Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหนี้, เป็น, หนี้ , then ปน, ปนหน, เป็น, เป็นหนี้, หน, หนี้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหนี้, 8201 found, display 6651-6700
  1. วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ : น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  2. วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  3. วิษณุโลก : น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. (ส.).
  4. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  5. วิสาขบูชา : น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. (ป.).
  6. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  7. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  8. วิสุงคามสีมา : [คามมะ] น. เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้าง พระอุโบสถ.
  9. วิหารคด : น. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลัง เดียวก็ได้โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป, สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.
  10. วิหารยอด : น. วิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่าง ๆ, ถ้ายอดทรงเจดีย์ เรียกว่า วิหารยอดเจดีย์,''; ถ้ายอดทรงปรางค์ เรียกว่า วิหารยอดปรางค์.
  11. วีรกรรม : [วีระกำ] น. การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทําของผู้กล้าหาญ.
  12. วุ้ง : ว. เว้าเป็นเวิ้งเข้าไป.
  13. วุ่น : ก. ยุ่ง, ก้าวก่าย, เช่น คุณไม่ควรไปวุ่นกับเรื่องของคนอื่นเขา, สับสน เช่น งานมากทําให้สมองวุ่นไปหมด, อาการที่ต้องทําอะไรหลาย ๆ อย่างในขณะเดียวกัน เช่น เขาต้องวุ่นอยู่กับงานสารพัดตลอดเวลา, ชุลมุน เช่น มีแขกมามากทําให้วุ่นกันไปทั้งบ้าน. วุ่นเป็นจุลกฐิน [จุนละกะถิน] (สํา) ก. อาการที่ต้องทํางานอย่าง ชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.
  14. วุ้น : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
  15. วุ้นตาวัว : น. ชื่อวุ้นหวานชนิดหนึ่ง หยอดในถ้วยตะไล มีไส้ทำด้วย ถั่วกวนปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง.
  16. วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
  17. วุ้นเส้น : น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
  18. วุ้ย : อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ เก้อเขิน หรือไม่พอใจ เป็นต้น (โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง) เช่น วุ้ย น่ารำคาญ.
  19. วูบ : ก. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น ตะเกียงดับวูบ ร้อนวูบ เย็นวูบ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลบวูบ ใจหายวูบ.
  20. วูบวาบ : ว. ระยับตา เป็นอาการของแสงหรือเงามันที่ปรากฏแล้ว หายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น เสื้อปักเลื่อมดูวูบวาบไป ทั้งตัว.
  21. เวตาล : น. ผีจําพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า. (ส. เวตาล ว่า นักปราชญ์ที่ ไม่ได้ถ่ายวิชาให้ใคร ตายไปแล้วเป็นผีชนิดนี้).
  22. เวทนา ๑ : [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  23. เวทานต์, เวทานตะ : น. ชื่อคัมภีร์หนึ่งที่ถือว่าอาตมันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง คัมภีร์นี้อ้างคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นหลัก ซึ่งคัมภีร์เหล่านั้น อยู่ในระยะสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท จึงได้ชื่อว่า เวทานต์ คือ ที่สุดแห่งคัมภีร์พระเวท; ชื่อปรัชญาอินเดียฝ่ายพระเวท. (ส.).
  24. เวทิ, เวที ๑ : น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
  25. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  26. เวนคืน : ก. โอนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของเอกชน มาเป็นของรัฐ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย.
  27. เว้นวรรค : ก. เว้นช่วงของคำ ข้อความ หรือประโยคเป็นระยะ ๆ.
  28. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  29. เวสารัช : น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
  30. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  31. แว่น ๒ : น. (๑) ชื่อเฟินชนิด Marsilea crenata Presl ในวงศ์ Marsileaceae มีใบกลม ๔ ใบเรียงเป็นวงทุกส่วนกินได้ เรียกว่า ผักแว่น. (๒) (ถิ่นตราด) ต้นบัวบก. [ดู บัวบก(๑)].
  32. แว่นขยาย : น. เลนส์นูนที่มีระยะโฟกัสสั้น ใช้สําหรับส่องดูให้เห็น เป็นภาพขยาย.
  33. แว่นแคว้น : น. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้น ตะนาวศรี ''ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น. (อิเหนา).
  34. แว่นตา : น. สิ่งที่ทําด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วย ให้แลเห็นชัดขึ้นเป็นต้น.
  35. แว่นฟ้า : น. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่น แว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพาน เล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.
  36. แว่นส่องหน้า : น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าใน สมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา.
  37. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  38. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  39. แววหัวตัวหนังสือ : น. หัวของพยัญชนะไทยบางตัวที่มีลักษณะเป็น วงกลม เช่นหัวตัว ค ด ง ถ.
  40. แววหางนกยูง : น. ตอนปลายของหางนกยูงที่เป็นวงกลม ๆ มีลักษณะเป็นแสงสีสันเลื่อมเป็นมัน.
  41. โว่ : ว. เป็นช่องเป็นรูที่แลเห็นลึกหรือทะลุ เช่น หม้อทะลุเป็นรูโว่ กางเกงถูกบุหรี่จี้ขาดโว่, โหว้ ก็ใช้.
  42. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  43. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  44. โวหาร : น. ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่ เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).
  45. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  46. ไว้ตัว : ก. สงวนฐานะและเกียรติยศของตนให้เหมาะให้ควร เช่น แม้จะยากจนลงก็ต้องไว้ตัวอยู่ เป็นสตรีควรไว้ตัว, ถือตัว เช่น ไว้ตัว ว่าเป็นลูกเศรษฐี ไม่คบคนทั่วไป.
  47. ไว้ท่า : ก. ทำท่าทางเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ หรือมีเกียรติสูง.
  48. ไว้เนื้อเชื่อใจ : ว. ที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขา เถอะเขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อ เชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ.
  49. ไว้ภูมิ : ก. ทำท่าเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้สูง.
  50. ไวยากรณ์ : น. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตําราไวยากรณ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | [6651-6700] | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200

(0.2332 sec)