Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นมงคล, เป็น, มงคล , then ปน, เป็น, เป็นมงคล, มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นมงคล, 8120 found, display 6501-6550
  1. วรรณกรรม : น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิด ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัย รัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรม คอมพิวเตอร์ด้วย.
  2. วรรณพฤติ : หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
  3. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี.
  4. วรรณศิลป์ : น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
  5. วลัย : [วะไล] น. กําไลมือ, ทองกร; ของที่เป็นวงกลม, วงกลม. (ป., ส.).
  6. วลี : [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
  7. วสุ : น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวาร ของพระอินทร์. (ป., ส.).
  8. วอ : น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
  9. วอก : น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป ว่า หน้าวอก.
  10. ว่อน : ว. อาการที่เคลื่อนไปในอากาศเป็นฝูงหรือเป็นจำนวนมาก เช่น แมลงบินว่อนกระดาษปลิวว่อน, อาการที่บินวนเวียนไปมา เช่น แมลงวันตัวนี้บินว่อนอยู่ในห้องนานแล้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินกันว่อน ข่าวลือว่อน.
  11. วอลเลย์บอล : น. กีฬาอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๖ คน แต่ละฝ่าย ต้องใช้มือตีหรือตบลูกบอลข้ามตาข่ายโต้กันไปมา. (อ. volley ball).
  12. วะ ๑ : ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
  13. วะ ๒ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทาง ย้ำหรือเน้นคำ.
  14. วัก ๒ : ก. เซ่น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น เซ่นวัก.
  15. วัคซีน : น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทํา ให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สําหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อ กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
  16. วัง ๑ : น. ที่อยู่ของเจ้านาย, ถ้าเป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียก พระราชวัง หรือ พระบรมมหาราชวัง; ห้วงนํ้าลึก เช่น วังจระเข้. ก. ล้อม, ห้อมล้อม.
  17. วังหลวง : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
  18. วังหลัง : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
  19. วัฏ, วัฏฏะ : [วัดตะ] (แบบ) น. วงกลม; การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการ เวียนเกิดเวียนตาย. ว. กลม, เป็นวง. (ป.; ส. วฺฤตฺต).
  20. วัดแดด : ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่น พอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
  21. วัดราษฎร์ : น. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้า บัญชีเป็นพระอารามหลวง.
  22. วัดหลวง : (ปาก) น. พระอารามหลวง, วัดที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงสร้างหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจํานวนในบัญชี เป็นพระอารามหลวง.
  23. วัตถุดิบ : น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้า สําเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  24. วัตถุนิยม : น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้ คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
  25. วัตถุประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น วัตถุประสงค์ของ มัธยมศึกษาก็เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และมีคุณธรรม, จุดประสงค์ ก็ว่า.
  26. วัตถุวิสัย : ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
  27. วัตนะ : [วัดตะนะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่. (ป. วตฺตน; ส. วรฺตน).
  28. วันโกน : น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระ วันหนึ่งเดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่าและ แรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
  29. วันครู : (โหร) น. วันพฤหัสบดี; วันที่ระลึกถึงครู ปัจจุบันกำหนด วันที่ ๑๖ มกราคมของปีเป็นวันครู.
  30. วันจม : (โหร) น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้าม ทํากิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย.
  31. วันพระ : น. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือน หนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.
  32. วันพระไม่มีหนเดียว : (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
  33. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  34. วันแรงงาน : น. วันหยุดงานเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ใช้แรงงาน ตรงกับ วันที่ ๑ พฤษภาคม, วันกรรมกร ก็เรียก.
  35. วันแล้ววันเล่า : ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
  36. วันวิสาขบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.
  37. วันสุกดิบ : น. วันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกําหนดวันงานพิธี ๑ วัน.
  38. วันอาสาฬหบูชา : [สานหะ, สานละหะ] น. วันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
  39. วันอุโบสถ : น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาด ก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็น วันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
  40. วับ ๆ, วับวาบ, วับวาม, วับแวบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสง หรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
  41. วัยงาม : น. ลักษณะของหญิงที่ดูงามทุกวัย เป็นลักษณะอย่าง ๆ ในเบญจกัลยาณี.
  42. วัยวุฒิ : [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ. (ป. วย + วุฑฺฒิ).
  43. วัว ๑ : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos taurus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลนวล เขาโค้ง สั้น มีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอ ถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.
  44. วัวเขาเกก : น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึง คนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
  45. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  46. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  47. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  48. วากยสัมพันธ์ : น. ชื่อตําราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็น ประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคําในประโยค.
  49. ว่ากล่าว : ก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
  50. ว่าเข้านั่น : (ปาก) เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่แสดงว่าเรื่อง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวนั้นไม่น่าเชื่อถือเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | [6501-6550] | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8120

(0.3126 sec)