ใช้ : ก. บังคับให้ทํา เช่น ใช้งาน; จับจ่าย เช่น ใช้เงิน; เอามาทํา ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เรือ ใช้รถ; ชําระ ในคําว่า ใช้หนี้; ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เมื่อเขาเลี้ยงเราเราต้องเลี้ยงใช้เขา.
ใช้กำลังประทุษร้าย : (กฎ) ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือ จิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธี อื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใด อันคล้ายคลึงกัน.
ซ : พยัญชนะตัวที่ ๑๑ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กอซ.
ซ่งฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Aristichthys nobilis ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลําตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม ที่สําคัญคือ มีหัวโตและกว้าง เกล็ดเล็ก เรียบ หากินอยู่ตามพื้นท้องนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีนนําเข้ามา เลี้ยงเป็นอาหาร.
ซน ๑ : ก. อาการที่อยู่ไม่สุขจับโน่นฉวยนี่หรือเล่นไม่เป็นเรื่องเป็นราว ทําให้เดือดร้อนเสียหาย.
ซม : ว. อาการอย่างเป็นไข้ในระยะรุนแรงถึงกับนอนจนไม่อยากลืมตา เรียกว่า นอนซม.
ซวดเซ : ก. เอนไป, เอียงไป, จวนล้ม, เสียหลัก, (มักใช้แก่ฐานะความเป็นอยู่) เช่น ฐานะซวดเซ.
ซอกแซก : ก. ดั้นด้นไปทุกซอกทุกมุมทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะไป เช่น ซอกแซกไป, เสาะค้นขึ้นมาถามแม้ในเรื่องที่ไม่น่าถาม เช่น ซอกแซกถาม. ว. ทุกแง่ทุกมุม เช่น ถามซอกแซก, เสาะหาสรรหา มากิน เช่น กินซอกแซก, เป็นซอกเป็นตรอกมาก เช่น ทางซอกแซก.
ซอง : น. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทําขึ้นสําหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่ บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสําหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่งบุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่าง คล้ายกระบอก แต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทําด้วยไม้ไผ่ เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สําหรับใส่ หัวผักกาดเค็มเป็นต้น. (รูปภาพ ซอง)
ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
ซ้องแมว : น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Gmelina philippensis Cham. ในวงศ์ Labiatae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อย มีใบประดับสีขาวอมเขียวตลอดช่อ ราก ใบ และผลใช้ทํายา ผลเชื่อมกินได้, ช้องแมว ซองแมว หรือ ข้าวจี่ ก็เรียก.
ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
ซ่อนกลิ่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Polianthes tuberosa L. ในวงศ์ Agavaceae ต้นเป็นกอ ดอกสีขาวเป็นช่อตั้งขึ้น กลิ่นหอม.
ซ่อนทราย : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Acanthopsis choirorhynchos ในวงศ์ Cobitidae หัวแหลม ตาเล็ก มีหนวดสั้น ๔ คู่ เกล็ดเล็ก ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย สีนํ้าตาลอ่อน มีจุดดําขนาดต่าง ๆ กระจายทั่วตัว พบอาศัยในแหล่งนํ้าไหลที่พื้นท้องนํ้าเป็นทรายหรือกรวดหิน ทั่วประเทศ, กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. (๒) ชื่อปลาทะเลในสกุล Sillago วงศ์ Sillaginidae หัวหลิม ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีชุกชุมเป็นฝูง ไซ้ทรายอยู่ตามเขตนํ้าตื้นบริเวณชายฝั่ง ลําตัว สีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา หลายชนิดมีแต้มสีเข้มกว่า เรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง, เห็ดโคน ก็เรียก.
ซ่อนรูป : ว. มีลักษณะให้เห็นขนาดย่อมกว่าตัวจริง, ใหญ่ดูเป็นเล็ก, กินรูป ก็ว่า.
ซ่อม : ก. ทําสิ่งที่ชํารุดให้คืนดี; แทง. น. เรียกช้างสําหรับใช้ฆ่าคนว่า ช้างซ่อม เช่น ช้างพลายซ่อมตัวหนึ่ง เป็นช้างเพชฌฆาต. (พงศ. เลขา).
ซ้อม ๑ : ก. ทําข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร โดยวิธีใส่ครกตํา เรียกว่า ซ้อมข้าว. ว. เรียกข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ ว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
ซ้อมค้าง : ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง.
ซอย : ก. ทําถี่ ๆ เช่น ซอยเท้า, สับถี่ ๆ เช่น ซอยมะม่วง, หั่นถี่ ๆ เช่น ซอยหอม; ผ่าหรือตัดให้เป็นส่วนเล็ก ๆ เช่น ซอยไม้ระแนง. ว. เรียกทางย่อยหรือทางแยกจากทางใหญ่ เช่น ถนนซอย คลองซอย. น. ถนนหรือทางย่อยที่แยกจากทางใหญ่ เช่น ซอยลาดพร้าว ๑; ลักษณนามเรียกถนนหรือทางที่แยกจากถนนใหญ่ เช่น ถนนสายนี้ มีหลายซอย.
ซัง : น. ตอข้าวที่เกี่ยวรวงแล้ว; สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน; ฝักข้าวโพด ที่เอาเมล็ดออกหมดแล้ว; ตาที่อยู่ตามมุมของกระดานดวด.
ซั้ง : น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
ซัดเซ : ก. เที่ยวไปไม่เป็นตําแหน่งแห่งที่.
ซัลฟา : น. ชื่อยาประเภทหนึ่ง เป็นสารอินทรียสังเคราะห์ ประเภทอนุพันธ์ ของกรดซัลฟานิลิก เช่น ซัลฟาไดอะซีน ซัลฟากัวนิดีน มีสมบัติ หยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. (อ. sulpha).
ซั้ว ๒ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อน แล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับ เครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.
ซา ๒ : ก. ลดน้อยถอยลงกว่าที่เป็นอยู่, บรรเทาเบาลงกว่าที่เป็นอยู่, เช่น ฝนซา ไฟซา.
ซ่า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีจุดสีดํา บนเกล็ดข้างตัว จนเห็นเป็นลาย ๖๑๐ เส้น ที่โคนหางมีจุดสีดํา เช่น ขี้ขม (Osteochilus hasselti) สร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus spilopleura).
ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
ซากดึกดำบรรพ์ : น. ซากของพืชหรือสัตว์ดึกดําบรรพ์ที่ฝังอยู่ เป็นเวลานานมาก จนกระทั่งกลายเป็นหิน. (อ. fossil).
ซาง ๑ : น. ชื่อไผ่หลายชนิดในสกุล Dendrocalamus วงศ์ Gramineae ชนิดปล้องเล็กบางยาวใช้เป็นลํากล้องเป่าลูกดอก หรือลูกดินเหนียว ปั้นกลมเป็นต้น เรียกว่า ไม้ซาง.
ซาง ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
ซาแมเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๒ สัญลักษณ์ Sm เป็นโลหะหายาก ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๗๒ํซ. (อ. samarium).
ซาลาเปา : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม. (จ.).
ซิงโคนา : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinchona วงศ์ Rubiaceae เปลือก มีควินินใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น. น. ผ้าถุงอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงนุ่ง.
ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
ซินนามิก : น. กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C6H5CH : CHCOOH เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายนํ้าได้บ้างเล็กน้อย มีปรากฏใน ธรรมชาติทั้งในภาวะอิสระ และในภาวะรวมตัวเป็นสารประกอบ กับสารอื่น มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งหลอมละลายที่ ๔๒?ซ. อีกชนิดหนึ่ง หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. โดยทั่วไปหมายถึงชนิดหลัง ใช้ประโยชน์ ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม. (อ. cinnamic acid).
ซิฟิลิส : น. กามโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum ติดต่อโดยการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้. (อ. syphilis).
ซิลิคอน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๑๐บซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณ ร้อยละ ๒๕. (อ. silicon).
ซี่ : น. คําเรียกของเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่เรียงกันเป็นแถวเป็นแนวอย่างฟัน หรือลูกกรง, ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ฟันซี่หนึ่ง ฟัน ๒ ซี่.
ซี่โครง : น. กระดูกโครงอกที่เรียงเป็นซี่ ๆ.
ซีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยา เคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗?ซ. (อ. caesium, cesium).
ซีนอน : น. ธาตุลําดับที่ ๕๔ สัญลักษณ์ Xe เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๐.๐๐๖ ใน ๑ ล้านส่วนในบรรยากาศ. (อ. xenon).
ซีเมนต์ : น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับ นํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์ เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์. (อ. cement).
ซีเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๐๔?ซ. (อ. cerium).
ซีลีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมี คล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗?ซ. ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. (อ. selenium).
ซึง : น. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ รูปร่างคล้ายกระจับปี่ ตัวเป็นโพรง รูปกลมแบน เจาะรูระบายอากาศตรงกลาง มีคันต่อ จากตัวซึงขึ้นไปยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีสาย ๔ สาย.
ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
ซึ้ง ๑ : น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อน สุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).
ซื่อตรง : ก. ประพฤติตรงไม่เอนเอียง เช่น ซื่อตรงต่อหน้าที่, ไม่คดโกง เช่น เขาเป็นคนซื่อตรง.
ซื้อรู้ : ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นโดยถูกลวง แต่ได้เป็นความรู้ไว้.
ซื่อเหมือนแมวนอนหวด : (สํา) ว. ทําเป็นซื่อ.