ค่าย : น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ; ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี. (อะหมว่า ล้อม).
คาย ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะเป็นผงหรือขนละเอียดแหลมคมของบางสิ่งบางอย่าง เวลากระทบผิวหนังทําให้รู้สึกระคายคัน เช่น คายข้าว คายอ้อย คายไผ่. ว. อาการที่รู้สึกว่าผงหรือขนเช่นนั้นกระทบตัวทําให้รู้สึกระคายคัน.
ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
ค่ายเยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดขึ้นหรือใช้ฝึกอบรมเยาวชนให้รู้จักการ ดํารงชีวิตเป็นหมู่คณะโดยให้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ให้รู้จักช่วยตัวเอง ช่วยหมู่คณะ รู้จักระเบียบวินัย.
คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
คาร์บอนมอนอกไซด์ : [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้ โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของ เครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
คาร์บอเนต : น. เกลือปรกติของกรดคาร์บอนิก เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของหินปูน หินอ่อน กระดูก เป็นต้น. (อ. carbonate).
คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
คาร์โบไฮเดรต : [-เดฺรด] น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาล และ พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สําคัญ มากประเภทหนึ่ง. (อ. carbohydrate).
คาราวาน : น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น ขบวนยาว. (อ. caravan).
ค่าว : (ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรําพันความรัก หรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจําปาสี่ต้น หมายถึง คํากลอนเรื่องจําปาสี่ต้น.
คาวตอง : [คาว-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Houttuynia cordata Thunb. ในวงศ์ Saururaceae ใบใช้เป็นอาหาร, พลูคาว ก็เรียก.
ค่าสินไหมทดแทน : (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการ ผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
ค่าหัว : น. ราคาที่กําหนดไว้เป็นค่าเอาชีวิต.
คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
คำขวัญ : น. ถ้อยคําที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล.
คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
ค้ำเงิน : (กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียก บุคคลซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.
คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
คำใต้ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Acacia farnesiana (L.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง เป็นพุ่ม ต้นมีหนาม, กระถินหอม ก็เรียก.
คำแถลง : [-ถะแหฺลง] (กฎ) น. คําชี้แจงต่อศาลด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
คำบอกกล่าว : (กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจาไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนอง ในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับ จำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำ บอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
คำผวน : น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.
คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
คำรบ : น. ครั้งที่ เช่น เป็นคํารบ ๓.
คิด : ก. ทําให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจ; ใคร่ครวญ, ไตร่ตรอง, เช่น เรื่องนี้ยากยังคิดไม่ออก; คาดคะเน เช่น คิดว่าเย็นนี้ฝนอาจจะตก; คํานวณ เช่น คิดเลขในใจ; มุ่ง, จงใจ, ตั้งใจ, เช่น อย่าคิดร้ายเขาเลย; นึก เช่น คิดละอาย.
คิลานปัจจัย : น. ปัจจัยสําหรับคนไข้, วัตถุเป็นเครื่องอาศัยของผู้เจ็บไข้, ยารักษาโรค. (ป.).
คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
คีบ : ก. เอาปลายสิ่งที่เป็นง่ามเช่นคีมหรือปลายไม้ ๒ อันจับสิ่งอื่นให้อยู่.
คีรีบูน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Fringillidae มีหลายชนิดและหลายสี ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปยุโรป กินเมล็ดพืช เป็นนกเลี้ยงใส่กรงไว้ฟัง เสียงร้องซึ่งไพเราะ ที่นิยมคือ ชนิดสีเหลือง (Serinus pusillus) และชนิดสีชมพู (Carpodacus erythrinus).
คืนตัว : ก. ลักษณะที่สารละลายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทําให้เป็นของแข็ง แล้วกลับเป็นของเหลวอีก เช่น นํ้าตาลคืนตัว, ลักษณะที่ของแข็งที่ทํา ให้เป็นของเหลวแล้วกลับเป็นของแข็งอีก เช่น โลหะคืนตัว.
คุกกี้ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี ไข่ เนย น้ำตาล เป็นต้น ทําเป็น ชิ้นเล็ก ๆ แล้วอบให้กรอบ. (อ. cookie).
คุกพาทย์ : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรําในท่าที่ดุร้าย.
คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
คุณชาย : (ปาก) น. คําที่ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นชาย.
คุณนาม : [คุนนะ-] น. ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยถือเอาความดีเป็นหลัก เช่น พระปิยมหาราช; (ไว; เลิก) คําคุณที่มาใช้เป็นนาม เช่น ความดีความชอบ.
คุณนาย : น. คํายกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยัง มิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ.
คุณประโยชน์ : [คุนนะปฺระโหฺยด, คุนปฺระโหฺยด] น. ลักษณะที่เป็น ประโยชน์ เช่น สมุนไพรมีคุณประโยชน์ในการทำยารักษาโรคได้.
คุณวุฒิ : [คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.
คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
คุดทะราด : น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เป็นแผลเรื้อรัง บางรายแผลนั้นบาน เหวอะหวะออก มีกลิ่นเหม็น เป็นแม่แผลให้เกิดแผลอื่นจําพวก เดียวกันพุออกไปอีก.