ถือผิว : ก. ถือว่าเป็นคนละเชื้อชาติ (โดยเฉพาะใช้แก่พวกผิวขาวที่มี ความรู้สึกรังเกียจพวกผิวดํา).
ถือเพศ : ก. ดำรงสภาพ เช่น ถือเพศเป็นนักบวช. ถือยศ, ถือยศถือศักดิ์ ก. ไว้ยศ, ปั้นยศ.
ถือเราถือเขา : ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเขา ถือเรา ก็ว่า.
ถือวิสาสะ : ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือ เพื่อนไปโดยไม่บอก.
ถือศักดินา : (โบ) ก. มีศักดิ์โดยถือเอานาเป็นหลักในการกําหนดอํานาจ และปรับไหม.
ถือสา : ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่นเรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา.
ถุงตะเครียว, ถุงตะเคียว : น. ถุงที่ถักด้วยด้ายหรือไหมเป็นต้นเป็นตาโปร่ง มีหูรูด สําหรับหุ้มถลกบาตร (ใช้เฉพาะในพิธีอุปสมบท).
ถูก ๑ : ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้ ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.
ถูกกระทำ : ก. ถูกทำให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ โดยวิธีใช้เวทมนตร์เป็นต้น.
ถูกโฉลก : ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล.
ถูกน้อย : (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งน้อย เป็นอาการของม้าวิ่งเรียบ ๆ ช้า ๆ. (อิเหนา).
ถูกใหญ่ : (โบ) ก. ถูกลักษณะอย่างวิ่งใหญ่ เป็นอาการของม้าวิ่งอย่างเร็ว.
เถกิง : [ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดําเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).
เถน : น. นักบวชที่เป็นอลัชชี. (ป. เถน ว่า ขโมย).
เถย- : [เถยยะ-] น. ความเป็นขโมย (มักใช้นําหน้าสมาส). (ป. เถยฺย).
เถยจิต : น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
เถยเจตนา : น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
เถอะ : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
เถอะน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
เถ้า ๑ : น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดของสิ่งที่เหลือจากไฟเผามอดแล้ว, ขี้เถ้า ก็ว่า.
เถ้าแก่ : น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็น ประธานในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมี ฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).
เถ้าแก่เนี้ย : น. เรียกหญิงจีนที่เป็นเจ้าของกิจการหรือเป็นภรรยาของเถ้าแก่.
เถาคัน : น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในวงศ์ Vitaceae ขอบใบหยัก มีมือเกาะออกตรงข้าม ใบ ชนิด Cayratia trifolia (L.) Domin ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ พันธุ์ใบแดงเรียก เถาคันแดง, อีกชนิดหนึ่งคือ Cissus repens Lam. ใบเดี่ยว.
เถาดาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นลําแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้ว ลามลงไปถึงท้องน้อย ทําให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
เถาวัลย์ : น. พรรณไม้ที่เป็นเถา, พรรณไม้เลื้อย. (ป., ส. วลฺลิ, วลฺลี).
เถาะ : น. ชื่อปีที่ ๔ ของรอบปีนักษัตร มีกระต่ายเป็นเครื่องหมาย.
เถิด : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.
เถิดน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
เถิน : ว. ตอน, เป็นเนิน, สูง.
แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
แถบเหล็กพืด : น. เหล็กเหนียวชนิดหนึ่งเป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทํา ปลอกถัง.
แถมพก : ก. ให้สิ่งของตอบแทนเป็นไมตรี, แถมให้เป็นพิเศษ, เช่น แถมพกแก่ผู้มาซื้อของ.
แถลง : [ถะแหฺลง] ก. บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น แถลงข่าว, กล่าวอธิบาย เช่น จะแถลงให้ทราบ; แสวง เช่น บัดแถลง.
แถลงการณ์ : (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
แถลงข่าว : ก. ให้ข่าวเป็นทางการ.
แถว : น. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.
ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
ไถ่บาป : ก. ช่วยให้พ้นบาป (ใช้แก่พระเยซูที่อุทิศชีวิตช่วยมนุษย์ให้พ้น บาปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า โดยยอมถูกตรึงไม้กางเขน); (ปาก) ชดใช้ในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้.
ไถย : [ไถยะ] น. ความเป็นขโมย เช่น ไถยจิต. (ป. เถยฺย).
ท ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.
ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
ท ๓ : [ทะ] ใช้เป็นคํานําหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.
ทด : ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็น ตอบแทน, บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
ทธิ : [ทะทิ] (แบบ) น. นมส้ม คือนมที่ขึ้นฝาแปรสภาพเป็นนมเปรี้ยว อยู่ในจําพวกเบญจโครส. (ป., ส.).
ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
ทบวงการเมือง : (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอํานาจหน้าที่ในทาง ปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรมเทศบาล.
ทมบ : [ทะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูป เห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทําอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ชมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตําแย).
ทโมน : [ทะ-] ว. ใหญ่และมีกําลังมาก (มักใช้แก่สัตว์ตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง) เช่น ลิงทโมน.