Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แข็งทื่อ, แข็ง, ทื่อ , then ขง, ขงทอ, แข็ง, แข็งทื่อ, ทอ, ทื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แข็งทื่อ, 638 found, display 451-500
  1. หนามขี้แรด : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Acacia pennata Willd. ในวงศ์ Leguminosae ต้นมีหนาม เปลือกใช้ย้อมแหอวนและใช้ทํายาได้.
  2. หนามแดง : น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
  3. หนามพรม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa cochinchinensis Pierre ในวงศ์ Apocynaceae ต้นมีหนามแข็ง, พรม ก็เรียก.
  4. หมวกกะโล่ : น. หมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครง ทําด้วยไม้ฉําฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้า หรือทําด้วยใบลาน.
  5. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  6. หมากแปะ : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลมบาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากอีแปะ หรือ หมากหน้าแว่น ก็เรียก.
  7. หมากสุก : น. ผลหมากแก่จัด เปลือกสีส้มอมแดง เมื่อผ่าจะเห็นเนื้อใน แข็งมาก. ว. เรียกสีส้มอมแดงอย่างสีเปลือกหมากสุก ว่า สีหมากสุก.
  8. หมากหน้าแว่น : น. เนื้อหมากดิบสดทั้งลูกที่นำมาหั่นให้เป็นแผ่นกลม บาง ๆ ตากแดดจนแห้งแข็ง, หมากแปะ หรือ หมากอีแปะ ก็เรียก.
  9. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  10. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  11. หยก ๑ : น. หินแก้วมีลักษณะแข็งเป็นสีต่าง ๆ ใช้ทําเครื่องประดับและเครื่องใช้ เป็นต้น ถือว่าเป็นของมีราคา.
  12. หยวก ๑ : น. ลําต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวก กล้วยเช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของ กล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมากตัดกิ่งไม้ได้ง่าย เหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.
  13. หยาดน้ำฟ้า : น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้า หรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
  14. หล่อ : ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็น รูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อ พระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้ เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอา น้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.
  15. หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  16. หลักแจว : น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสําหรับยึดแจว; ชื่อทรงผมแบบหนึ่ง. (ดู ผมหลักแจว).
  17. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  18. หลาหละ : [หะลาหะละ] น. ยาพิษ. ว. ร้ายแรง, กล้าแข็งมาก, เข้มแข็ง. (ป.).
  19. หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
  20. หอยเม่น : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Echinoidea ไฟลัม Echinodermata รูปทรงกลมคล้ายผลส้ม มีหนามแข็งทั่วตัว อาศัยตามแนวปะการัง มีหลายชนิดหลายสกุล เช่น ชนิด Diadema setosum, เม่นทะเล ก็เรียก.
  21. หัวขวาน ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Picidae ไต่ตามต้นไม้ โดยใช้ปากเจาะต้นไม้เพื่อหากิน แมลง ขนหางแข็งช่วยพยุงตัวขณะไต่ต้นไม้ในแนวตั้ง เจาะต้นไม้เสียงดัง มาก ทํารังในโพรงไม้ สีสวย มีหลายชนิด เช่น หัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Chrysocolaptes lucidus) หัวขวานสีตาล (Celeus brachyurus).
  22. หัวขี้แต้ : น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะปํ่าอยู่ตามทุ่งนามักอูดขึ้นมาจาก รอยกีบเท้าวัวเท้าควาย.
  23. หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
  24. หางกิ่ว : น. (๑) ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ ในกลุ่มปลาหางแข็ง สีกุน หรือม่ง ลักษณะสําคัญคือ ลําตัวเพรียว แบนข้าง เล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบมาก เกล็ด บนเส้นข้างตัวที่คอดหางใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็ง อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx (Selar) mate ส่วนชนิดที่ใหญ่และยาวกว่าชนิดแรกมากคือ Caranx sexfasciatus สําหรับชนิดหลังนี้ สีขน ก็เรียก. (๒) ดู ม้า.
  25. หิงห้อย, หิ่งห้อย : น. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วง ของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลําตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
  26. หิน ๒ : (ปาก) ว. ยากมาก เช่น ข้อสอบหิน, เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้หิน, เหี้ยม มาก, แข็งมาก, เช่น เขาเป็นคนใจหิน.
  27. หินดาน : น. หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด มีแร่เช่นดีบุก ทองคำ รวมอยู่ด้วย.
  28. หินตับเป็ด : น. หินชนิดหนึ่ง สีดํา เนื้อแข็ง.
  29. หินทราย : น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือ เหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
  30. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  31. หินหนืด : น. หินที่อยู่ในสภาพของหนืด อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก เมื่อเปลือกโลกเกิดรอยร้าวจะอูดตัวแทรกซอนขึ้นมาสู่ผิวโลก และจะ แข็งตัวเป็นหินอัคนีพวกต่าง ๆ.
  32. หินอัคนี : [-อักคะนี] น. หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด.
  33. หูด ๑ : น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง.
  34. หูเสือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coleus amboinicus (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Labiatae ใบกลมแข็งกรอบมีขน กลิ่นฉุน กินได้.
  35. เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
  36. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  37. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  38. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  39. เหลว : [เหฺลว] ว. เป็นนํ้า, ไม่แข็ง; ไม่ได้เรื่อง.
  40. เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  41. เหี้ยมหาญ : ว. เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด, ห้าวหาญปราศจากความปรานี.
  42. อกสามศอก : ว. มีร่างกายกำยำล่ำสัน, แข็งแรง, (ใช้แก่ผู้ชาย).
  43. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  44. อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
  45. อ้วนท้วน : ว. อ้วนแข็งแรง.
  46. อ้อ ๑ : น. ชื่อหญ้าชนิด Arundo donax L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ในที่ชื้นแฉะ ลําต้นแข็งเป็นปล้อง ข้างในกลวง.
  47. ออกกำลัง : ก. ใช้กําลัง; บริหารร่างกายเพื่อให้แข็งแรง.
  48. อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
  49. อ่อนแอ : ว. มีกําลังน้อย, ไม่แข็งแรง, ไม่เข้มแข็ง.
  50. ออสเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐?ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. osmium).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-638

(0.1029 sec)