Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นมงคล, เป็น, มงคล , then ปน, เป็น, เป็นมงคล, มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นมงคล, 8120 found, display 4301-4350
  1. ปล่อยนกปล่อยกา : (สํา) ก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้น จากความผูกพัน, ปล่อยลูกนกลูกกา ก็ว่า.
  2. ปล่อยมือ : ก. วางมือ, ไม่เอาเป็นธุระ.
  3. ปลัก : [ปฺลัก] น. แอ่งที่เป็นโคลนเลน เช่น ปลักควาย.
  4. ปลั๊ก, ปลั๊กไฟ : [ปฺลั๊ก] น. อุปกรณ์ไฟฟ้ามีขาโลหะ ๒ ขา (บางแบบมี ๓ ขา) ปลาย ข้างหนึ่งของแต่ละขาตรึงอยู่กับวัตถุหุ้ม ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้เสียบ เข้ากับเต้ารับเพื่อให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ครบวงจร, เต้าเสียบ ก็เรียก. (อ. plug).
  5. ปลัง : [ปฺลัง] น. ชื่อไม้เถาชนิด Basella alba L. ในวงศ์ Basellaceae ใบอวบนํ้า เถาและใบสีเขียวอ่อนหรือแดง มียางเป็นเมือก ผลสุก สีม่วงดํา ยอดและดอกอ่อนกินได้และใช้ทํายาได้, ผักปลัง ก็เรียก, พายัพเรียก ปั๋ง.
  6. ปลัดขิก : [ปะหฺลัด-] น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็น เครื่องรางของขลัง, อ้ายขิก ไอ้ขิก หรือ ขุนเพ็ด ก็เรียก.
  7. ปลา ๑ : [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วน หัว ลําตัว และหาง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือกยกเว้นปลาปอด มี ครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่าง ลักษณะ ขนาดและพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
  8. ปลาข้องเดียวกัน : (สํา) น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน.
  9. ปลาเงินปลาทอง : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae ซึ่งมีประวัติการคัดเลือกพันธุ์ในต่างประเทศ กันมานานนับพันปีจนมีลักษณะรูปร่างแปลกเพื่อเลี้ยงเป็นปลา สวยงามหรือปลาปล่อย เกล็ดทั่วลําตัวมักมีสีเงินหรือทอง แต่ก็อาจ เป็นสีดําหรือด่าง ตัวที่มีสีเหลืองหรือแดงส้ม เรียก ปลาทอง.
  10. ปลาจ่อม : น. ปลาเล็ก ๆ ที่หมักด้วยเกลือและข้าวคั่วเป็นต้น ใช้เป็น เครื่องจิ้ม.
  11. ปลาจีน : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae โดยเฉพาะที่ชาวจีนจากประเทศจีนได้นําเข้ามาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น ปลาเฉาฮื้อ (Ctenopharyngodon idellus) ปลาซ่งฮื้อ (Aristichthys nobilis) ปลาเล่งฮื้อ (Hypophthalmichthys molitrix) ทั้งยังอาจหมายถึง ปลาหลีฮื้อ หรือ ปลาไน (Cyprinus carpio) ด้วย.
  12. ปลาเจ่า : น. ปลาที่หมักด้วยเกลือและข้าวหมากเป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  13. ปลาแดง : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ด มีหนวด ในสกุล Kryptopterus วงศ์ Cyprinidae เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนที่ไม่มีครีบหลัง ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันแหลม ลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาล แดง ด้านข้างสีอ่อนกว่าจนเป็นสีขาวที่ท้อง เช่น ชนิด K. apogon ชะโอน เนื้ออ่อน นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก, ชนิด K. bleekeri นาง หรือ สะงั่ว ก็เรียก.
  14. ปลาตกน้ำตัวโต : (สํา) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกิน ความเป็นจริง.
  15. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  16. ปลาทอง ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Carassius auratus ในวงศ์ Cyprinidae เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีเกล็ดสีเหลืองหรือสีส้ม, ปลาเงินปลาทอง ก็เรียก.
  17. ปลาม้ำ : น. ปลาร้าญวน ทําด้วยปลาดิบหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็น เครื่องจิ้ม.
  18. ปลาร้า : น. ปลาหมักเกลือใส่ข้าวคั่วใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  19. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  20. ปลิง ๓ : น. ขั้วผลไม้ติดต่อกับก้าน โดยมากเป็นขั้วทุเรียนที่หลุดจากกันได้, ปากปลิง ก็เรียก.
  21. ปลิว : [ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดย ปริยายใช้เป็นคําเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินตัวปลิว.
  22. ปลูก : [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้ งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทํา ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
  23. ปลูกสร้าง : ก. เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พัก อาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกสร้างบ้าน ปลูกสร้างเรือน, ปลูก ก็ว่า.
  24. ป่วน : ก. มวน, อลวน, อาการที่ปวดมวนอยู่ในท้องเพราะอาหารเป็นเหตุ.
  25. ปวัตน-, ปวัตน์ : [ปะวัดตะนะ-, ปะวัด] น. ความเป็นไป. (ป.).
  26. ปวัตนาการ : น. อาการที่เป็นไป.
  27. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  28. ปวุติ : [ปะวุดติ] น. ความเป็นไป, เรื่องราว. (ป. ปวุตฺติ).
  29. ปเวณี : [ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากัน ตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).
  30. ปอก : ก. เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก, ถ้าเป็นผิวนอก ใช้ว่า ถลอก ก็ได้ เช่น หัวปอก พูดว่า หัวถลอก.
  31. ป่อง ๑ : น. ชื่อแมงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Scorpionida หัวติด กับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้อง เป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อ กันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีส่วนของปากขยายใหญ่โตกว่าขา ลักษณะเหมือน ก้ามปูใช้สําหรับจับเหยื่อ.
  32. ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
  33. ปอดชื้น : น. การอักเสบของหลอดลมที่มีเสมหะอยู่ด้วย ทางแพทย์ หมายถึง การคั่งของเลือดในปอดเนื่องจากการอักเสบ เป็นช่องทาง ให้เกิดปอดบวมได้.
  34. ป้อน : ก. เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน, โดยปริยายหมายถึง กิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินป้อน; ส่งวัตถุดิบแก่ โรงงานเพื่อให้เครื่องจักรผลิตเป็นสิ่งสําเร็จรูปหรือทําให้เครื่องจักร เกิดพลังงาน.
  35. ปอมข่าง : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อกิ้งก่าขนาดใหญ่ชนิด Calotes mystaceus ในวงศ์ Agamidae หัวสีนํ้าเงิน แต่บางครั้งเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลได้, ปอมขาง หรือ กะปอมขาง ก็เรียก.
  36. ปอย ๑ : น. กลุ่มก้อนหรือกระจุกเล็ก ๆ ของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยอย่างเส้นด้าย หญ้า ผม หรือขน เช่น ปอยผม, ลักษณนามเรียกกระจุกหรือกลุ่มก้อน ของสิ่งเช่นนั้น เช่น ผมปอยหนึ่ง ผม ๒ ปอย.
  37. ปะ : ก. มาเจอกัน, มาประเชิญหน้ากัน; เอาวัตถุเช่นผ้าหรือไม้เป็นต้นปิดทับ ส่วนที่ชํารุดเป็นช่องเป็นรู เช่น ปะผ้า ปะว่าว, ปิดทับ เช่น ปะหน้า. ปะว่า สัน. ถ้าว่าเจอ.
  38. ปะการัง : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จําพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็น กระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตาย ทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลําดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือก ปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.
  39. ปะกำ : น. ไม้ที่ทําเป็น ๒ ขาสําหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.
  40. ปะงาบ, ปะงาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ พะงาบ หรือ พะงาบ ๆ ก็ว่า.
  41. ปะหัง : น. เครื่องใช้ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสําหรับใส่หญ้าให้ วัวควายกิน.
  42. ปัก : ก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบิน ปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือ ดิ้นเป็นต้นแล้วแทงแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.
  43. ปักจักร : ก. เย็บให้เป็นลวดลายด้วยจักรเย็บผ้า.
  44. ปักเป้า ๑ : [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาว ตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
  45. ปักษาสวรรค์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Strelitzia reginae Banks ex Dryand. ในวงศ์ Musaceae ใบเรียงสลับซ้อนกันเป็นแผง ดอกสีนํ้าเงิน มีกาบสีส้ม รูปคล้ายปีกนกหุ้มอยู่.
  46. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  47. ปัจจุทธรณ์ : [ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
  48. ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
  49. ปัจยาการ : [ปัดจะยา-] (แบบ) น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
  50. ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | [4301-4350] | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8120

(0.3057 sec)