Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 5601-5650
  1. สอง : น. จํานวนหนึ่งบวกหนึ่ง; เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม.
  2. สองชั้น : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่า ชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
  3. สองหน้า : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตี ทั้ง ๒ ข้าง. (สํา) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวัง ประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
  4. สอดสี : ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์ สอดสี.
  5. สอดไส้ : ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตร ปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตน ปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนม ชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วย ใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  6. ส่อน : ว. เรียกตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติว่า ตาส่อน.
  7. สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
  8. สอนเดิน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัด เดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่.
  9. สอนพูด : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
  10. สอนยืน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
  11. ส้อม : น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหาร กิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับ เสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลม ดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.
  12. สอยดาว : ว. เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัด ที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว.
  13. สะกด : ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคํา, เรียกพยัญชนะ ที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคําที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  14. สะกาง : น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สําหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.
  15. สะแก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Combretum quadrangulare Kurz ในวงศ์ Combretaceae นิยมใช้ทําฟืน เมล็ดใช้ทํายาได้. สะแกวัลย์ น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Combretum punctatum Blume ในวงศ์ Combretaceae.
  16. สะแก ๒ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งคล้ายสกา.
  17. สะแกแสง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga latifolia Finet et Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ใช้ทํายาได้.
  18. สะดุ้ง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายยอยก, อีสานเรียก กะดุ้ง.
  19. สะดุ้งมาร : (ปาก) น. เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร ว่า พระสะดุ้งมาร.
  20. สะเดา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือก สกัดเป็นยาควินิน.
  21. สะเดาดิน : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrolea zeylanica (L.) Vahl ในวงศ์ Hydrophyllaceae ขึ้นในนา ใบยาวคล้ายหญ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia alsinoides Lam. ในวงศ์ Campanulaceae ต้นเล็กกว่าชนิดแรก ใบค่อนข้างป้อม. (๓) ดู ขวง.
  22. สะตอ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Parkia speciosa Hassk. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบน เมล็ดในกินได้ มีมากทางภาคใต้. สะตอเบา ดู กระถิน.
  23. สะตือ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Crudia chrysantha Schum. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบนกลม ใช้ทํายาได้.
  24. สะตือ ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus borneensis ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย แต่ไม่มีจุดดําเด่น มีจุดสีนํ้าตาลกระจายอยู่ทั่วตัว.
  25. สะเต๊ะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่ปรุงรสแล้ว เสียบไม้ย่างไฟ กินกับนํ้าจิ้มและอาจาด.
  26. สะเทินน้ำสะเทินบก : ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบิน สะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
  27. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  28. สะบัดสะบิ้ง : ก. แสดงอาการกะบึงกะบอนแสนงอน เช่น เวลางอน ก็ทำกิริยาสะบัดสะบิ้ง. น. ชื่อกลบทแบบหนึ่ง.
  29. สะพั้น : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศ เป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.
  30. สะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.
  31. สะเภา ๑ : น. เรือสําเภา, ตะเภา ก็เรียก.
  32. สะระแหน่ : [แหฺน่] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Mentha cordifolia Opiz ในวงศ์ Labiatae ใบมีกลิ่นฉุน กินได้.
  33. สะเอ้ง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pternandra caerulescens Jack ในวงศ์ Melastomataceae ใบมีเส้นตามยาว ๓ เส้น ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน.
  34. สะเออะ ๒ : น. เรียกนํ้าที่ได้จากเนื้อสัตว์สดเช่นกุ้ง เนื้อที่คั้นกับนํ้ามะนาว ตั้งไฟ ให้สุก ใช้ปรุงรส ว่า นํ้าสะเออะ.
  35. สัก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Tectona grandis L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็ง และคงทน ปลวกไม่กิน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทําเครื่องเรือน ใบและเนื้อไม้ใช้ทํายาได้. สักขี้ไก่ (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกะเปียด. (ดู กะเปียด).
  36. สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
  37. สักกะ ๒, สักยะ : น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์, ศากยะ ก็ว่า. (ป.; ส. ศากฺย). (ดู ศากย, ศากยะ).
  38. สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
  39. สังกรณี : [กะระนี, กอระนี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Barleria strigosa Willd. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้า รากใช้ทํายาได้.
  40. สังกะวัง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius polyuranodon ในวงศ์ Schilbeidae ลักษณะรูปร่างคล้ายปลาสวาย หนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก ขนาดโต ได้ถึง ๕๒ เซนติเมตร.
  41. สังกะวาด : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล Pangasius วงศ์ Schilbeidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น สังกะวาดท้องโต (P. micronemus) สังกะวาดเหลือง (P. siamensis).
  42. สังเกตการณ์ : ก. เฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์หรือเรื่องราวพอรู้เรื่อง. น. เรียกผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงว่า ผู้สังเกตการณ์.
  43. สังขยา ๒ : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  44. สังข, สังข์ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำ พระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Chalonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. (ป.; ส. ศงฺข).
  45. สังขารา : น. ชื่อทำนองเพลงไทย ใช้ขับร้องในการเล่นหุ่นกระบอก.
  46. สังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
  47. สังฆภัต : น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติ ทายกนําอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทําอปโลกนกรรมแบ่งกัน. (ป.).
  48. สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).
  49. สังฆาทิเสส : [เสด] น. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก. (ป.).
  50. สังฆาธิการ : น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | [5601-5650] | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6307

(0.2050 sec)