Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาคารบ้านเรือน, เรือน, อาคาร, บ้าน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาคารบ้านเรือน, 778 found, display 51-100
  1. เคียง : ว. ชิดกันโดยเรียงข้าง เช่น เดินเคียง นั่งเคียง, ใกล้กัน เช่น บ้านใกล้เรือนเคียง.
  2. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  3. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  4. ชุมแพรก : [แพฺรก] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Heritiera javanica Kosterm ในวงศ์ Sterculiaceae เนื้อไม้ใช้ทําบ้านและ เครื่องเรือนเป็นต้น.
  5. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  6. ตะเข้ ๒ : น. ตัวไม้จากกลางจั่วบ้านตรงมายังชายคา พาดเป็นมุม ๔ มุม มีเฉพาะ บ้านทรงปั้นหยาหรือทรงมนิลา; ไม้ยึดเสาเรือนหรือเสาเขื่อน.
  7. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  8. ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
  9. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  10. นอก : บ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียก ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
  11. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  12. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  13. ประตูป่า : น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สําหรับ พิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานําศพออกจากบ้าน.
  14. ปลูก : [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้ งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทํา ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
  15. ปลูกสร้าง : ก. เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พัก อาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปลูกสร้างเรือน, ปลูก ก็ว่า.
  16. ฝา : น. เครื่องปิดภาชนะต่าง ๆ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝาหม้อ ฝาโอ่งฝาท่อ; ฝ้าหรือเยื่อที่จับอยู่ข้างบนของเหลวเช่น นํ้านมเป็นต้น; เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือน โรงเป็นต้น เช่น ฝาบ้าน ฝาเรือน ฝาห้อง; ส่วนที่ปิดปากหอยหรือ หุ้มตัวหอยซึ่งเปิดได้, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ขนมถ้วยฝาหนึ่ง ขนมถ้วย ๒ ฝา.
  17. พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  18. พัสดุ : [พัดสะ] น. สิ่งของต่าง ๆ, เครื่องใช้ไม้สอย, ที่ดิน, บ้านเรือน. (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
  19. ฟ้าผ่า : น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจํานวนมาก เคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับพื้นโลก เกิดพลังงานสูงมากจนสามารถ ทําลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน; โดยปริยาย หมายความว่า คําสั่งด่วนที่ออกมาโดยไม่คาดหมายและไม่รู้เหตุผล.
  20. แมลงวันหัวเขียว : น. ชื่อแมลงหลายชนิดที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า อกและท้องโดยทั่วไปสีเขียว เขียวอมนํ้าเงิน หรือ นํ้าเงินเป็นมันวาว ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Calliphoridae ที่พบบ่อยตามบ้านเรือน คือ ชนิด Chrysomyia megacephala.
  21. ไม้ประดับ : น. ไม้ที่ปลูกไว้สำหรับประดับบ้านเรือนหรือสถานที่.
  22. รูปเงา : (ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูป ที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
  23. ฤษี : [รึ] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไป บําเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).
  24. ฤๅษี : น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบําเพ็ญ พรตแสวงหาความสงบ.
  25. ลืมคอน, ลืมรัง : ก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
  26. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  27. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  28. ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
  29. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  30. สมบัติพัสถาน : [สมบัดพัดสะถาน] น. ทรัพย์สิน ที่ดิน และบ้านเรือน.
  31. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  32. สวนป่า : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
  33. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  34. สัก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Tectona grandis L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็ง และคงทน ปลวกไม่กิน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทําเครื่องเรือน ใบและเนื้อไม้ใช้ทํายาได้. สักขี้ไก่ (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกะเปียด. (ดู กะเปียด).
  35. หน้าต่าง : น. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสง สว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.
  36. หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
  37. หมูสี ๒ : น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามี ลักษณะไม่ดี; เรียกจอมปลวกขนาดย่อมที่ขึ้นใต้ถุนบ้านว่า ปลวกหมูสี.
  38. หลักแหล่ง : น. ที่ซึ่งอยู่ประจํา เช่น ทำงานเป็นหลักแหล่ง ตั้งบ้านเรือนเป็น หลักแหล่ง.
  39. หอ : น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสําหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่ เรียกว่า เรือนหอ.
  40. แหล่งเสื่อมโทรม : น. บริเวณที่คนอาศัยอยู่อย่างแออัด ประกอบด้วยบ้านเรือน ที่ทรุดโทรมไม่ถูกสุขลักษณะ.
  41. กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
  42. กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  43. แก่บ้าน : (ถิ่น-พายัพ) น. ผู้ใหญ่บ้าน, นายบ้าน.
  44. ไก่บ้าน : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมี สีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มี สายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
  45. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  46. คู่บ้านคู่เมือง : ว. ที่เป็นของประจําบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.
  47. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  48. เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
  49. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  50. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน : (สํา) ก. นําศัตรูเข้าบ้าน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-778

(0.0384 sec)