Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นมงคล, เป็น, มงคล , then ปน, เป็น, เป็นมงคล, มงคล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นมงคล, 8120 found, display 7801-7850
  1. อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
  2. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  3. อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
  4. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  5. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  6. อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
  7. อาคารชุด : (กฎ) น. อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง. (อ. condominium).
  8. อ้าง : ก. ระบุ, บ่งถึง, เช่น อ้างพยาน; กล่าวถึง, ชี้เป็นหลัก, เช่น อ้างบาลี; ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ.
  9. อ่าง ๒ : ว. อาการที่พูดไม่ใคร่ออกทันใจ คือกว่าจะพูดได้แต่ละคําต้องยํ้า เป็นอ่าง หรือ พูดติดอ่าง.
  10. อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
  11. อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
  12. อาจิณสมาจาร : [อาจินนะสะมาจาน] น. มรรยาทที่เคยประพฤติมา จนติดเป็นนิสัย. (ป. อาจิณฺณสมาจาร).
  13. อาจิณ, อาจิณ : [จิน, จินนะ] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
  14. อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
  15. อาชญากร : [อาดยากอน, อาดชะยากอน] น. ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา.
  16. อาชญาสิทธิ์ : [อาดยาสิด, อาดชะยาสิด] น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิ ที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น, อาญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็น เครื่องหมาย ซึ่งเรียกว่า พระแสงอาชญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาญาสิทธิ์.
  17. อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
  18. อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
  19. อาชีพ, อาชีว, อาชีวะ : น. การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).
  20. อาญาสิทธิ์ : น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น, อาชญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสง อาญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาชญาสิทธิ์.
  21. อาตมภาพ, อาตมา ๑ : [พาบ, อาดตะมา] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด สําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).
  22. อาทาน : น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).
  23. อาทิ : น. ต้น ในคําว่า เป็นอาทิ, เป็นเบื้องต้น, ทีแรก, ข้อต้น. (ป., ส.).
  24. อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
  25. อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
  26. อาทึก : ว. เป็นที่ต้น, ก่อน, แรก, เบื้องต้น. (ป. อาทิก).
  27. อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  28. อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
  29. อาธาน : [ทาน] น. การตั้งไว้, การวางไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จิตกาธาน. (ส.).
  30. อาน ๕ : (ถิ่นปักษ์ใต้) ว. เป็นหมัน, ไม่มีลูก, (ใช้เฉพาะสัตว์).
  31. อานนท์ ๑, อานันท์ : น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).
  32. อานะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู), อะนะ หรือ อะหนะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  33. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  34. อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
  35. อาโปกสิณ : [กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอา ธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.
  36. อาโปธาตุ : น. ของเหลวที่เอิบอาบซาบซึมไปได้ นับเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ = ธาตุนํ้า ๓. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ = ธาตุลม. (ป., ส.).
  37. อาพาธิก, อาพาธึก : ว. เป็นไข้, เจ็บป่วย, เป็นโรค. (ป., ส.).
  38. อาเพศ : [เพด] น. เหตุที่เกิดขึ้นอย่างผิดปรกติวิสัย ถือว่าเป็นลางไม่ดี. (อาจมาจาก ส. อาเวศ).
  39. อาภรณ์ : [พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคําสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่อง ประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่อง ประดับร่างกาย ในคําว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะ เป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).
  40. อาภัพเหมือนปูน : (สำ) ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใคร มองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่าง ประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึง ปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก.
  41. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  42. อ้ายขิก : น. ขุนเพ็ด, ปลัดขิก ก็เรียก, เขียนเป็น ไอ้ขิก ก็มี.
  43. อ้ายเจี๊ยว : (ปาก) น. กระเจี๊ยว, เขียนเป็น ไอ้เจี๊ยว ก็มี.
  44. อ้ายชื่น : น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ตัวสีดํา ขนาดไล่เลี่ยกับ มดแดง อาศัยเป็นกลุ่มอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นส้ม มักจะเลี้ยงเพลี้ย ซึ่งอาจเป็นเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยหอย เมื่อถูกรบกวนมักรวมกลุ่ม ต่อยและกัด เช่น พวกที่อยู่ในสกุล Camponotus, Diacamma และ Polyrachis, ชื่น ก็เรียก.
  45. อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
  46. อายน : [ยน] น. การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ. (ป., ส.).
  47. อายัน ๒ : น. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึงการมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).
  48. อายุรเวท : น. วิชาแพทย์, วิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา. (ถือกันว่าเป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์และเป็นส่วนหนึ่งของอถรรพเวท). (ส.).
  49. อาร์กอน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๘ สัญลักษณ์ Ar เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏอยู่ใน อากาศประมาณร้อยละ ๐.๙๔ โดยปริมาตร ใช้ประโยชน์นําไป บรรจุในหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสง. (อ. argon).
  50. อารทรา, อทระ : [อาระทฺรา, อะทฺระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๖ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปฉัตร, ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | [7801-7850] | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8120

(0.2843 sec)