Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทา , then , ทะ, ทา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ทา, 769 found, display 101-150
  1. ทะลอก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Parinari anamense Hance ในวงศ์ Chrysobalanaceae ไม้ใช้ทําเครื่องบนและเครื่องล่างของเรือน เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันนํ้าซึมและผสมยางรักทําเครื่องเขิน.
  2. ทัง ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Vernicia วงศ์ Euphorbiaceae คือชนิด V. fordii Airy Shaw และชนิด V. montana Lour. เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันซึม.
  3. ทัน ๒ : ว. เป็นไปตามเวลาที่กําหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กําหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทัน พระศรีสรรเพชญ์เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  4. ทางม้าลาย : น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทา สีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.
  5. ทาฐะ, ทาฒะ : (แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทา?า; ส. ทาฒา).
  6. ทาฐิกะ, ทาฒิกะ : (ราชา) น. หนวด (ที่คาง), เครา. (ป. ทา??ก; ส. ทาฒิก).
  7. ท่าทา : ว. กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น เช่น ท่าทางดี ท่าทางไม่ดี, บางทีใช้ว่า ท่า ก็มี.
  8. ทายัช : (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
  9. ทาส, ทาส- : [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่ เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาทาสี ก็หมายความ ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  10. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  11. ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  12. นขเลขา : น. การขีดด้วยเล็บ; การทาเล็บ. (ส.).
  13. น้ำเงิน ๑ : ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวน เงินที่ส่งไป เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่ นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน.
  14. น้ำพริกเผา : น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  15. น้ำมันเขียว : น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย การบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
  16. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  17. น้ำมันมนตร์ : น. นํ้ามันมะพร้าวที่เสกเป่าด้วยเวทมนตร์คาถา เชื่อกันว่า ทาแก้เมื่อยขบเป็นต้น.
  18. น้ำมันยาง : น. นํ้ามันที่ได้จากต้นยาง ใช้ทาเรือ ทาบ้าน หรือผสมกับชัน ใช้ยาเรือได้.
  19. น้ำมันระกำ : น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จาก นวดไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
  20. น้ำมันหม่อง : น. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวด เนื่องจากแมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.
  21. น้ำรัก : น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Melanorrhoea และไม้พุ่มในสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทําให้มีสีดําแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อ ปิดทอง.
  22. นิทรา : [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาว นิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
  23. นินทา : น. คําติเตียนลับหลัง. ก. ติเตียนลับหลัง. (ป., ส. นินฺทา ว่า การติเตียน).
  24. ทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
  25. บริจาริกา : [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัด ใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  26. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  27. บุคลิกทา : [บุกคะลิกกะทาน] น. ทานที่ทายกให้จําเพาะตัวคน, คู่กับ สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่สงฆ์. (ตัดมาจาก ป. ปาฏิปุคฺคลิก ทาน).
  28. แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
  29. ปฏิปทา : [-ปะทา] น. ทางดําเนิน; ความประพฤติ. (ป.).
  30. ประทาศี : น. ทองประทากล้อง.
  31. ประธานาธิบดี : [ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี] น. ประมุขของประเทศ ที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
  32. ปรึก : [ปฺรึก] น. ชื่อนํ้ามันชนิดหนึ่ง โดยเอานํ้ามันยางมาปรุงหุงสําหรับ ทาไม้ต่าง ๆ.
  33. ป่านคม : น. เส้นด้ายชักว่าวที่เอาผงแก้วผสมกาวหรือแป้งเปียก เป็นต้นทาเพื่อให้คม.
  34. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  35. ปูนขาว : น. ปูนสุก ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ ทราย และนํ้า สําหรับ ฉาบทาฝาผนัง.
  36. ปูนผิว : น. ปูนขาวอย่างละเอียดใช้ฉาบทาพื้นนอกให้ขาวเป็นนวล.
  37. แป้งกระแจะ : น. แป้งที่ผสมผงกระแจะ ใช้ละลายน้ำ สำหรับทา หรือเจิม.
  38. แป้งฝุ่น : น. แป้งเป็นผงละเอียด ใช้ผัดหน้าหรือทาตัว.
  39. แป้งสารภี : [-สาระพี] น. แป้งที่เอาเกสรสารภีตําปนกับแป้ง สําหรับทาตัว.
  40. แปรผันแบบผกผัน : (คณิต) ก. ลักษณะที่จํานวนที่ ๑ เพิ่มขึ้นจาก เดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุให้จํานวนที่ ๒ ลดลงจากเดิมโดยสัดส่วน เท่า ๆ กัน หรือเมื่อจำนวนที่ ๑ ลดลงจากเดิมกี่เท่าก็ตาม เป็นเหตุ ให้จํานวนที่ ๒ เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยสัดส่วนเท่า ๆ กัน.
  41. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  42. ฝุ่น : น. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นชอล์ก; ผงขาว ๆ คล้ายแป้งใช้ผัดหน้าหรือทาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผัดหน้า.
  43. พฤฒ, พฤฒา : [พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).
  44. พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
  45. พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
  46. เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
  47. เพี้ยง : ว. เท่า, เสมอ, เหมือน. (ใช้ในโคลงแทน เพียง). อ. คําที่เปล่งออกมา เมื่ออธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  48. ภัณฑาคาร : [พันดาคาน, พันทาคาน] น. โรงไว้ของ, คลังเก็บของ. (ป.).
  49. ภัณฑาคาริก : [พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บ สิ่งของของสงฆ์. (ป.).
  50. ภัณฑารักษ์ : [พันทารัก] น. ผู้ดูแลรักษาสิ่งของ โดยมากได้แก่จำพวก โบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานเป็นต้น. (ส. ภาณฺฑารกฺษ).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-769

(0.0281 sec)