Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 51-100
  1. บุ้งฝรั่ง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ipomoea crassicaulis (Benth.) B.L. Robinson ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีชมพูอ่อน ใบมีขนอ่อน เรียก ผักบุ้งฝรั่ง, ผักบุ้งรั้ว ก็เรียก.
  2. บุ้งร้วม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Convolvulus arvensis L. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ต้นมีขน ดอกเล็ก สีขาว รากใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Enydra fluctuans Lour. ในวงศ์ Compositae ขึ้นในนํ้าและที่ชื้นแฉะ ดอกเล็กสีขาว ๆ ใบมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม.
  3. เบญจมาศ : [เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออก ตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบ ดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบ เมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ''ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับ นํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.
  4. ปลาเงินปลาทอง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศ กันมานานนับพันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลา สวยงามหรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลําตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจ เป็นสีดําหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.
  5. ผีเสื้อ ๑ : น. ชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลําตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมอง ด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทําให้เกิดสีต่าง ๆ กันปากเป็นงวงยาวม้วน เข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียกผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินใน เวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย.
  6. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  7. พิมเสน ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่ในเนื้อไม้. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่น ให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่นและดับกลิ่นตัว. (๓) ชื่อมะม่วง หลายพันธุ์ของชนิด Mangifera indica L. พันธุ์หนึ่ง เมื่อดิบมีรส เปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน.
  8. พุทรา : [พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ziziphus mauritiana Lam. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสาน เรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).
  9. เพลี้ย ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ มีปากชนิดเจาะดูด ติดอยู่ที่หัวส่วนที่ใกล้กับอก หรือชนิดเขี่ยดูดติดอยู่ที่ปลายหัว ทําลายพืชต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่มีปีก พวกที่มีปีกจะมีเนื้อปีกเหมือน กันตลอด โดยมากบางและอ่อน หรือเป็นแผ่นยาวและแคบมาก มีขนรายล้อม พวกที่อยู่ในวงศ์ Cicadellidae มีรูปร่างคล้ายจักจั่น เรียก เพลี้ยจักจั่น, พวกที่อยู่ในวงศ์ Aphididae มีลําตัวบอบบางและ อ่อน เรียก เพลี้ยอ่อน, พวกที่อยู่ในวงศ์ Thripidae ทําลายพืชทําให้ เกิดอาการเหมือนไฟไหม้ เรียก เพลี้ยไฟ, พวกที่อยู่ในวงศ์ Coccidae ที่สามารถผลิตสารสีขาวคล้ายแป้งออกมาหุ้มลําตัว เรียก เพลี้ยแป้ง และที่ผลิตสารสีนํ้าตาลออกมาหุ้มลําตัวคล้ายฝาหอย เรียก เพลี้ยหอย.
  10. ฟัก ๑ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลใหญ่รูปกลมหรือรี เมื่อแก่ผิวแข็งมีคราบขาว กินได้ เมล็ดใช้ทํายา มีหลายพันธุ์ ต่างกันที่ลักษณะของผล, พันธุ์ผลเล็ก ผิวบางมีขน เรียก แฟง, พันธุ์ที่ผลมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ฟักขม.
  11. มอด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทําให้เกิดเป็น รูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็น แมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทําลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.
  12. มะปราง : [-ปฺราง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bouea macrophylla Griff. ในวงศ์ Anacardiaceae ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกสีเหลืองอมแดง พันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง, พันธุ์รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เรียก มะยง, พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด.
  13. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  14. ลั่นทม : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. acutifolia Poir. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จําปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จําปาลาว, อีสานเรียก จําปา, ปักษ์ใต้ เรียก จําปาขอม.
  15. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  16. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  17. หมาก ๑ : น. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechu L. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัด เรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ.
  18. หัวล้าน ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Merremia peltata Merr. ในวงศ์ Convolvulaceae เมล็ด มีขนตามข้าง ๆ คล้ายหัวล้าน เรียก ลูกหัวล้าน.
  19. เห่า ๒ : น. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดํา นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและ แผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.
  20. แหวด : [แหฺวด] น. ชื่อเรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง เรียก เรือแหวด.
  21. องุ่น : [อะหฺงุ่น] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vitis vinifera L. ในวงศ์ Vitaceae ผลเป็นพวง กินได้หรือใช้หมักทําเหล้า เรียก เหล้าองุ่น.
  22. ชื่อเสียง : น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
  23. ขายชื่อ : ก. เอาชื่อเข้าแลกในทํานองขาย, ไม่รักชื่อ, ทําให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย.
  24. คำนำหน้าชื่อ : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก.
  25. ธนู : ชื่ออาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันธนูซึ่งมีสายธนูสำหรับน้าวยิง และ ลูกธนูที่มีปลายแหลม; ชื่อกลุ่มดาวรูปธนู เรียกว่า ราศีธนู เป็นราศีที่ ๘ ในจักรราศี; ชื่อดาวฤกษ์อนุราธา. (ป. ธนุ).
  26. ชื่อตัว : น. ชื่อที่ตั้งให้แก่เด็กตั้งแต่เกิด, ชื่อที่ปรากฏใน ทะเบียนสํามะโนครัว, ชื่อจริง; (กฎ) ชื่อประจําบุคคล.
  27. ชื่อย่อ : น. ชื่อที่ย่อมาจากชื่อเต็ม.
  28. ชื่อรอง : (กฎ) น. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว.
  29. ชื่อเล่น : น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด.
  30. ชื่อสกุล : น. ชื่อประจําวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล; (กฎ) ชื่อประจําวงศ์สกุล.
  31. เรียกคืน : ก. ทวงคืน เช่น ฉันเรียกคืนเงินมัดจำจากบริษัท.
  32. เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
  33. เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
  34. เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
  35. เรียกหา : ก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.
  36. เรียกขวัญ : ก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.
  37. นาม, นาม : [นามมะ] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สําหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).
  38. กก ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลมใช้ทอ หรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
  39. กกช้าง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Typha angustifolia L. ในวงศ์ Typhaceae ขึ้นใน น้ำ ช่อดอกคล้ายธูปขนาดใหญ่, กกธูป ธูปฤๅษี ปรือ หรือ เฟื้อ ก็เรียก.
  40. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  41. กดเหลือง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  42. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  43. กบ ๕ : น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่า ใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
  44. กบฏ : [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การ ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้าย ต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิด อาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้ กําลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรืออํานาจ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอํานาจ ปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  45. กบบัว : น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  46. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  47. กรกฎ, กรกฏ : กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์). [กอระกด] (แบบ) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน); ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ ในจักรราศี. (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  48. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  49. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  50. กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.1581 sec)