Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่านหญิง, หญิง, ท่าน , then ทาน, ท่าน, ทานหญง, ท่านหญิง, หญิง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่านหญิง, 774 found, display 151-200
  1. จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
  2. จิงโจ้ ๔ : น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
  3. จิ้มลิ้ม : ว. น่ารักน่าเอ็นดู (มักใช้แก่หน้าตาหญิงรุ่นสาว).
  4. เจ็ด : น. จํานวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราว เดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิง คนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).
  5. เจ็ดชั่วโคตร : น. วงศ์สกุลที่สืบสายโลหิต ซึ่งนับตั้งแต่ตัวเองขึ้นไป ๓ ชั้น คือ ชั้นพ่อ ชั้นปู่ และชั้นทวด กับนับจากตัวเองลงมาอีก ๓ ชั้น คือ ชั้นลูก ชั้นหลาน และชั้นเหลน รวมเป็นเจ็ดชั่วโคตร ไม่นับผู้หญิงรวมด้วย.
  6. เจา : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา. (กฎ. ๒/๒๖).
  7. เจ้าขา : ว. คําที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  8. เจ้าคะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  9. เจ้าค่ะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้ขานรับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  10. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  11. เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
  12. เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  13. เจ้าสาว : น. หญิงผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าบ่าว.
  14. เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
  15. เจี๊ยวจ๊าว : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมาก เป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า. ว. อาการที่ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อ ให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยว ก็ว่า.
  16. ฉมบ : [ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็น เงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
  17. ฉ่อย : น. ชื่อเพลงสําหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่า ปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสําคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.
  18. ฉอเลาะ : ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้ เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).
  19. ฉัยยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละคร สังข์ทอง). (ดู ชายา๒).
  20. ฉายา ๒ : (กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป. (มโนห์รา).
  21. เฉี่ยว : ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
  22. โฉมเฉลา : น. รูปร่างหล่อเหลา, หญิงงามหล่อเหลา.
  23. โฉมตรู : น. รูปงาม, หญิงงาม.
  24. โฉมยง : น. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชาย โฉมยง. (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน. (ลอ).
  25. ไฉยา : (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็น สมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา๒).
  26. ชนนี : [ชนนะนี] น. หญิงผู้ให้เกิด, แม่. (ป., ส.).
  27. ชมบ : [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.
  28. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  29. ชะต้า : (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
  30. ชักสื่อ : ก. แนะนําชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว.
  31. ชายา ๑ : (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.
  32. ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
  33. ชายานุชีพ : (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).
  34. ชารี : (แบบ) น. หญิงชู้, หญิงที่รัก. (ป., ส.).
  35. ชาววัง : น. พวกผู้หญิงที่อยู่ในวัง.
  36. ชิงเกิล : น. ชื่อทรงผมผู้หญิงที่ซอยผมด้านหลังไล่ระดับกันลงมา ถึงต้นคอ เรียกว่าผมชิงเกิล. (อ. shingle).
  37. ชิสา, ชีสา : สัน. แม้ว่า เช่น ชิสาท่านโอนเอา ดีต่อ ก็ดี. (ยวนพ่าย).
  38. ชี ๑ : น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).
  39. ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
  40. ชู้ : น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
  41. ชู้เหนือขันหมาก : (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิง คู่หมั้นของชายอื่น.
  42. ชู้เหนือผัว : (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงซึ่งสามี ยังมีชีวิตอยู่.
  43. ชู้เหนือผี : (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงที่สามีตาย ขณะที่ศพสามียังอยู่บนเรือน.
  44. ซิงโคนา : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinchona วงศ์ Rubiaceae เปลือก มีควินินใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น. น. ผ้าถุงอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงนุ่ง.
  45. โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
  46. โซงโขดง : [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
  47. ญี่ : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่.
  48. เฒ่าหัวงู : น. คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอก เด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์.
  49. ดก : ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่า ปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คน ที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
  50. ดนยา : [ดะนะยา] (แบบ) น. ลูกหญิง. (ป., ส. ตนย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-774

(0.1082 sec)