Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรียกชื่อ, เรียก, ชื่อ , then ชอ, ชื่อ, รยกชอ, เรียก, เรียกชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรียกชื่อ, 6307 found, display 6251-6300
  1. อุปนิษัท : [อุปะ, อุบปะ] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์ อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).
  2. อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
  3. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  4. อุย ๑ : น. ลักษณะของขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น เรียกว่า ขนอุย.
  5. อุรังอุตัง : น. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลําตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้น และค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอย และกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัย อยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P.pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกําเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและ เกาะบอร์เนียวเท่านั้น.
  6. อุลปนะ : [อุนละปะ] น. การกล่าวอ้าง, การเรียกร้อง. (ป. อุลฺลปน).
  7. อุโลก : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb. ในวงศ์ Rubiaceae เนื้อไม้สีขาว ใช้ทํายาได้.
  8. อุสภ ๒ : [อุสบ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณเท่ากับ ๑ เส้น ๕ วา, ๘๐ อุสภ เป็น ๑ คาวุต. (ป.).
  9. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  10. อูฐ : [อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขา ทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ?; ส. อุษฺฏฺร).
  11. เอกซเรย์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นอยู่ ระหว่างประมาณ ๕ x ๑๐-๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐-๑๒ เมตร ใช้ ประโยชน์ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ รังสีเอกซ์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้ เอกซเรย์ว่า การถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็ง และโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้เอกซเรย์ที่มีช่วงคลื่นสั้น กว่าที่ใช้ถ่ายภาพ ว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง. (อ. Xrays).
  12. เอกศก : [เอกกะ] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๑ เช่น ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๓๔๑.
  13. เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.
  14. เอ็ด ๑ : ว. หนึ่ง (ใช้เรียกจํานวนเลขที่มี ๑ อยู่ท้าย เช่น ๑๑ ว่า สิบเอ็ด ๑๐๑ ว่า ร้อยเอ็ด หรือหนึ่งร้อยเอ็ด).
  15. เอ็น : น. กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย, ชาวบ้านเรียก เส้นเอ็น. (อ. ligament).
  16. เอ็นอ่อน : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cryptolepis buchanani Burm. et Schult. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกสีนวล เถาใช้ทํายาได้.
  17. เอมอร : [ออน] ว. งามอ่อนหวาน, โดยปริยายใช้เรียกหญิงสาว ที่งามละมุนละไม.
  18. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  19. เอวบาง, เอวบางร่างน้อย, เอวเล็กเอวบาง : น. เรียกผู้ที่มีรูปร่าง อ้อนแอ้นสะโอดสะอง.
  20. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  21. เอา ๒ : (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา. (กฎ.).
  22. เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัด จำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มี หน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใด ได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า 'เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อไม่พอกันกิน'.
  23. เอี้ยง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและ ผลไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เอี้ยงสาริกา หรือ สาลิกา (Acridotheres tristis) เอี้ยงหงอน (A. javanicus) เอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) เอี้ยงดําปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis).
  24. เอี้ยมจุ๊น : น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สําหรับขนถ่าย และบรรทุกสินค้า. (จ.).
  25. เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
  26. เอื้อง ๑ : (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกล้วยไม้. (ดู กล้วยไม้๑). (ปาก) เรียกหญิงสาว ทางภาคพายัพว่า เอื้องเหนือ.
  27. เอื้อง ๒ : น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจําพวกเช่นวัวควายกินเข้าไป ในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสํารอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่น วัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทําอะไรช้า ๆ.
  28. เอื้องครั่ง, เอื้องน้ำครั่ง : (ถิ่นพายัพ) น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium parishii Rchb.f. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีเหลือง.
  29. เอือน ๒ : น. ลักษณะของเนื้อมะพร้าวแก่ที่บาง ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด มีรสออกหวานไม่มัน เรียกว่า มะพร้าวเป็นเอือน หรือ มะพร้าว เอือนกิน.
  30. เอือนกิน : ว. เรียกลักษณะมะพร้าวเป็นเอือนว่า มะพร้าวเอือนกิน.
  31. แอ๋ : ว. อาการที่เมาเหล้ามากจนพูดลิ้นไก่สั้นหรือทรงตัวไม่อยู่ เรียกว่า เมาแอ๋.
  32. แอ้ด ๒ : น. เรียกของบางอย่างที่มีขนาดเล็กกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด.
  33. แอ้ด ๓, แอ้ด ๆ : ว. เรียกอาการที่หนักเต็มกําลังว่า หนักเต็มแอ้ด; เรียกอาการจุก จนพูดไม่ออกว่า จุกแอ้ด ๆ.
  34. แอนติบอดี : น. สารที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่น ๆ สร้างขึ้น เมื่อได้รับการ กระตุ้นโดยสารที่แปลกปลอมซึ่งเรียกว่า แอนติเจน. (อ. antibody).
  35. แอว : (ถิ่นพายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทําด้วยลําท่อนไม้ ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียง ด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลาย บานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).
  36. แอสไพริน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3COO?C6H4?COOH ชื่อทางเคมี คือ acetylsalicylic acid ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. ใช้ในทางการแพทย์เป็นยาลดไข้และ ระงับปวด. (อ. aspirin).
  37. โอ ๑ : น. (๑) ส้มโอ. (ดู ส้ม๑). (๒) ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง. (ดู จัน).
  38. โอ่ ๑ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือสำปั้น แต่มีขนาดเล็กและ เพรียวกว่า ล่มง่าย ผู้ชํานาญจึงจะพายได้.
  39. โอ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Thunnidae อยู่เป็นฝูง ห่างฝั่ง รูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ด เล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เช่น โอหม้อ หรือ โอดํา (Thunnus tonggol) โอลาย (Euthynnus affinis).
  40. โอ ๓ : น. ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งสําหรับใส่ของ รูปคล้ายขัน มีขนาด ต่าง ๆ, ต่อมาได้อนุโลมเรียกขันเคลือบทรงสูงว่า ขันโอ.
  41. โอ๊ก ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Quercus วงศ์ Fagaceae เนื้อไม้ ใช้ทําเครื่องเรือน. (อ. oak).
  42. โอ่ง : น. ภาชนะสําหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.
  43. โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
  44. โอด : น. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไป โดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.
  45. โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
  46. โอลิมปิก : น. เรียกการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ ๔ ปีในประเทศต่าง ๆ ตามแต่จะตกลงกันว่า กีฬาโอลิมปิก. (อ. Olympic games).
  47. โอ้เอ้ : น. เรียกการสวดกาพย์ลํานําเป็นทํานองอย่างที่นักเรียนสวดตาม ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.
  48. ไอยเรศ : [ยะเรด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  49. ไอเสีย : น. ไอที่เกิดจากการเผาไหม้ของนํ้ามันเครื่องยนต์ที่ขับถ่าย ออกทางท่อ, เรียกท่อที่ขับถ่ายไอเสียออกว่า ท่อไอเสีย.
  50. ไอออน : น. อะตอมหรือหมู่ของอะตอมที่ไม่เป็นกลาง มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ที่แสดงอํานาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า ไอออนบวก หรือ แคตไอออน (cation) ชนิดที่แสดงอํานาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าลบ เรียกว่า ไอออนลบ หรือ แอนไอออน (anion). (อ. ion).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | [6251-6300] | 6301-6307

(0.1922 sec)