ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
ประโคม : ก. บรรเลงดนตรีเพื่อเป็นสัญญาณในพิธีบางอย่างเพื่อสักการบูชา หรือยกย่องเป็นต้น.
ประจักษ-, ประจักษ์ : ว. ปรากฏชัด อาจเป็นทางตาหรือใจก็ได้ เช่น ประจักษ์แก่ตา ประจักษ์แก่ใจ. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
ประจัน : ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อ ไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
ประจำครั่ง, ประจำตรา : ก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมาย เป็นสําคัญ.
ประจำยาม : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นดอก ๔ กลีบ วางเป็นระยะ ๆ คั่นลายอื่น.
ประเจียด : น. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็น ผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.
ประแจจีน : น. ชื่อลายแบบจีนชนิดหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมหักมุมไขว้กัน.
ประชดประชัน : ก. พูดหรือทําเป็นเชิงกระทบกระแทกแดกดัน.
ประชาชาติ : น. ประเทศ, ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ชาติ ก็ว่า.
ประชาธิปไตย : [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการ ปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา + ป. อธิปเตยฺย).
ประชาบาล : น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดําเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล; (เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
ประชี : ก. ทำสิ่งที่เป็นปุยอย่างสำลีหรือที่เป็นเส้นอย่างกลุ่มยาเส้นให้กระจาย ตัวออก.
ประชุม : ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยาย ใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุม พงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔.
ประณาม ๒ : ก. กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง; ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).
ประดาป : น. ความร้อน, ความร้อนใจ, ความร้อนรน; อํานาจ, ความเป็นใหญ่, เกียรติยศ. (ส. ปฺรตาป; ป. ปตาป).
ประดู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
ประดู่ชิงชัน : ดู ชิงชัน. ประดู่แดง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Phyllocarpus septentrionalis J.D. Sm. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีแดงออกเป็นช่อใหญ่.
ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
ประเดยก : [ปฺระดะเหฺยก] (แบบ) ว. ปัจเจก เช่น เพราะกูเป็นประเดยก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ปฺรเตฺยก; ป. ปจฺเจก).
ประติมากรรม : [ปฺระติมากํา] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจําพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการ แกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
ประตูชัย : น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว สําหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ.
ประตูผี : (โบ) น. ประตูที่เป็นทางนําศพออกจากภายในเขตกําแพงเมือง.
ประทัด ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Quassia amara L. ในวงศ์ Simaroubaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้ ทํายาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltr. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลําต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอย คล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
ประทุษร้าย : [ปฺระทุดสะ-] ก. ทําให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทําให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุ ให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.
ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
ประเทศกันชน : น. รัฐหรือประเทศเล็กที่เป็นเอกราชตั้งอยู่ระหว่าง ประเทศมหาอํานาจ มีฐานะสําคัญทางการเมืองที่ช่วยไม่ให้ประเทศ มหาอํานาจเกิดบาดหมางทําสงครามต่อกันได้โดยง่าย, รัฐกันชน ก็เรียก. (อ. buffer state).
ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
ประธาน ๑ : น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
ประธาน ๒ : (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.
ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
ประปราย : ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย, มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย.
ประแป้ง : ก. แตะหน้าหรือตัวให้เป็นจุด ๆ ด้วยแป้งนวลผสมนํ้า.
ประโปรย : [-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรย น้ำจากพระสุหร่าย.
ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
ประพรม : [-พฺรม] ก. ประโปรยด้วยสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำ เช่น ประพรมน้ำมนต์ เอาน้ำอบประพรมอัฐิ.
ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
ประพันธ์ : ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
ประพาสต้น : (ราชา) ก. เที่ยวไปเป็นการส่วนพระองค์, เที่ยวไป อย่างไม่เป็นทางการ, ใช้ว่า เสด็จประพาสต้น.
ประเพณี : น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
ประเภท : [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
ประมวล : ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.
ประมวลกฎหมาย : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวม กฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.
ประมุข : [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
ประเมิน : ก. กะประมาณค่าหรือราคาเท่าที่ควรจะเป็น เช่น ประเมินราคา.
ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง