คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
คุ้นเคย : ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกัน มานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทําบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืด ได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.
คุม ๒ : ก. รวมสิ่งที่กระจายอยู่ให้เข้าชุดเข้าพวกเป็นระเบียบเดียวกัน เช่น คุมยา คุมเรือน.
คุมธาตุ : ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ สมํ่าเสมอกัน.
คุย ๑ : ก. พูดจาสนทนากัน; (ปาก) ปรึกษาหารือ เช่น เรื่องนี้ขอคุยกันก่อน ที่จะตัดสินใจ; พูดเป็นเชิงโอ้อวด เช่น เรื่องแค่นี้ทำเป็นคุย.
คุลิก่า : น. เม็ดกรวดที่อยู่ในกระเพาะสัตว์บดเอื้อง เมื่อนานเข้าก็มีเมือกเกาะ เป็นเม็ดกลม ถือกันว่าเป็นยาถอนพิษ. (ม. guliga).
คู ๑ : น. ร่องนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อชักน้ำหรือเก็บนํ้าไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
คู่คี่ : ว. ไล่เลี่ยกัน เช่น เขามีคะแนนคู่คี่กัน. น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ที่ถือจํานวนคู่หรือจํานวนคี่เป็นหลัก.
คู่โค : (โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับ นาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [``ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจํานวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทํานาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทํานาในที่ เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จํานวนโคขึ้นตั้งเป็น อัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทําหรือมิทํา จึงต้องเสียหางข้าว'' -พงศ. ร. ๒].
คู่ฉบับ : (กฎ) น. หนังสือหรือเอกสารที่ทําขึ้นเป็นต้นฉบับตั้งแต่ ๒ ฉบับขึ้นไป มีข้อความตรงกัน โดยฉบับหนึ่งเป็นคู่ฉบับของ อีกฉบับหนึ่ง.
คู่ฉีก : (กฎ) น. ตั๋วแลกเงินเป็นสํารับ ซึ่งออกเป็น ๒ ฉบับหรือกว่านั้น มีข้อความตรงกันทุกฉบับ มีหมายเลขลําดับลงไว้ในตัวตราสารนั้นเอง และถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินฉบับเดียว.
คู่ชีวิต : น. ผู้ร่วมเป็นร่วมตาย, ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข, สามีหรือภรรยา.
คู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและ ยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย).
คู่บ้านคู่เมือง : ว. ที่เป็นของประจําบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.
คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
คู่ปรปักษ์ : น. ผู้ที่เป็นศัตรูกัน.
คู่พระคู่นาง : น. ผู้แสดงเป็นตัวพระเอกและนางเอกในละคร ลิเก เป็นต้น.
คู่มิตร : (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาถูกกัน เป็นมิตรกัน, ผู้ที่รักใคร่กัน ไม่เป็นภัยแก่กัน ตรงข้ามกับ คู่ศัตรู.
คู่รักคู่แค้น : น. ผู้ที่เป็นคู่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมาโดยต่างผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ.
คูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. curium).
คู่ลำดับ : (คณิต) น. สิ่ง ๒ สิ่งที่จัดเข้าวงเล็บให้อยู่คู่กัน ซึ่งคํานึงถึง การเรียงลําดับก่อนหลังเป็นหลักสําคัญ โดยถือว่า (a, b) ต่างกับ (b, a).
คู่เวรคู่กรรม : น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความ เดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกัน มาแต่ชาติก่อน.
คู่ศัตรู : (โหร) น. ผู้ที่มีชะตาไม่ถูกกัน เป็นศัตรูกัน, ผู้ที่เป็นภัยแก่กัน, ตรงข้ามกับ คู่มิตร.
คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา กันมาแต่ชาติก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า.
คู่หมั้น : น. ชายหญิงที่ได้หมั้นกันแล้ว; (กฎ) ชายและหญิงซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น.
คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
คู่อริ : น. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นศัตรูกัน.
เค้เก้ : (ปาก) ว. ไม่เป็นท่า (ใช้แก่อาการหกล้มหรือนอนเป็นต้น) เช่น หกล้มเค้เก้ นอนเค้เก้.
เค้ง : (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า.
เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
เคมี : น. วิทยาศาสตร์กายภาพแขนงหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวและสมบัติ ของสารต่าง ๆ ว่าประกอบกันขึ้นเป็นสารนั้น ๆ ได้อย่างไร และเมื่อ สารนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปเป็นสารอื่นได้ปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างไร ทั้งกล่าวถึงการที่จะสังเคราะห์สาร นั้น ๆ ขึ้นได้อย่างไรด้วย แบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ อีกหลายสาขา เช่น เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ชีวเคมี เคมีกายภาพ เคมีวิเคราะห์. (อ. chemistry).
เคยตัว : ก. ติดเป็นนิสัยประจําตัว.
เคยปาก : ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.
เคยมือ : ก. ทําอย่างนั้นเสมอ ๆ, ทําจนเป็นนิสัย.
เครดิตฟองซิเอร์ : (กฎ) น. กิจการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหา ริมทรัพย์เป็นทางค้าปรกติ หรือกิจการรับซื้อฝากหรือกิจการอื่น เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกําหนด.
เคราหณี : [เคฺราหะนี] (แบบ) น. ครรภ์ เช่น สํสุทธเคราหณี ว่า มีครรภ์เป็นที่ ปฏิสนธิอันหมดจดดี. (ป. คหณี; ส. คฺรหณี).
เคราะห์ ๑ : [เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่า มีเทวดาประจําแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นําผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มัก นิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).
เคราะห์ ๒ : [เคฺราะ] (ดารา) น. เรียกดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ ว่า ดาวเคราะห์ มี ๙ ดวง เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ออกไป คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) ยม (Pluto).
เครียว : [เคฺรียว] (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
เครือ ๑ : [เคฺรือ] น. เถาไม้, เรียกพรรณไม้ที่เป็นเถาว่า เครือ เช่น มะกลํ่าเครือ มะแว้งเครือ ขมิ้นเครือ; เชื้อสาย, วงศ์วาน, เช่น เครือญาติ; เรียกงวง ที่มีหวีกล้วยติดอยู่ว่า เครือกล้วย; เรียกงาช้างที่ยาวมาก แต่วงรอบเล็ก ว่า งาเครือ.
เครือเขาน้ำ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma lanceolarium Planch. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลําต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลําต้นกินได้.
เครื่อง : [เคฺรื่อง] น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสําหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสํารับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสํารับกับแป้งเครื่องสําอาง, ของใช้ของกิน สำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย.
เครื่องกล : น. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่ เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่น ในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).
เครื่องเขิน : น. เครื่องสานที่ทำจากผิวไม้ไผ่ซึ่งนำมาเรียดแล้วทำเป็นโครง ฉาบด้วยรักสมุกหรือรักชาดเพื่อกันน้ำรั่วซึม ไทยได้รับวิธีการทำมาจาก ไทยเขินซึ่งอยู่ในยูนนานตอนใต้ จึงเรียกว่า เครื่องเขิน.
เครื่องควบแน่น : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับทําให้ไอแปรสภาพเป็น ของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง; (ไฟฟ้า) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ สําหรับเก็บประจุไฟฟ้าไว้ได้เป็นปริมาณมากกว่าแผ่นตัวนําธรรมดา ที่มีขนาดเท่ากัน, มักเรียกทับศัพท์ว่า คอนเดนเซอร์. (อ. condenser).
เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
เครื่องจักร : น. กลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่อง เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. machinery).
เครื่องบน : น. ตัวไม้ที่เป็นส่วนของหลังคา เช่น ขื่อ จันทัน แป กลอน.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.