักกูด (Pteridophytes), ใช้ว่า เฟิร์น ก็มี. (อ. fern).
  14. เฟื่อง ๑ : น. เครื่องประดับอย่างหนึ่ง ทำเป็นสายห้อยโยงเป็นช่วง ๆ มีอุบะห้อยระหว่างเฟื่อง; เรียกโรคที่มีเสมหะกําเริบว่า เสมหะเฟื่อง.
  15. เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
  16. แฟง : น. ชื่อฟักพันธุ์หนึ่ง ผลเล็ก ผิวบางมีขน.
  17. โฟกัส : (แสง) น. จุดที่แนวแสงลู่เข้าทั้งหมดไปตัดกัน หรือ จุดที่แนวแสง ลู่ออกทั้งหมดต่อย้อนหลังไปตัดกัน กรณีแรก เรียกว่า โฟกัสจริง กรณีหลัง เรียกว่า โฟกัสเสมือน; (คณิต) จุดที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับ เส้นไดเรกตริกซ์ ใช้กําหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกัน เป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย. (อ. focus).
  18. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  19. ไฟลามทุ่ง : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะลามออกไป.
  20. ภควดี : [พะคะวะดี] ใช้เป็นคําเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).
  21. ภควัม : [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียก คนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็น ภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  22. ภรณี : [พะระนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปแม่ไก่, ดาวก้อนเส้า ก็เรียก. (ป., ส.).
  23. ภวัคระ : [พะวักคฺระ] น. พรหมชั้นสูง, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เรียก. (ส. ภวาคฺร; ป. ภวคฺค).
  24. ภารตี : [–ระ–] น. ชื่อหนึ่งของพระสุรัสวดี.
  25. ภาระ ๒, ภารา ๑ : น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ส. ภาร).
  26. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  27. ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  28. ภาษี : น. เงินที่รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหาร ประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม; ความได้เปรียบ เช่น เขามีภาษีกว่า.
  29. ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
  30. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  31. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  32. ภาษีสรรพสามิต : [–สับพะ–, –สันพะ–] (กฎ) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิต เรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนําเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่ กฎหมายกําหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. (อ. excise tax).
  33. ภิรมย์สุรางค์ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  34. ภุชงคประยาต : [พุชงคะ–] น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คํา แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. (ส.; ป. ภุชงฺคปฺปยาต).
  35. ภุมมะ : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  36. ภุมโม : (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
  37. ภูมิคุ้มกัน : [พูม–] น. สภาพที่ร่างกายมีแรงต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย, ภูมิต้านทาน ก็เรียก.
  38. ภูมิศาสตร์ประวัติ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
  39. ภูรโลก : [พูระโลก] น. ชื่อแผ่นดินเมื่อพูดเกี่ยวกับฟ้าและสวรรค์. (ส.).
  40. ภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา.
  41. ไภษัชคุรุ : [ไพสัดชะ–] น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน; ชื่อพระกริ่ง.
  42. มกร, มกร- : [มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).
  43. มกราคม : [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
  44. มฆะ, มฆา, มาฆะ : [มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
  45. มงกุฎไทย : น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  46. มงคลจักร : [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวมศีรษะ ในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
  47. มงคลแฝด : [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสําหรับบ่าวสาวสวม ศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
  48. มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  49. มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  50. มงคลหัตถี : [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิล อัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | [4501-4550] | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1896 sec)