งูกินหาง ๓ : (สํา) ว. เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอด ๆ.
งูสวัด : น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบ อย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตาม ผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
เงา : น. ส่วนที่มืดเพราะมีวัตถุบังแสงทําให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น; รูปที่ปรากฏ ในของใสหรือเป็นมันเช่นนํ้าหรือกระจก; (แสง) อาณาเขตหลังวัตถุที่แสง เคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมดหรือไปถึง ได้บ้าง. ว. เป็นมัน เช่น ขึ้นเงา.
เงาตามตัว : (สํา) น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่ เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้น ราคาเป็นเงาตามตัว.
เงามัว : (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้น แล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบ บริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส.
เงินก้นถุง : น. เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อ เก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก.
เงินก้อน : น. เงินที่จ่ายทีเดียวทั้งหมด, เงินที่สะสมไว้เป็นจํานวนมาก ๆ.
เงินขวัญถุง : น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล.
เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
เงินดาวน์ : (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
เงินเดือน : น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน.
เงินตรา : (กฎ) น. เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร.
เงินตาย : (โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นําออกใช้.
เงินถึง : ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า.
เงินทองตรา : (โบ) น. เงินตราที่ทําด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกใน โอกาสต่าง ๆ.
เงินปี : (กฎ) น. เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือ ข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสํานัก พระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัดหรือ เบี้ยหวัดเงินปี.
เงินแป : (โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).
เงินมุ่น : น. เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี.
เงินยวง : น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็น มันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้าง อยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
เงินเยอรมัน : น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver).
เงินรายปี : น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปี ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัย สัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงิน ให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
เงินแล่ง : น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า.
เงินสเตอร์ลิง : น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มี องค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคําร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).
เงินหลวง : (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
เงียบ : ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่ แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
เงี้ยว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทย สมัยก่อน.
เงือก ๒ : น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา.
เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
เงื่อน ๑ : น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
เงื่อนไข : น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล หรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในอนาคต.
เงื่อนไขบังคับก่อน : (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว.
เงื่อนเวลา : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือ สิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
เงื่อนเวลาเริ่มต้น : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
แง่ ๑ : น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
แง่ง ๑ : น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น.
แง่งขิง : น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบ แตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
แง่งอน : น. อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
จ : พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็น ตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ.
จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
จงอาง : น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทา หรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก.
จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
จดหมายเหตุ : น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อ ใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
จตุบริษัท : น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.).
จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
จนได้ : ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้.
จนแล้วจนรอด : ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้.
จมเบ้า : ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ.
จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).