Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหนี้, เป็น, หนี้ , then ปน, ปนหน, เป็น, เป็นหนี้, หน, หนี้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหนี้, 8201 found, display 6301-6350
  1. ลูกกรง : น. สิ่งซึ่งเรียงกันเป็นซี่ ๆ ของกรงหรือที่คุมขัง; สิ่งที่เป็น ลูกตั้งสําหรับราวบันไดและสะพานเป็นต้น เช่น ลูกกรงบันได ลูกกรงสะพาน ลูกกรงระเบียง.
  2. ลูกกรอก : น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่า จะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
  3. ลูกกระพรวน : [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้ง เล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  4. ลูกกระแอม : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุดหรือปิดช่อง ไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์. (ดู กระแอม๒).
  5. ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  6. ลูกกวาด : น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ด กลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออม ให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.
  7. ลูกแก้ว : น.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะ เป็นต้น, ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลม ทำด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา; ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
  8. ลูกแก้ว ๒ : (ถิ่น–พายัพ) น. เด็กที่โกนหัวเตรียมบวชเป็นสามเณร.
  9. ลูกโกลน : [–โกฺลน] น. สิ่งที่ใช้ต่างลูกกลิ้งวางเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อ รองรับสิ่งที่หนักหรือใหญ่โตให้เคลื่อนย้ายชะลอไปได้สะดวก.
  10. ลูกขวาน : น. ขวานขนาดเล็ก หน้าประมาณนิ้วครึ่ง ใช้เหน็บหลัง เป็นอาวุธ.
  11. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  12. ลูกขัด ๒ : น. อุปกรณ์สําหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทําด้วยผ้า ซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับ แกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.
  13. ลูกข่าง : น. ของเล่นอย่างหนึ่งเป็นลูกกลม ๆ มีเดือยใช้ปั่นให้หมุน ด้วยมือหรือด้วยเชือก.
  14. ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
  15. ลูกขุนพลอยพยัก : (สํา) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่ เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น.
  16. ลูกเขย : น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว.
  17. ลูกครอก : น. ลูกปลาจําพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกชักครอก ก็ว่า; (โบ) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย.
  18. ลูกครึ่ง : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ครึ่งชาติ ก็ว่า.
  19. ลูกคลื่น : ว. มีลักษณะสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นลอนอย่างคลื่น เช่น ถนน สายนี้เป็นลูกคลื่น.
  20. ลูกคัน : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  21. ลูกคั่น : น. เครื่องประดับเป็นลูกกลม ๆ เป็นต้น ใช้คั่นระหว่าง ตะกรุดหรือลูกประคำ.
  22. ลูกค้า : น. ผู้ซื้อ เช่น ผู้ขายปลีกเป็นลูกค้าของผู้ขายส่ง, ผู้อุดหนุน ในเชิงธุรกิจ เช่น ลูกค้าของธนาคาร.
  23. ลูกคำ : น. เรียกคํา ๒ คําเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่าง ไปจากคําเดิมว่า ลูกคําของคําตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคําของ คํา ลูก.
  24. ลูกคิด : น. เครื่องคํานวณเลขของจีน ทําด้วยไม้เป็นต้น เป็นลูกกลม ๆ ร้อยใส่ไว้ในราง.
  25. ลูกคู่ : น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. ลูกฆ้อง น. ทํานองหลักของเพลงไทยที่โดยปรกติจะบรรเลงด้วย ฆ้องวงใหญ่.
  26. ลูกจ้างชั่วคราว : (กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการ ประจำ เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็น ไปตามฤดูกาล.
  27. ลูกช่วง : น. ผู้รับต่อไปอีกทอดหนึ่ง; เรียกผ้าที่ม้วนหรือห่อหญ้า เป็นต้นให้เป็นลูกกลมสําหรับใช้ในการเล่นช่วงชัย.
  28. ลูกช้าง : ส. คําแทนชื่อคนซึ่งพูดกับเจ้าที่เป็นผีแทนคําว่า ข้าพเจ้า.
  29. ลูกชิ้น : น. เนื้อปลาหรือเนื้อวัวเป็นต้นที่โขลกทําเป็นลูกกลม ๆ แล้วลวกสําหรับทําของกิน.
  30. ลูกชุบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวกวน ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ เช่น พริก มังคุด มะยม แล้วระบายสี และเคลือบด้วยวุ้นให้เป็นมัน.
  31. ลูกโซ่ : น. ห่วงของโซ่, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ต่อเนื่องกัน เช่นนั้น เช่น เรื่องราวเกี่ยวข้องโยงกันเป็นลูกโซ่.
  32. ลูกดอก : น. ไม้หรือเหล็กปลายแหลม มีพู่ข้างท้ายใช้หลอดเป่า ยิงสัตว์, เหล็กปลายแหลมมีด้ามเป็นไม้ มีหาง ใช้ปาไปที่เป้า.
  33. ลูกดาล : น. เหล็กสำหรับไขดาลประตู มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบ.
  34. ลูกดิ่ง : น. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึก ของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกําแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่; ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสําหรับตกกุ้ง; ตะกั่ว ก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็น อาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้าย ดอกจําปาของว่าวจุฬา.
  35. ลูกดิน : น. ดินปั้นกลมตากแห้งใช้เป็นลูกกระสุน.
  36. ลูกติดพัน : ว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.
  37. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  38. ลูกเต๋า : น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยายใช้ เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า.
  39. ลูกแตก : น. ลูกกระสุนที่มีดินปืนอย่างร้ายแรงอยู่ข้างใน เมื่อยิงหรือ ขว้างไปจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ.
  40. ลูกถ้วย : น. วัตถุทําด้วยกระเบื้องสําหรับใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า.
  41. ลูกแถว : น. เรียกพลทหารพลตํารวจเป็นต้น เช่น เรียกลูกแถวมาฝึก; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่เป็นลูกน้องเขา ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะสั่งการ ใด ๆ ได้เลย เช่น มีแต่พวกลูกแถวเท่านั้นจะช่วยอะไรได้.
  42. ลูกเธอ : (ราชา) น. คํานําหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัย รัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คํานําหน้านามพระราชธิดาในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระ มารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.
  43. ลูกน้ำ : น. ลูกอ่อนของยุงที่ยังอาศัยอยู่ในนํ้า เมื่อแก่เข้าหลุดจาก ปลอกเป็นยุง; ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรค ตอนของข้อความ เรียกว่า จุดลูกนํ้า หรือ จุลภาค.
  44. ลูกนิมิต : น. ลูกที่ทํากลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน ใช้ฝัง เป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ.
  45. ลูกบท : น. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้ แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเก ทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.
  46. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  47. ลูกบาศก์ : น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส, เรียกลูกเต๋าที่ใช้ทอดในการเล่นสกา.
  48. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  49. ลูกบุญธรรม : น. ลูกของคนอื่นที่เอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัว.
  50. ลูกประคบ : น. ผ้าห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ ใช้อังไฟนาบหรือ กดคลึงตามร่างกายตรงบริเวณที่ปวดหรือโนเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | [6301-6350] | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200

(0.3202 sec)