Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นมงคล, เป็น, มงคล , then ปน, เป็น, เป็นมงคล, มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นมงคล, 8120 found, display 6551-6600
  1. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  2. วางก้าม : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางโต ก็ว่า.
  3. วางข้อ : ก. แสดงท่าทางว่าเก่งกล้า, แสดงท่าทางอวดดี, เช่น ทำวางข้อเป็นลูกเศรษฐี.
  4. วางโต : ก. ทําท่าใหญ่โต, ทําท่าเป็นนักเลงโต, วางก้าม ก็ว่า.
  5. วางทรัพย์ : (กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุ แห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้อง ชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัด ไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  6. วางท่า : ก. ทําท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.
  7. วางผังเมือง : ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน เป็นส่วนรวม.
  8. วางแผน : ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป, วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
  9. วางมาด : ก. แสดงท่าทางให้เห็นว่าใหญ่โตหรือมีอํานาจเป็นต้น เช่น วางมาดเป็นดารา.
  10. วางมือ : ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทําอยู่ชั่วคราว หรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
  11. ว้างเวิ้ง : ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง.
  12. วาจก : น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก. (ป., ส.).
  13. วาณิช, วาณิชกะ : [วานิด, วานิดชะ] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า เป็นพ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).
  14. วาด ๑ : ก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้ วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศ เสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขน อย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรํา.
  15. วาด ๒ : ก. พายเรือโดยกวาดพายเป็นแนวโค้งเข้าหาตัว, ตรงข้ามกับ คัด.
  16. วาดภาพ : ก. วาดเป็นภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วาดภาพคน วาดภาพทิวทัศน์.
  17. ว่าที่ : ก. รั้งตำแหน่งหรือยศ (ใช้แก่ทหารหรือตำรวจ) เช่น ว่าที่ร้อยตรี ว่าที่พันตำรวจโท; (ปาก) รั้งตำแหน่งที่จะเป็นต่อไป เช่น ว่าที่พ่อตา.
  18. ว่านมหาเมฆ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma aeruginosa Roxb. ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย ขณะออกดอก ไม่มีใบ ดอกสีเหลืองเป็นช่อตั้ง อยู่ระหว่างใบประดับสีขาวซึ่งมี ปลายสีชมพู ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก ดอกอาว.
  19. วาเนเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๓ สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๑๙๐๐บซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือ. (อ. vanadium).
  20. ว่าไปทำไมมี : ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.
  21. วาม ๑, วาม ๆ : ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงามว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
  22. วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
  23. ว้าย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจหรือดีใจเป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง).
  24. ว่ายน้ำหาจระเข้ : (สํา) ก. เสี่ยงเข้าพบทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตราย.
  25. ว่ายหล้า : (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).
  26. วาโยธาตุ : น. ธาตุลม เป็นธาตุ ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป.).
  27. วาระจร : น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามา พิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
  28. วาล์ว : น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทําหน้าที่ เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สําหรับให้ อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่ง เรียกว่า ลิ้นไอเสีย สําหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจาก ห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. (อ. valve).
  29. วาลวีชนี : [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).
  30. ว่าลับหลัง : ก. นินทา. ว่าแล้ว เป็นคำที่เปล่งออกมาในลักษณะที่ได้เกิดเหตุการณ์ ตรงตามที่ได้ว่าไว้ เช่น ฉันว่าแล้วไม่ผิดไปจากที่พูดเลย. ว่าแล้วว่าอีก ก. พูดหรือตำหนิติเตียนซ้ำซาก.
  31. วาว : ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  32. ว่าว ๑ : น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสาย ซุงสําหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.
  33. ว่าวขาดลอย : (วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะ เป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
  34. วาววาม : ว. เป็นแสงวูบวาบ เช่น แสงเพชรวาววาม.
  35. วาฬ ๒ : [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อ ช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลา โผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติ ไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
  36. วิกลจริต : [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
  37. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  38. วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  39. วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  40. วิฆเนศ, วิฆเนศวร : [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
  41. วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
  42. วิ่งกระสอบ : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่ง แข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งสวมกระสอบ ก็ว่า.
  43. วิ่งเก็บของ : ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้ว ไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
  44. วิ่งแข่งกัน : ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งกระสอบ ก็ว่า.
  45. วิ่งเปี้ยว : น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
  46. วิ่งผลัด : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรก จะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คน ที่๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่ง ถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
  47. วิ่งวิบาก : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่ง ระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อใครถึงเส้นชัยก่อน เป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับ การแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็น ผู้ชนะ.
  48. วิงเวียน : ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้ ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
  49. วิ่งสามขา : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวา ของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
  50. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | [6551-6600] | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8120

(0.3274 sec)